สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
นันทนาการ นันทนจิต นันทนจิตศึกษา หมายถึงอะไร
ทำไมต้อง นันทนจิต
นันทนจิต ต่างกันหรือเหมือนกันกับ นันทนาการ หรือไม่ อย่างไร
ความหมายและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการ
ที่มาของคำ นันทนจิต แนวคิด ความหมายและคำที่เกี่ยวข้อง
อิวาซากิและแมนเนลล์ (Iwasaki & Mannell, 2000)
แรงกระตุ้นของนันทนจิต
นันทนจิตเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองหรือไม่
ประสบการณ์นันทนจิต (Leisure Experiences)
สรุป
บรรณานุกรม
นันทนจิตเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองหรือไม่
ความหลากหลายทางนันทนจิต (Leisure Diversity) ในสังคมที่มากหลายวัฒนธรรม
(Multicultural Society) ในสังคมอเมริกัน ทำให้ชนกลุ่มน้อย (Minorities)
กำลังกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ (Majorities) ขึ้นมา
ประเด็นของนันทนจิตก็เริ่มขยายขอบเขตมากขึ้น โดยประเด็นที่เกี่ยวกับความหลากหลายทาง
เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และชนชั้นทางสังคม จะไปรวมตัวกับปัจจัยทางเพศ
และธรรมชาติของความพึงพอใจทางเพศ (Sexual Orientation) ขึ้น นอกจากนั้น
ประเด็นของนันทนจิตในธุรกิจและการตลาด เช่น การใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับนันทนจิต
คิดเป็นร้อยละ 97 ของการตลาดหมายว่าอะไร
นันทนจิตกับสังคมของผู้สูงวัยที่เริ่มมีจำนวนมากขึ้น
นันทนจิตในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารควรเป็นเช่นไร
นันทนจิตในฐานะประเด็นทางการเมืองการปกครองที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นเช่นไร
ซึ่งประเด็นการเมืองการปกครองที่จะยกขึ้นมากล่าวถึงนี้
เป็นเพียงตัวอย่างที่ผู้เขียนกำลังจะอธิบายถึงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับนันทนจิตเท่านั้น
หากเป็นไปได้ในโอกาสต่อไป ผู้เขียนจะได้พยายามเสนอข้อคิดเห็นต่าง ๆ
เกี่ยวกับนันทนจิตทางบทความให้มากยิ่งขึ้น
นันทนจิตเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองในแง่ที่ว่าองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของและผู้จัดบริหารแหล่งนันทนาการและนันทนจิตส่วนใหญ่
กล่าวคือ รัฐเป็นผู้กำหนดเขตป่าไม้ เขต วนอุทยาน/อุทยานแห่งชาติ แหล่งน้ำ ภูเขา
และแหล่งนันทนาการอื่น ๆ
หลายชุมชนใช้งบประมาณเพื่อการจัดบริหารโครงการนันทนาการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
จึงมีความเป็นไปได้ที่โอกาสและความสมหวังของผู้เข้ารับบริการอาจจะไม่บรรลุ
เพราะงบประมาณเป็นสิ่งที่ต้องมาก่อนหรือเป็นสิ่งที่รัฐหรือชุมชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ
ดังนั้น
การกำหนดสิ่งที่ต้องมาก่อนหรือสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษจึงเป็นกระบวนการทางการเมืองและการปกครอง
กิจกรรมนันทนจิตบางประเภทในบางประเทศ
หรือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในประเทศก็คือการกำหนดเวลาเปิดปิดสถานบันเทิงและการห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า
20 ปี เข้าในสถานบันเทิงบางประเภท หรือตัวอย่างกิจกรรมนันทนจิตหลายประเภท รวมทั้ง
การผิวปาก/เป่าปาก จะกระทำมิได้ในวัน แซบบัทธ์ (Sabbath)
ซึ่งเป็นวันเข้าโบสถ์ในวันอาทิตย์ของชาวคริสต์ส่วนใหญ่
หรือวันเสาร์สำหรับศาสนาของชาวยิวที่เรียกว่า Judaism และชาวคริสต์บางกลุ่ม
(Christian Denominations) หรือ เมืองในอาณานิคมของ นิว อิงแลนด์ (Colonial New
England) กิจกรรมประเภทกีฬาจะเริ่มเล่นก่อนเที่ยงวันในวันอาทิตย์ไม่ได้ นอกจากนั้น
การเก็บภาษีสำหรับเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
และภาษีสำหรับการดื่มเครื่องดื่มจะสูงมาก
แต่จะเก็บภาษีต่ำสำหรับอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่มีใย/กากอาหารต่ำ (High-fat,
low-fiber foods)
การจัดสรรงบประมาณของรัฐสำหรับให้การสนับสนุนการจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
(Infrastructure) เพื่อที่จะให้กิจกรรมนันทนจิตหลายชนิดสามารถดำเนินการได้ เช่น
การให้ทุนสนับสนุนระบบทางด่วนระหว่างรัฐ ระบบการสัญจรทางอากาศ
และการก่อสร้างเครื่องบินเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
จากที่กล่าวมา
อาจสรุปได้ว่านันทนจิตทั้งในแง่การเมืองการปกครองหรือการศึกษาที่มีนโยบายที่กำหนดขึ้นเป็นเพียงปลายยอดของก้อนน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในทะเล
(Only the Tip of the Iceberg) เช่น การให้คำแนะนำ ภาษี การออกใบอนุญาต
และการสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เท่านั้น
พัฒนาการนันทนจิตจะเป็นไปได้ก็โดยการจัดสภาพความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐาน ได้แก่
ความปลอดภัย การมีที่อยู่อาศัย อาหาร รายได้ การศึกษา
การให้มีแหล่งให้การสนับสนุนค้ำจุน ความยุติธรรมและสังคมที่เท่าเทียมกัน
จากการศึกษาพบว่า นันทนจิตมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมต่าง ๆ
ที่ผู้เข้าร่วมตัดสินใจด้วยตนเอง
ร่วมกับการอาศัยประสบการณ์ที่มีอยู่ด้วยการไตร่ตรองอย่างสุขุมรอบคอบ
รวมทั้งการคำนึงถึงรายได้ เวลา และพฤติกรรมทางสังคมของผู้เข้าร่วมด้วย กิจกรรมต่าง
ๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็น กิจกรรมนันทนจิต ที่อาจเป็นกิจกรรมทางกาย (Physical)
ทางสังคม (Social) หรือทางสติปัญญา/การใช้ความคิดและเหตุผล (Intellectual)
กระทำหรือเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ (Volunteer) และด้วยความสร้างสรรค์ (Creative)
หรือ
เป็นกิจกรรมที่มีห้าลักษณะดังกล่าวมาเกี่ยวข้องร่วมด้วยกันทั้งหมดหรือเป็นบางส่วนก็ได้