สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
นันทนาการ นันทนจิต นันทนจิตศึกษา หมายถึงอะไร
ทำไมต้อง นันทนจิต
นันทนจิต ต่างกันหรือเหมือนกันกับ นันทนาการ หรือไม่ อย่างไร
ความหมายและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการ
ที่มาของคำ นันทนจิต แนวคิด ความหมายและคำที่เกี่ยวข้อง
อิวาซากิและแมนเนลล์ (Iwasaki & Mannell, 2000)
แรงกระตุ้นของนันทนจิต
นันทนจิตเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองหรือไม่
ประสบการณ์นันทนจิต (Leisure Experiences)
สรุป
บรรณานุกรม
อิวาซากิและแมนเนลล์ (Iwasaki & Mannell, 2000)
แมนเนลล์และไคลเบอร์ (Mannell & Kleiber, 1997) ได้สรุปความหมายของคำว่า
นันทนจิต ว่ามีความหมายที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามมุมมองของแต่ละคน
เป็นความหมายที่เกี่ยวข้องกับ อิสระของการเลือก (Freedom of Choice) หรือ
การเลือกอย่างมีอิสระ และเกิดจากแรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation)
ซึ่งพฤติกรรมที่จะแสดงให้เห็น หรือพฤติกรรมที่สะท้อนกลับมาก็คือ
ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความพึงพอใจที่แต่ละคนได้รับ
ยังมีผู้แสดงทัศนะเกี่ยวกับ นันทนจิต ไว้อีกมากมาย (Mannell, R.C., &
Kleiber, D.A., 1997) รวมทั้ง ออสติน (Austin, 1999)
ผู้เขียนหนังสือนันทนาการบำบัดขั้นนำ (Therapeutic Recreation: An introduction)
และคนอื่น ๆ (e.g., Iso-Ahola, 1980; Neulinger, 1980; Smith & Theberge, 1987)
ที่ได้กล่าวถึงปัจจัยเกี่ยวกับ ความเป็นอิสระที่แต่ละคนสามารถรับรู้/เข้าใจ
(perceived freedom) และ แรงจูงใจภายใน (intrinsic motivation)
ที่ถือว่าเป็นคุณสมบัติกลางของคำว่า นันทนจิต ไว้ กล่าวคือ
ความเป็นอิสระที่ตนเองสามารถรับรู้/เข้าใจ
เป็นความสามารถของบุคคลในการจัดการบางสิ่งตามที่ตนเลือกไว้ หรือตามที่ตนเองกำหนด
ที่เรียกว่า self-determination นอกเหนือจากการแสดงพฤติกรรมปกติของตัวเอง
และสิ่งที่เป็นอยู่จะไม่มีการรบกวนหรือได้รับแรงกดดันจากภายนอก ส่วน
แรงจูงใจจากภายใน เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดพลัง
ซึ่งในทางจิตวิทยาถือว่าเป็นรางวัลภายใน (internally rewarding)
เป็นพฤติกรรมที่เป็นแรงกระตุ้นจากภายในให้เป็นไปตามความต้องการของตนเอง
และเพื่อตนเองมากกว่าที่จะเป็นหนทางไปสู่การได้รับรางวัลภายนอก ดังนั้น
แรงจูงใจภายในจึงนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญของนันทนจิตสำหรับการเข้าร่วมและดำเนินกิจการทุกสิ่งให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อิโซ-อาโลฮา (Iso-Ahola, 1984) ได้กล่าวถึง รางวัลอันแท้จริง (intrinsic
reward) ของนันทนจิต ว่ารางวัลอันแท้จริง
ที่บุคคลแสวงหาจากการเข้าร่วมในกิจกรรมนันทนจิต อาจแบ่งออกได้เป็นรางวัลส่วนตัว
และรางวัลระหว่างบุคคล (personal and interpersonal rewards) รางวัลส่วนตัว
อาจหมายถึงสิ่งที่นอกจากความสามารถที่จะทำอะไรตามที่ตนกำหนดด้วยตัวเองแล้ว
ยังรวมถึงความรู้สึกถึงสมรรถภาวะ (competence) หรือการมีความสามารถ (mastery)
การท้าทาย (challenge) การเรียนรู้ (learning) การสำรวจค้นหา (exploration)
ความพยายาม (efforts) และการผ่อนคลาย (relaxation) อีกด้วย และในอีกประการหนึ่ง
การเข้าร่วมในกิจกรรมของ
นันทนจิต ที่เขาคิดว่าเป็นสิ่งดีมีประโยชน์สำหรับเขา เป็นความท้าทาย
และทำให้เขาได้ใช้และพัฒนาทักษะและความสามารถส่วนตัว
การได้เรียนรู้สิ่งใหม่หรือกิจกรรมใหม่ การได้รับทักษะใหม่ การได้ใช้ความพยายาม
และการสำรวจสิ่งที่เป็นรางวัลภายในทุกอย่างที่บุคคลจะได้รับจากการเข้าร่วมในกิจกรรมนันทนจิตตามความต้องการของตนเองเพื่อตนเอง
(for their own sake) ส่วนรางวัลระหว่างบุคคล (interpersonal rewards)
อาจหมายถึงสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่งที่ได้รับ เช่น การมีปฏิสังสรรค์ทางสังคม
ก็เป็นรางวัลภายในที่สำคัญที่ผู้คนต้องการ
นอกจากนั้น
ยังได้กล่าวถึงนันทนจิตว่าเป็นแหล่งสำคัญสำหรับการพัฒนาส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจ
และเป็นแง่มุมที่สำคัญของคุณภาพชีวิต นอกจากนั้น ยังเป็นสินค้าและอุตสาหกรรม
(commodity and industry) ทางวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์การจ้างงาน
สินค้าและบริการอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมก็สามารถสร้างเสริม
หรือถ่วง/ขัดขวาง/เป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนาหรือความเจริญก้าวหน้าของนันทนจิตได้เช่นกัน
นันทนจิตในแง่ที่ดีและในภาพรวมสามารถที่จะสร้างเสริมสุขภาพและความผาสุก
(Well-being) ได้
โดยการเสนอโอกาสที่หลากหลายที่จะทำให้บุคคลหรือกลุ่มสามารถเลือกกิจกรรมและประสบการณ์ที่เหมาะสำหรับความต้องการ
ความสนใจและความปรารถนาของตนเอง
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถบรรลุศักยภาพทางนันทนจิตที่สูงที่สุดได้
เมื่อเขาได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่แสดงให้เห็นถึงสถานะภาพทางนันทนจิตของพวกเขาทั้งหลายเองอีกด้วย
นันทนจิตเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับการมีสิทธิทางการศึกษา
การทำงาน และการมีสุขภาพที่ดี และไม่ควรมีใครก็ตามที่จะไม่ได้รับสิทธินี้
อันเนื่องมาแต่ เพศ อายุ เชื้อชาติ ความเชื่อ ศาสนา สภาวะสุขภาพ
สถานะภาพทางเศรษฐกิจ และ/หรือความพิการโดยเด็ดขาด
นันทนจิตเป็นมากกว่าปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์
เป็นสิ่งที่กำลังเป็นอยู่และกำลังจะเป็น
เป็นความเป็นไปได้ของปฏิบัติการที่สร้างสรรค์ (Kelly, 1996)