วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

เซลล์ต้นกำเนิดและสังคม

โครงการชีวจริยธรรมและการวิจัยทางการแพทย์สมัยใหม่
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ศูนย์พันธุวิศวกรรม
และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กรกฎาคม 2548

      ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่จะมีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์อย่างมากในทศวรรษนี้ ได้แก่ ความก้าวหน้าด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ นาโนเทคโนโลยี และการรักษาด้วยเซลต้นกำเนิด(Cell Therapy) การรักษาด้วยเซลต้นกำเนิดไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของสังคมมนุษย์และการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่อาจจะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของสังคมเกี่ยวกับชีวิตตั้งแต่แรกเริ่มปฏิสนธิไปจนถึงการตาย ทั้งนี้เพราะกระบวนการรักษาด้วยเซลต้นกำเนิดจะเกี่ยวพันกับแหล่งที่มาของเซลต้นกำเนิดซึ่งพบได้ในตัวอ่อนมนุษย์อายุเพียง 5 วันและส่วนอื่นๆของร่างกาย ส่วนผลลัพธ์ของการรักษานั้นก็มักจะเน้นไปที่โรคร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังซึ่งบั่นทอนอายุขัยของมนุษย์เสมอมา เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน อัมพาตของไขสันหลัง มะเร็ง เบาหวาน โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโรคทางพันธุกรรมอีกบางชนิด เป็นต้น คำถามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือชีวิตมนุษย์เริ่มต้นเมื่อไรและมนุษย์สามารถยืดอายุขัยของตนเองออกไปได้เรื่อยๆ นานเพียงใด เหล่านี้ก่อให้เกิดคำถามทางจริยธรรม ปรัชญา ศาสนา กฎหมาย แนวปฏิบัติของนักวิจัย รวมทั้งมาตรฐานคุณภาพของการรักษา และการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม



เซลล์ต้นกำเนิด/เซลล์ต้นตอ คือ เซลล์ที่ไม่มีความจำเพาะ (unspecialized cell) มีความสามารถในการแบ่งเซลล์ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดและสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่จำเพาะได้ ดังนั้น ในทางการแพทย์ สามารถนำเซลล์ต้นตอมาเพาะเลี้ยง และบังคับให้เซลล์ดังกล่าวพัฒนาต่อไปเป็นเซลล์ของอวัยวะที่ต้องการ เช่น เซลล์สมอง เซลล์หัวใจ เซลล์ตับอ่อน เพื่อนำไปรักษาโรคที่เกี่ยวเนื่องจากความเสื่อมของเซลล์ที่อวัยวะนั้นๆ

  แหล่งที่มาของเซลล์ต้นกำเนิด
  ปัญหาเรื่องการจัดการเซลล์สืบพันธุ์ ตัวอ่อน และเซลล์ต้นกำเนิด
  ตัวอย่างนโยบายของประเทศต่างๆ
  ความเคลื่อนไหวและการนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
  สถานการณ์ทางด้านกฎหมายในประเทศ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย