ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ความหมายของอภิปรัชญา

สสารนิยมหรือวัตถุนิยม (Materialism)
จิตนิยม (Idealism)
ธรรมชาตินิยม (Naturalism)
เอกนิยม (Monism)
ทวินิยม (Dualism)

ทวินิยม (Dualism)

ทวินิยม คือ ทฤษฎีทางปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงปฐมธาตุมี 2 อย่างคือ จิตกับสสาร แยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ถือว่าจิตเป็นผู้สร้างสสารเรียกว่า รังสรรค์นิยม และกลุ่มที่ถือว่า จิตกับสสารมีควบคู่กันมาตั้งแต่ต้น จิตควบคุมสสารได้โดยรู้กฎองสสารเรียกว่าชีวสสารนิยม

รังสรรค์นิยมเป็นทวินิยมทางอภิปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงปฐมชาติมี 2 อย่างได้แก่ จิตกับสสาร จิตเป็นใหญ่กว่าเพราะเป็นผู้สร้างสสารเรียกว่า พระเจ้าและปล่อยให้สสารดำรงอยู่ด้วยตัวเอง แต่พระเจ้าผู้สร้างก็มีอำนาจควบคุมและทำลายล้างสสารคือธรรมชาติ พืช สัตว์ มนุษย์ได้ตามพระประสงค์ได้ตามพระประสงค์ นักปรัชญาคนสำคัญคือ เซนต์ ออกัสติน ได้กล่าวว่า พระผู้สร้างเป็นความแท้จริงสูงสุดทรงเป็นนิรันดร เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตามหลักตรีเอกภพ พระเจ้าทรงเข้าใจในพระองค์เอง พระเจ้าผู้ถูกเข้าใจและเมื่อทรงเข้าใจตัวเองเป็นอย่างดีที่สุดก็ย่อมเกิดความปิติ ส่วนจิตที่ปนอยู่กับสสารคือจิตมนุษย์ความจริงระดับต่ำสุดคือ สสาร ซึ่งพระเจ้าสร้างขึ้นให้มีความแท้จริงของตนเอง และมีพลังวิวัฒนาการอยู่ในตัว

ชีวสสารนิยม (จิตสสารนิยม) เป็นทวินิยมทางอภิปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงนั้นคือจิตและสสารต่าง ๆ ก็เป็นความจริงที่ไม่ขึ้นต่อกัน มีอิสระต่อกัน นักปรัชญาคนสำคัญ ได้แก่ธาเลส ซึ่งเชื่อว่าจักรวาลมีกฎเกณฑ์ของตนเอง โดยไม่ได้รับจากจิตหรือเทพใดทั้งสิ้น เทพสามารถควบคุมหรือบันดาลให้เหตุการณ์ธรรมชาติเป็นไปได้ตามประสงค์ก็เพราะรู้กฎธรรมชาติ ไม่ใช้มีอำนาจเด็ดขาดเหนือกฎเกณฑ์ธรรมชาติ หรือเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ดังที่คนดึกดำบรรพ์เข้าใจกัน เพราะฉะนั้นทั้งเทพ จิตมนุษย์ และสสารต่าง ๆ ก็เป็นความจริงโดยอิสระของตนเอง

 

พหุนิยม

คือ ทฤษฎีทางปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงมีอยู่หลายหน่วย ซึ่งอาจจะเป็นจิต หรือสาร หรือทั้งจิตและสสารก็ได้ นักปรัชญาพหุนิยมเชื่อว่าสรรพสิ่งที่มีจำนวนมากมายหลายหลากในเอภภพนี้ ไม่อาจจะทอนลงให้เหลือเพียงหนึ่งเดียวหรือสองได้เลย แต่อย่างน้อยที่สุดปฐมธาติก็ต้องมีสามหน่วยขึ้นไป เพราะเป็นเอกภพที่มีความสลับซับซ้อนมาก นักปรัชญาพหุนิยมได้แก่

เอ็มพีโดคลีส เป็นนักปรัชญากรีกสมัยเริ่มต้น ถือว่าปฐมธาตุของสรรพสิ่งไม่ใช่เพียง 1 หรือ 2 อย่างเท่านั้น แต่มี 4 อย่าง คือ 4 ธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะการรวมตัวกันเป็นธาตุทั้ง 4 นี้ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน จึงเกิดสิ่งใหม่ขึ้นมากมายหลายหลาก การที่สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้ก็เพราะมีการเปลี่ยนแปลง อัตราส่วนของธาตุต่างๆ ในตัวมัน การสูญสิ้นสภาพของสิ่งทั้งหลายก็เพราะเกิดการแยกตัวออกจากกันของปฐมธาตุเหล่านั้น ลักษณะของปฐมธาตุแต่ละอย่างนั้นคงที่เสมอ ไม่เกิดใหม่ ไม่แตกดับเป็นนิรันดร นักพหุนิยมอีกท่านหนึ่งคือ ไลบ์นิซ เป็นนักปรัชญาพหุนิยมฝ่ายจิต เชื่อว่าความแท้จริงมีลักษณะเป็นจิต มีจำนวนมากมาย เรียกว่า ปรมาณูทางจอต ( Monad ) ซึ่งแต่ละหน่วยมีความพอใจตัวเองมีความอิสระ ( พระอมรมุนี , 2515 : 316 )

อภิปรัชญาเป็นปรัชญาบริสุทธิ์สาขาแรกที่เกิดขึ้นมาในโลกเกิดจากความประหลาดใจ และความสงสัยของมนุษย์สมัยโบราณ ที่มีต่อ ปรากฏการณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์นี้เองทำให้มนุษย์ต้องสืบหาสาเหตุของความเป็นจริงเหล่านั้นซึ่งคำตอบที่ได้อาจถูกบ้างผิดบ้างจนในที่สุดก็ได้คำตอบที่ถูกต้อง จากคำตอบที่ถูกต้องนี้แหละคือความรู้ทางอภิปรัชญา แม้จะแยกย่อยเป็นจำนวนมากแต่อยู่ในขอบเขตของสาขาใหญ่ๆ 3 สาขาของอภิปรัชญา คือ สสารนิยม จิตนิยม และธรรมชาตินิยม นอกจากอภิปรัชญา 3 สาขาใหญ่แล้ว ยังมีภววิทยาซึ่งเป็นสาขาที่สำคัญของอภิปรัชญา ซึ่งในศาสตร์ของภววิทยานี้ได้แยกออกเป็น 3 ทฤษฎี คือ เอกนิยม ทวินิยม และพหุนิยม อภิปรัชญาถือว่าเป็นหลักของโครงสร้างของวิชาปรัชญา ถ้าขาดอภิปรัชญาเสียแล้ว ปรัชญาก็มีไม่ได้ ดังนั้นในการนำเอาปรัชญาไปประยุกต์ใช้จำเป็นต้องยึดโครงสร้างอภิปรัชญาเป็นหลักสำคัญ

อ้างอิง : รศ.พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์ (และคณะ).ปรัชญาการศึกษา EF703 (603).กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย