สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

พยาธิตัวตืด

(Tapeworms)

ลักษณะทั่วไป เป็นพยาธิตัวแบนคล้ายๆ แถบริบบิ้น แบ่งเป็นปล้อง ๆ ขนาดยาว 2-4 มม. พยาธิตัวตืดทั้งตัวเรียกว่า stwobila แบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ 3 ส่วน คือ

  1. ส่วนหัว (scolex) มีอวัยวะสำหรับยึดเกาะเรียกว่า ขอ (sucker) บางชนิดจะมีขอเล็ก ๆ (hook) ด้วย
  2. คอ (neck) เป็นบริเวณที่เจริญเติบโตกลายเป็นปล้อง
  3. ปล้อง (segment หรือ proglottid) แบ่งเป็น
    - ปล้องอ่อน (immature segment)
    - ปล้องแก่ (mature segment)
    - ปล้องสุก (gravid segment)

พยาธิตัวเต็มวัยจะพบในลำไส้ของคนและสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง เป็นกระเทย (hermaphtrodote) ไม่มีช่องว่างในลำตัว ไม่มีระบบทางเดินอาหาร แต่มีระบบขับถ่ายและระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์เจริญเติบโตสมบูรณ์ ในแต่ละปล้องจะมีอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียอยู่ด้วยกัน

โรคพยาธิตืดวัว (Taenia saginata)
โรคพยาธิตืดหมู (Taenia solium)
Echinococcus granulosus โรคถุงน้ำ hydatid
โรคพยาธิตืดแคระ (Hymenolepis nana)
โรคพยาธิตืดหนู (Hymenolepis diminuta)
Raillietina siriraji

เอกสารอ้างอิง

  • หนังสือ : โรคหนอนพยาธิประกอบภาพ
    ผู้แต่ง : ประยงค์ ระดมยศ , ชูเกียรติ ศิริวิชยกุล, อัญชลี ตั้งตรงจิตร, พลรัตน์ วิไลรัตน์, ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ, ฐิติมา วงศาโรจน์, ประภาศรี จงสุขสันติกุล, เชาวลิตร จีระดิษฐ์, วราห์ มีสมบูรณ์, ดัชนี มานะตระกูล
    สำนักพิมพ์ : กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ; พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2541 หน้าที่ 60 – 77
     
  • หนังสือ : ปรสิต หนอนพยาธิทางการแพทย์ ทฤษฎี และ ปฏิบัติการ
    ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์ประยงค์ ระดมยศ, รองศาสตราจารย์ดร.วันชัย มาลีวงษ์, นางสาวฐิติมา วงศาโรจน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัญชลี ตั้งตรงจิตร, รองศาสตราจารย์ดร.วิโรจน์ กิติคุณ, แพทย์หญิงประภาศรี จงสุขสันติกุล, นายสัตวแพทย์วราห์ มีสมบูรณ์, นายแพทย์ชูเกียรติ ศิริวิชยกุล, รองศาสตราจารย์(พิเศษ) ไพศาล อิ่มพันธ์, รองศาสตราจารย์จิตรา ไวคกุล
    สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ; ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2545 หน้าที่ 179 - 209

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย