สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

นันทนจิต
(Leisure)

นันทนาการ นันทนจิต นันทนจิตศึกษา หมายถึงอะไร
ทำไมต้อง “นันทนจิต”
นันทนจิต ต่างกันหรือเหมือนกันกับ นันทนาการ หรือไม่ อย่างไร
ความหมายและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการ
ที่มาของคำ “นันทนจิต” แนวคิด ความหมายและคำที่เกี่ยวข้อง
อิวาซากิและแมนเนลล์ (Iwasaki & Mannell, 2000)
แรงกระตุ้นของนันทนจิต
นันทนจิตเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองหรือไม่
ประสบการณ์นันทนจิต (Leisure Experiences)
สรุป
บรรณานุกรม

นันทนจิต ต่างกันหรือเหมือนกันกับ นันทนาการ หรือไม่ อย่างไร

ในภาษาต่างประเทศมีการใช้คำสองคำนี้สลับหรือใช้แทนกันบ่อย ๆ คำว่า นันทนจิต หรือ Leisure นี้ พจนานุกรมออนไลน์ของ MSN Encarta-Dictionary กล่าวว่า เป็นคำนาม แปลว่า เวลาว่างจากการทำงาน สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานได้ เป็นคำที่มีการใช้มาตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 13 เป็นคำในภาษาท้องถิ่นของฝรั่งเศส (Via Old French dialect) คือคำว่า leisour ที่แปลว่า การอนุญาตยินยอม หรือถ้าแปลตามตัวอักษรก็แปลว่า “ได้รับอนุญาต” เป็นคำที่ผันแปรมาจากคำว่า leisi ซึ่งเป็นคำในภาษาลาตินว่า licere ซึ่งเกี่ยวกับความเป็นมาและความหมายของคำนี้ ผู้เขียนจะได้กล่าวให้ละเอียดยิ่งขึ้นในตอนต่อไป เพราะเป็นประเด็นหลักที่ผู้เขียนต้องการจะเสนอในการเขียนบทความครั้งนี้

ส่วนคำว่า นันทนาการ หรือ Recreation ซึ่งเป็นคำนามเช่นกัน เพิ่งมีใช้ในศตวรรษที่ 14 แปลว่า กิจกรรมที่บุคคลเข้าร่วมเพื่อการบันเทิงและการผ่อนคลาย หรือสิ่งที่ทำให้ใจและกายสดชื่นหลังจากการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้เข้าร่วมในกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินใจ (Amusement) ดังนั้น จากคำแปลตามพจนานุกรมดังกล่าวจึงถือได้ว่า ความหมายที่คนส่วนใหญ่เข้าใจนั้นถูกต้องแล้ว และเพื่อเป็นการปูพื้นฐานสำหรับประเด็นที่ผู้เขียนต้องการเสนอ จึงใคร่ขอเสนอความหมายและแนวคิดของนันทนาการ เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้ทบทวนถึงคำที่เราใช้กันมาก่อน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย