ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
สสารนิยมหรือวัตถุนิยม (Materialism)
จิตนิยม (Idealism)
ธรรมชาตินิยม (Naturalism)
เอกนิยม (Monism)
ทวินิยม (Dualism)
จิตนิยม (Idealism)
ความหมายของจิตนิยม เป็นศัพท์บัญญัติศัพท์หนึ่งของคำ Idealism
ที่ใช้ในทางอภิปรัชญา แต่ถ้าใช้ในทางจริยศาสตร์มีการบัญญัติศัพท์ภาษาไทย
อีกศัพท์หนึ่งว่า อุดมคตินิยมมีคำถามว่า คำ Idealism
คำเดียวทำไมต้องบัญญัติศัพท์ภาษาไทยถึง 2 คำ คำตอบก็คือ
เพราะท่านใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน ในทางจริยศาสตร์ใช้คำว่า Idealist
หมายถึงบุคคลที่มองเห็นเป้าหมายอันสูลส่งของชีวิตและพยายามจะเข้าสู่เป้าหมายอันนั้นให้ได้ในภาษาไทยเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า
นักอุดมคตินิยม แต่ในทางอภิปรัชญา Idealist
หมายถึงผู้ศึกษาค้นคว้าว่าอะไรคือความจริง
อะไรคือสภาพมูลฐานของสิ่งทั้งหลายที่สมนัยกันหรือเข้ากันได้ในความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของมนุษย์ในภาษาไทยเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า
นักจิตนิยม
กลุ่มจิตนิยม ถือว่าจิตเป็นความแท้จริงสูงสุดเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น
สสารเป็นเพียงปรากฏการณ์ของจิตเท่านั้น เช่น
ร่างกายมนุษย์เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราวของจิตเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของจิต
เมื่อร่างกายสูญสลายจิตสัมพัทธ์ก็ยังคงอยู่
ซึ่งบางทีอาจกลับคืนสู่แหล่งเดิมของตนคือจิตสัมบูรณ์อันเป็นต้นตอของสรรพสิ่ง
ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่อธิบายได้ด้วยอาการปรากฏของจิตสัมบูรณ์ทั้งสิ้น
จิตเป็นธรรมที่มีเพียงชื่อหารูปไม่ได้ ผู้มีปัญหาเท่านั้นจึงจะรู้จักจิตได้
จิตนิยมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
จิตนิยมกรีกโบราณ
พาร์มีนิดิส Parmenides เป็นนักปราชกรีกสมัยโบราณ
ได้รับความนับถือย่างมากว่าเป็นผู้ที่มีปัญญาลึกซึ้งและอุปนิสัยสูงส่งดีเลศ
เพลโตได้กล่าวถึงเขาอย่างเคารพนับถือเสมอมา
ทัศนะทางปรัชญาของพาร์มีนิดิสเกิดจากการเฝ้าสังเกตความไม่เที่ยงแท้
หรือความเป็นอนิจจัง หาสิ่งที่คงสภสพอยู่ตลอดไปท่ามกลางการแปลสภาพของสิ่งทั้งหลาย ด
วยเหตุนี้ความคิดเรื่องสัตและอสัตจึงเกิดขึ้น สิ่งที่เป็นจริงสูงสุดคือสัต (Being)
ส่วนอสัตไม่จริงโลกแห่งผัสสะเป็นภาพมายาไม่จริงเป็นอสัต สัตเท่านั้นที่เป็นจริง
เพลโต (Plato)
จิตนิยมของเพลโตได้รับอิทธิพลจากปรัชญาของพาร์มีนิดีสอย่างมาก คือ
เพลโตได้นำความคิดเรื่องโลกแห่งมโนคติหรือทฤษฎีแบบ (World of Ideas or Theory of
Form) มาจากคำสอนเรื่องสัต (being) ของพาร์มีนิดีส มาพัฒนานั่นเอง
มนุษย์ในทัศนคติของเพลโต คือ ธรรมชาติของมนุษย์ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2
อย่างคือ กายกับจิต จิตทำหน้าที่ 3 ภาค คือ ภาคตัณหา ภาคน้ำใจ และภาคปัญญา
ภาคทั้งสามของจิตกล่าโดยสรุปดังนี้
- ภาคตัณหา ตัณหา หมายถึง ความต้องการความสุขทางร่างกาย เช่น การกินอยู่
หลับนอน คนที่มีจิตภาคนี้เหนือกว่าภาคอื่น ๆ ได้แก่
คนที่ลุ่มหลงอยู่ในโลกีย์สุขทั้งปวง ตามทัศนคติของเพลโต
เปรียบคนพวกนี้เหนือกว่าภาคอื่น ๆ ได้แก่ คนที่ลุ่มหลงในโลกีย์สุขทั้งปวง
ตามทัศนะของเพลโตเปรียบคนพวกนี้ไม่ต่างกับเดรัจฉาน
หาความสุขทางการผัสสะเหมือนสัตว์ถึงแม้ว่าจะซับซ้อนหรือละเอียดอ่อนกว่าสัตว์ก็ตาม
- ภาคน้ำใจ น้ำใจ หมายถึง
ความรู้สึกทางใจที่เกิดขึ้นโดยมิได้มีสาเหตุทางวัตถุ เช่น ความเสียสละ
ความรักระเบียบวินัย
ความเมตตาเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์คนที่มีจิตภาคน้ำใจเป็นใหญ่เหือกว่าภาคอื่น
ๆ
ก็ยังมีความปราถนาในโลกีย์อยู่เพราะเป็นความต้องการทางกายอันเป็นเรือนที่จิตคลองอยู่
แต่คนเหล่านี้มิไดเเป็นกังวลกับเรื่องดังกล่าว
เขาอาจจะยอมตายมากกว่ายอมเสียเกียรติคนเหล่านี้สูงกว่าเดรัจฉาน
เพราะเดรัจฉานทำทุกอย่างโดยไม่คำนึงถึงอะไรทั้งสิ้น
- ภาคปัญญา ปัญญา หมายถึง ความมีเหตุผล จิตภาคนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเหตุผลเป็นส่วนที่เพลโตถือว่าทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์และสิ่งทั้งปวงในโลก จิตภาคปัญญาทำให้มนุษย์รู้จักความจริงคนที่มีจิตภาคตัณหาอาจยอมทำทุกอย่างเพื่อแสวงหาความรู้ คนที่มีจิตภาคนี้น้ำใจอาจยอมเสียสละความสุขเพื่อรักษาเกียรติ แต่คนที่มีจิตภาคปัญญาอาจยอมเสียทั้งความสุขและเกียรติเพื่อความรู้และความจริง
จิตนิยมประสบการณ์
จิตนิยมประสบการณ์หมายถึง
หลักปรัชญาของปรัชญาเมธีทั้งหลายเช่น จอร์จ เบริคเลย์ (George Berkley) จอห์น ล๊อค
(John Lock) เดวิด ฮิวม์ (David Hume) เป็นต้น
จอร์จ เบริคเลย์ (George Berkley) เป็นนักปรัชญาชาวไอริส (Irish)
เป็นนักปรัชญากลุ่มประจักษ์นิยม (ประสบการณ์นิยมในปัจจุบัน) เช่นเดียวกับจอห์น ล๊อค
เบริคเลย์ กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารับรู้ทางประสาทสัมผัสนั้น
มีอยู่ได้เพราะจิตและแนวความคิดหมายความว่าเราต้องมีแนวความคิดในเกี่ยว ๆ
กับสิ่งต่างๆ และแนวความคิดนั้นมีอยู่ในจิตใจเรา
ดังนั้นสิ่งที่แท้จริงคือจิตและความคิด (Mind and Idea) เบริคเลย์
กล่าวว่าสสารหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์รับรู้ทางประสาทสัมผัสเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงโดยจิต ในฐานะที่มันถูกรู้หรือรับรู้ด้วยจิต
สสารไม่ได้มีอยู่ได้ด้วยตัวเองแต่มีอยู่เพราะจิต
ดังนั้นเขาจึงกล่าวว่าความมีอยู่คือการถูกรับรู้ ( To be is to be percieved)
ซึ่งหมายความว่าความมีอยู่ของทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกต้องรับรู้ได้หรือสามารถรับรู้
ถ้าสิ่งใดก็ตามไม่ถูกรับรู้ก็จะกล่าวว่าสิ่งนั้นมีอยู่ไม่ได้
และได้กล่าวต่อไปอีกว่าจิตไม่ใช่สร้างแนวความคิด
แต่แนวความคิดนี้ถูกใส่ไว้ในจิตโดยพระเจ้า คือ
พระเจ้าได้สร้างแนวความคิดไว้ในจิตของมนุษย์ทุกคน
จิตนิยมเยอรมันสมันใหม่และรูปแบบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน
จิตนิยมเยอรมัน หมายถึง หลักปรัชญาของนักปรัชญาเมธีทั้งหลาย เช่น ไลบ์นิช, คานต์,
เฮเกล เป็นต้น
อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน
แนวปรัชญาของคานต์มีลักษณะประนีประนอมหลักการของกลุ่มเหตุผลนิยมและประจักษ์นิยมโดยกล่าวว่าความรู้บางชนิดเป็นความรู้ที่มีมาก่อน
เป็นความรู้ที่จริงและจำเป็นที่มุกคนมีเหมือนกันตรงกันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
ทั้งในอดีตปัจจุบัน และอนาคต แต่ความรู้บางชนิดเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นในภายหลัง
(Posteriori) ได้แก่ ความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส
ซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้นและเป็นปัจจุบัน
จากทัศนะนี้เป็นการยอมรับหลักการของกลุ่มเหตุผลนิยมและกลุ่มประจักษ์นิยมเป็นบางส่วน
และมีการปฏิเสธเป็นส่วนใหญ่ ตามทัศนะของคานต์ความรู้จึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ความรู้ที่มีบ่อเกิดมาจากประสบการณ์
และความรู้ที่มีบ่อเกิดมาจากปัญหาหรือความคิดของมนุษย์ (A Priori Knowledge