ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
ความหมายของศาสนา
ศาสนสถาน
ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา
วิปัสสนา
สมาธิ
ความหมายของศาสนา
ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของ ศาสนา ว่า ลัทธิความเชื่อของมนุษย์อันมีหลัก
คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัถต์ประการหนึ่ง
แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง
พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็น หรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อนั้น ๆ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์)
ทรงอธิบายว่า ศาสนาคือ คำสั่งสอน ท่านผู้ใดเป็นต้นเดิม เป็นผู้บัญญัติสั่งสอน
ก็เรียกว่าศาสนาของท่านผู้นั้น หรือท่านผู้บัญยัติสั่งสอนนั่นได้นามพิเศษอย่างไร
ก็เรียกชื่อนั้นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ศาสนาจึงมีมาก คำสอนก็ต่างกัน
สุชีพ ปุญญานุภาพ อธิบายความหมายคำว่า ศาสนา ไว้ว่า
- ศาสนา คือ ที่รวมแห่งความเคารพนับถืออันสูงส่งของมนุษย์
- ศาสนา คือ ที่พึ่งทางจิตใจ ซึ่งมนุษย์ส่วนมากย่อมเลือกยึดเหนี่ยวตามความพอใจ และความเหมาะสมแก่เหตุแวดล้อมของตน
- ศาสนา คือ คำสั่งสอน อันว่าด้วยศีลธรรม และอุดมคติสูงสุดในชีวิตของบุคคล รวมทั้งแนวความเชื่อถือและแนวการปกิบัติต่า ๆ กันตามคติของแต่ละศาสนา (สุชีพ ปุญญานุภาพ, 2532:9)
จากนิยามดังกล่าวในข้างต้น จะเห็นว่านักคิดท่านต่าง ๆ
ต่างให้นิยามของศาสนาไปตามโลกทัศน์ของแต่ละบุคคล
ซึ่งเมื่อเราพิจารณาคำนิยามเหล่านี้แล้วอาจจะเกิดปัญหาว่านิยามใดดีที่สุด
หรือเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากนิยามของคำว่า ศาสนา
ย่อมถูกต้องและเหมาะสมแตกต่างกันออกไปตามหลักความเชื่อของศาสนานั้น ๆ
หลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา
1 หลักจริยธรรม
สอนให้ประพฤติตามหลักสัจธรรมที่เป็น อกาลิโก
คือเราสามารถที่จะนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติได้โดยไม่จำกัดกาลเวลาในการปฏิบัติ
สอนให้อยู่ในสังคมด้วยความเมตตา มากกว่าจะแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ,
มุ่งสอนให้เกิดความพอดี หรือที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา การเดินทางสายกลาง
หลักจริยธรรมของพระพุทธศาสนา สามารถนำมาใช้เป็นหลักการดำเนินชีวิต
โดยมีหลักการครองเรือน ( สมชีวธรรม ) การมีธรรมเครื่องเป็นอยู่ที่เสมอภาคกัน
- สมสัทธา มีความเชื่อเสมอกัน , มีทัศนคติตรงกัน , มีความเลื่อมใสในศาสนาเสมอกัน
- สมสีลา มีศีลเสมอกัน , มีระเบียบวินัย , มีใจบุญกุศลเสมอกัน
- สมจาคะ เป็นผู้มีใจเสียสละ , มีใจบุญกุศลเท่ากัน
- สมปัญญา มีปัญญาความรู้เรื่องคุณธรรม , มีการศึกษาเท่ากัน
จริยธรรมสำหรับบิดามารดา
- ห้ามลูกกระทำความชั่ว
- สอนให้กระทำความดี
- ให้การศึกษาศิลปวิทยา ( พร้อมทั้งส่งเสริมให้ลูกได้ศึกษาหาความรู้ให้ได้มากที่สุด )
- มอบสมบัติให้ปกครอง
- หาคู่ครองที่ดีให้ ( โดยมีการแนะนำเรื่องการเลือกคู่ครองที่ดีให้ )
จริยธรรมสำหรับบุตร ธิดา
- เลี้ยงดูตอบแทนพ่อแม่
- ช่วยเหลือกิจการงานของท่าน
- ดำรงวงศ์สกุลให้เจริญก้าวหน้า
- ทำตนให้เป็นผู้ควรได้รับทรัพย์มรดก
