ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
สสารนิยมหรือวัตถุนิยม (Materialism)
จิตนิยม (Idealism)
ธรรมชาตินิยม (Naturalism)
เอกนิยม (Monism)
ทวินิยม (Dualism)
เอกนิยม (Monism)
เอกนิยม คือ
ทฤษฎีทางปรัชญาที่ถือว่าความแท้จริงคือปฐมธาตุเพียงอย่างเดียวถ้าถือว่าความแท้จริงเป็นจิตอย่างเดียวเรียกว่าเอกนิยมแบบจิต
ถ้าถือว่าแม้จริงเป็นสสารอย่างเดียวเรียกว่าเอกนิยมแบบสสาร
แต่ถ้าถือว่าความแท้จริงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารเรียกว่า มัชฌิมนิยม
เอกนิยมแบบจิต ถือว่า ความแท้จริงปฐมธาตุมีแต่นามธรรม
หรือจิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเป็นต้นตอของสรรพสิ่ง
และสรรพสิ่งขึ้นอยู่กับความจริงสูงสุด อันได้แก่ ปรัชญาสัต (Philosophy of Being)
เป็นปรัชญาของพาร์มีนิดีส (Parmenides) สมัยกรีกโบราณ
กลาวว่าความแท้จริงปฐมธาตุคือสัตซึ่งมีภาวะเป็นนิรันด์รวมเอาภาวะต่าง ๆ
ไว้ในหน่วยเดียวกันไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น
แต่การที่เรามองเห็นกดารเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นมายา คือ ความเข้าใจผิดไป ส่วนเฮเกล
(Hegel) ถือว่าความแท้จริงมีจิตดวงเดียวเรียกว่าสิ่งสัมบูรณ์
(The Absolute) เป็นต้นกำเนิดจิตทั้งปวง
ลักษณะของจิตคือหยุดนิ่งไม่ได้จะต้องมีกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา
ถ้าเช่นนั้นจิตจะไม่มีตัวตนจะไม่เรียกว่าจิต
การเคลื่อนไหวของจิตเรียกว่าการพัฒนาแบบปฏิพัฒนาการ (Dialectic) แบ่งออกเป็น 3
ระยะคือ จิตเดิมที่บริสุทธิ์ (Thesis) จิตขัดแย้ง ยังแสดงตัวออกเป็นสสาร
(Antithesis) และจิตสังเคราะห์ สสารสำนึกตัวเองว่าเป็นจิต (Synthesis)
เอกนิยมแบบสสารถือว่า
ความแท้จริงแบบปฐมธาตุมีแต่สสารเพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่มีจิตหรือสิ่งอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้
เช่น ปรัชญากรีกสมัยแรก ๆ
ในปัจจุบันมาร์กได้หปรับปรุงปรัชฐาของเฮเกลให้เป็นสสารนิยมแบบปฏิพัฒนในที่สุดเอกนิยมแบบสสารก็ได้พัฒนามาเป็นธรรมชาตินิยมวิวัฒนาการปัจจุบัน
มัชฌิมนิยม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฎีสองแง่
ถือว่าความแท้จริงปฐมธาตุมีเพียงหนึ่งเดียว ไม่ใช่ทั้งจิตและไม่ใช่ทั้งวัตถุ
ความแท้จริงหน่วยเดียวคือพระเจ้าแสดงตัวออกมา 2 ลักษณะ คือ จิตกับวัตถุ
เราสามารถรู้จักความแท้จริงได้โดยใช้เหตุผลพิสูจน์แบบเรขาคณิตสปิโนซ่าเป็นนักปรัชญาสำคัญในแนวคิดแบบนี้ในทัศนะของสปิโนซ่า
จิตกับกายเป็นสองแง่ความแท้จริงเดียวกัน
ซึ่งซ่อนอยู่เบื้องจิตกับวัตถุจึงเป็นสารัตถะเดียวกันที่มองได้หลายด้านเสมือนเงินเหรียญ
ๆ หนึ่งมี 2 หน้านั่นเอง สารัตถะอันเดียวนี้เรียกว่า พระเจ้า