ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ความหมายของอภิปรัชญา

สสารนิยมหรือวัตถุนิยม (Materialism)
จิตนิยม (Idealism)
ธรรมชาตินิยม (Naturalism)
เอกนิยม (Monism)
ทวินิยม (Dualism)

ธรรมชาตินิยม (Naturalism)

ความหมายของธรรมชาตินิยม เป็นศัพท์บัญญัติหนึ่งของคำว่า Naturalism ธรรมชาตินิยมเป็นปรัชญาที่อยู่กลาง ระหว่างสสารนิยมและจิตนิยม กล่าวคือสสาระนิยมเชื่อว่าสสารหรือวัถุเท่านั้นเป็นจริงส่วนจิตนิยมเชื่อว่านอกจากสสารแล้วยังมีความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความจริงมากกว่าสสาร สิ่งนั้นคือจิต แต่สำหรับธรรมชาตินิยมทำหน้าที่ประนีประนอม ทัศนะของสสารนิยมและจิตนิยมโดยทัศนะแยบบกลาง ๆ คือบางแง่เห็นด้วยกับสสารนิยม และบางแง่ก็เห็นด้วยกับจิตนิยม แต่โดยหลักพื้นฐานแล้วธรรมชาตินิยมมีทัศนะใกล้เคียงกับสสารนิยมมากกว่า

จอห์น ดิวอี้ เป็นนักธรรมชาตินิยมอีกท่านหนึ่ง ซึ่งถูกจัดไว้ในพวกกลุ่มขวาแม้กระนั้นท่านก็ยังยอมรับมโนภาพของซันตายานาที่ว่าศาสนานั้นเกี่ยวข้องกับค่านิยมทางอุดมคติซันตายานาแบ่งองค์ประกอบทางศาสนาออกเป็นสองอย่างคือ ความรู้สึกทางศีลธรรม และมโนภาพทางกวีหรือทางบุราณวิทยาที่เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลาย อุดทคติจึงเป็นเครื่องนำทางที่สำคัญพระเจ้านั้นเป็นชื่อหนึ่งของอุดมคติทั้งหลาย ซึ่งเราถือว่าเป็นเอกภาพอย่างหนึ่งดังที่ดิวอี้กล่าวว่าสมมุติว่าคำ พระเจ้า หมายถึง จุดหมายทางอุดมคติ ซึ่ง ณ กลาและสถานที่หนึ่งที่บุคคลยอมรับกันว่ามีอำนาจเหนือเจตนา และอารมณ์ของเขา เป็นค่านิยมที่บุคคลเชื่อถืออย่างสูงส่งจึงพึงเห็นว่า จุดหมายเหล่านั้นรวมตัวกันเป็นเอกภาพ

 

สรุป ธรรมชาตินิยม กล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าไม่มีระเบียบเหนือธรรมชาติ ไม่มีทวิภาค ระหว่างพระเจ้ากับโลก อย่างไรก็ตามยังมีธรรมชาตินิยมบางลัทธิเข้ากันได้กับหลักคำสอนที่ถือว่าพระเจ้าเป็นอุดมคติอย่างหนึ่ง อุดมคตินี้อาจมีอิทธิพลเหนือธรรมชาติมนุษย์ผู้ปราถนาแสวงหาความดี

ภววิทยา (Ontology)

ภววิทยาเป็นสาขาสำคัญของอภิปรัชญาเพราะเป็นศาสตร์ท่าว่าด้วยสิ่งที่แท้จริงอันติมะ ปัญหาที่ภววิทยาพยายามตอบก็คือ สิ่งที่แท้จริงอันติมะคืออะไร นักปราชญาได้ใช้วิธีการหลายอย่างต่าง ๆ กันในอันที่จะตอบปัญหาดังกล่าว วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ได้กลายมาเป็นทฤษฎีของภววิทยา และทฤษฎีต่าง ๆ ดังกล่าวมีที่สำคัญ ๆ อยู่ 3 ทฤษฎี คือ เอกนิยม ทวินิยม และ พหุนิยม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย