วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
แหล่งที่มาของเซลล์ต้นกำเนิด
ปัญหาเรื่องการจัดการเซลล์สืบพันธุ์ ตัวอ่อน และเซลล์ต้นกำเนิด
ตัวอย่างนโยบายของประเทศต่างๆ
ความเคลื่อนไหวและการนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
สถานการณ์ทางด้านกฎหมายในประเทศ
ปัญหาเรื่องการจัดการเซลล์สืบพันธุ์ ตัวอ่อน และเซลล์ต้นกำเนิด
การจัดการ
เมื่อไข่และอสุจิผสมกันและเป็นตัวอ่อนแล้ว
ตัวอ่อนเพียงจำนวนหนึ่งจะถูกนำไปใช้เพื่อการเจริญพันธุ์
และมีตัวอ่อนเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อเป็นมนุษย์
และนอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้เพื่อการศึกษาวิจัย หรือใช้เพื่อการรักษา
(โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิด) แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมตามกฎหมาย
ประเด็นพิจารณา
เช่นเดียวกับข้อพิจารณาความคุ้มครองตามกฎหมายของตัวอ่อนโดยปกติ
ซึ่งต้องพิจารณาในส่วนของกระบวนการทำลาย
หรือการนำไปใช้หรือศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม
และใครควรเป็นผู้พิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการเหล่านี้
การฝาก
สืบเนื่องจากประเด็นข้างต้น
ในกรณีตัวอ่อนที่เหลือจากการนำไปผสมเทียม หรือการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากสายสะดือ
ซึ่งปัจจุบันมีการรับฝากไว้เผื่อใช้ในอนาคตหรือใช้สำหรับเจ้าของเซลล์ต้นกำเนิดในอนาคต
ประเด็นพิจารณา
การฝากตัวอ่อนหรือเซลล์ต้นกำเนิดโดยมีค่าธรรมเนียมการฝาก
เมื่อไม่จ่ายค่าธรรมเนียมตามกำหนด
และไม่แสดงเจตนาที่ชัดเจนว่าต้องการตัวอ่อนหรือเซลล์ต้นกำเนิดนั้นคืนหรือไม่
ผู้รับฝากจะดำเนินการอย่างไร สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หรือไม่
หรือให้ผู้ฝากแสดงเจตนารมณ์ว่าจะให้แก่ผู้รับฝากไว้ล่วงหน้าได้หรือไม่ เป็นต้น
การซื้อขาย
ประเด็นที่ควรพิจารณาเนื่องจากมีข้อถกเถียงที่เกิดจากสัญญาให้ หรือซื้อขาย
โดยเทียบกับการขายอวัยวะมนุษย์ ซึ่งไม่สามารถกระทำได้
ทั้งนี้เนื่องจากการซื้อขายอวัยวะขัดต่อกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของสังคม
แต่จากข้อยกเว้นในส่วนประกอบบางอย่างของร่างกายที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ทดแทนได้
และมิได้ลดคุณค่าหรือความเป็นมนุษย์ลง สามารถให้ซื้อขายได้ เช่น ซื้อขายผม น้ำนม
ประเด็นพิจารณา
ข้อยกเว้นตามกฎหมายสามารถปรับใช้กับเซลล์สืบพันธุ์ด้วยหรือไม่
ด้วยเหตุที่เป็นส่วนที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นทดแทนได้
และขณะนี้เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทำให้เกิดตัวอ่อนเกินความต้องการอยู่จำนวนหนึ่ง
ตัวอ่อนเหล่านี้เมื่อสามารถนำไปทำประโยชน์ได้สามารถซื้อขายได้หรือไม่
ในกรณีคุณค่าของความเป็นมนุษย์จะมีข้อพิจารณาอย่างไร และสำหรับสัญญาซื้อขาย
หรือการซื้อขายทางอ้อม สมควรได้กระทำได้หรือไม่ และหากอนุญาตให้ทำได้
จะนำไปสู่ปัญหาเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นด้วยหรือไม่
ควรมีข้อกำหนดในเรื่องนี้อย่างไร