- ทำบุญอุทิศไปให้ท่านเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว
จริยธรรมสำหรับนักเรียน นักศึกษา (หัวใจนักปราชญ์)
- สุ สุตตะ ฟังอย่างตั้งใจ
- จิ จิตตะ คิดตามไตร่ตรอง
- ปุ ปุจฉา ให้ถามหากสงสัย
- ลิ ลิขิต จดไว้อ่านดูกันลืม
อิทธิบาท 4 ธรรมที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินกิจการต่าง ๆ
- ฉันทะ มีความพอใจรักใคร่ในสิ่งที่กระทำ
- วิริยะ มีความเพียรพยายามในการประกอบสิ่งนั้น
- จิตตะ เอาใจใส่ในสิ่งที่กระทำอยู่
- วิมังสา หมั่นไตร่ตรองพิจารณาในการกระทำ
หลักจริยธรรมสำหรับปลูกฝังตัวเอง
- การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ
- การประหยัด รู้จักอดออม
- การมีระเบียบวินัย และเคารพกฏหมาย
- การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา
- ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
คุณธรรม 4 ประการ ตามพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
- รักษาความสัจ
- การรู้จักข่มใจตนเอง
- การอดทด
- การรู้จักละวางความชั่ว
2. หลักคุณธรรม
หลักธรรมที่เป็นคุณธรรมของพระพุทธศาสนามีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตัวคน
เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนให้คนเป็นคนดี ซึ่งประกอบด้วยหลักคำสอน 3 ประการ คือ
การเว้นจากการ ทำชั่ว การทำความดี และการทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
หมดจดจากกิเลส
1. การเว้นจากการทำชั่ว
คือการเว้นจากการกระทำบาป เว้นจากการประพฤติผิดและทุจริต การเว้นกระทำชั้วอาจจะแยกออกได้เป็นการเว้นจากการทำชั่วทางกาย ทางวาจาและทางใจ
- การละเว้นการกระทำชั่วทางกาย ประกอบด้วยการละเว้น 3 ประการ คือ
1) การไม่ฆ่าสัตว์
2) การไม่ลักทรัพย์หรือฉ้อโกง
3) การไม่ประพฤติผิดในกาม - การละเว้นการกระทำชั่วทางวาจา ประกอบด้วยการละเว้น 4 ประการ คือ
1) การไม่พูดเท็จ
2) การไม่พูดส่อเสียด ไม่ยุยงให้แตกความสามัคคี
3) การไม่พูดคำหยาบ
4) การไม่พูดเพ้อเจ้อ - การละเว้นการกระทำชั่วทางใจ ประกอบด้วยการละเว้น 3 ประการ คือ
1) การไม่คิดอยากได้ของผู้อื่น
2) การไม่คิดพยายามปองร้าย
3) การไม่คิดกระทำผิดทำนองคลองธรรม
2. การกระทำความดี
คือ กระทำแต่กุศล ประพฤติแต่ความสุจริตด้วยกาย วาจา และใจ เป็นการละเว้นจากการทำชั่วทางกาย วาจา ใจ โดยการทำให้บริสุทธิ์หมดจากกิเลสโดยมีบุญกิริยาวัตถุ คือ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ 3 ประการ
- ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน คือ การบริจาคทานด้วยความบริสุทธิ์ใจ
การทำทานตามแนวของพระพุทธศาสนา อาจทำได้ดังนี้
1) อาปรทาน คือ การบริจาคทรัพย์สินให้เป็นปรสพประโยชน์ และสาธารณประโยชน์
2) ธรรมทาน คือ การให้ความดีที่จะนำความสุขความเจริญ อันได้แก่ การแนะนำ เผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าแก่ผู้อื่น
3) อภัยทาน คือ การให้อภัยผู้อื่นที่มาล่วงเกินเรา - สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล คือ การปกติทางกาย และปกติทางวาจา
การปกติทางกายคือ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และไม่ประพฤติผิดในกาม
ส่วนความปกติ ทางวาจาก็คือการไม่พูดเท็จ ตั้งใจสำรวม ประเภทของศีลประกอบด้วย
ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และศีล 227 ข้อ
- ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา คือการเจริญภาวนาเพื่อความบริสุทธิ์ของใจ ประกอบด้วยเจริญสมถกรรมฐานการทำจิตใจให้สงบ และวิปัสสนากรรมฐานที่ทำให้เกิดปัญญาที่เต็มรูปแบบความเป็นจริง เช่น ความไม่เที่ยง (อนิจจัง) และความทุกข์ (ทุกขัง) เป็นต้น
3. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส หมดจดจากกิเลส
คือปราศจากความโลภ ความโกรธ และความหลง มีแต่ความร่าเริง และมีสุขภาพจิตดี การมีจิตใจที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และหมดจดจากกิเลสได้จะต้องเป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม 4 ประการ หรือที่เรารู้จักกันว่า พรหมวิหาร 4 คือ
- การมีจิตที่เมตตา คือมีความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข การเจริญเมตตาอยู่บ่อย ๆ ทำให้มีชีวิตอยู่อย่างไม่มีภัย มีแต่ความสามัคคี ละอกุศลกรรมทั้งหลาย
- การมีจิตที่กรุณา คือมีความสงสารคิดช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
- การมีจิตที่มุทิตา คือมีความพลอยยินดีเมื่อเห็นหรือรู้ว่าผู้อื่นได้ดี มีความสุข หรือประสบความสำเร็จ โดยปราศจากความริษยา
- การมีจิตที่มีอุเบกขา คือการวางเฉยไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีใจเป็นกลาง เมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ เพราะในบางเรื่องเป็นเรื่องที่สุดวิสัยที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ก็จะต้องทำใจ
การมีจิตใจที่บริสุทธิ์และหมดจดจากกิเลสโดยตั้งอยู่ในพรหมวิหาร 4
ควรได้มีมโนสุจริต 3 ประการ ประกอบด้วย
1) ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
2) ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
3) เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
3. ศีลธรรม
หลักศีลธรรมสำหรับชาวพุทธที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทานสั่งสอนไว้
มีมากมายหลายระดับ ทั้งที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตประจำวัน และระดับที่สูงขึ้นไป
หากพุทธศาสนิกชนทุกคนล้วนแต่ตั้งมั่นอยู่ในคำสั่งสอนของท่าน
ย่อมบังเกิดความสงบสุขในการดำเนินชีวิต และในสังคมที่เราอาศัยอยู่อย่างแน่นอน
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่มาจากการที่
คนเราไม่ตั้งมั่นอยู่ในธรรมนั่นเอง ที่นำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้
ก็เพื่อเป็นการทบทวนความจำที่เราได้เคยเล่าเรียนมา
พินิจพิจารณาถึงความเป็นจริงในแต่ละข้อที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้
และนำไปปฏิบัติด้วยอันเป็นจุดมุ่งหมาย
4.ปรมัตถธรรม
ปรมัตถธรรม หมายถึง ธรรมที่มีเนื้อความอันประเสริฐ เพราะมีคุณลักษณะแน่นอน
ไม่วิปริตผันแปร เป็นอารมณ์ของปัญญาอันสูงสุดและเป็นประธานในบัญญัติธรรมทั้งปวง
- ทุกข์ รวมความว่าถ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ก็ยังทุกข์อยู่
- สมุทัย ต้นเหตุของทุกข์ อยากเกิดอีก
- นิโรธ ก็คือ นิพพาน
- มรรค ทางเดินไปสู่ความพ้นทุกข์ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา