ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
สสารนิยมหรือวัตถุนิยม (Materialism)
จิตนิยม (Idealism)
ธรรมชาตินิยม (Naturalism)
เอกนิยม (Monism)
ทวินิยม (Dualism)
สสารนิยมหรือวัตถุนิยม (Materialism)
ความหมายของสสารนิยม เป็นคำศัพท์หนึ่งของคำ Materialism อีกศัพท์หนึ่งคือ
วัตถุนิยม สสารนิยมบัญญัติขึ้นใช้ในอภิปรัชญา ส่วนวัตถุนิยมใช้ในจริยศาสตร์
เพื่อมิให้สับสน มีความหมายแตกต่างกันในสาระสำคัญ เช่น ที่ใช้ว่า
นักศีลธรรมเรืองนาม
บางพวกซึ่งไม่พอใจสภาวการณ์ในปัจจุบันของโลกกล่าวประณามการเข้ามาของ Materialism
ว่าเป็นมูลเหตุให้ศีลธรรมเสื่อมตามนัยนี้ Materialism หมายถึง
ทัศนะทางจริยศาสตร์คือศาสตร์ที่ถือว่า ทรัพย์สินเงินทองและอำนาจเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะอำนวยความสุขสูงสุดให้แก่ชีวิตได้ จึงได้มีการบัญญัติคำว่า วัตถุนิยม
(ปัจจุบันทางอภิปรัชญาก็ใช้เรียก วัตถุนิยม) คำ Materialism ที่ใช้ในอภิปรัชญานั้น
หมายถึงทัศนะที่ว่าสะสารหรือพลังงานเป็นเครื่องกำหนดลักษณะพื้นฐานของสิ่งและเหตุการณ์ทั้งหลาย
แต่สสารเท่านั้นเป็นภาวะที่มีอยู่จริงนอกนั้นไม่เชื่อว่ามีอยู่จริง
สิ่งที่เรียกว่าจิตหรือประสบการณ์ทางจิตไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงภาวะอนุพันธ์คือ
เกิดจากสสารนั้นเอง หรือเรียกได้ว่าเป็นผลผลิตของสสารจึงได้มีการ บัญญัติว่า
สสารนิยม
กลุ่มสสารนิยมถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสสารหรือวัตถุ
สสารนิยมนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปรัชญายุคแรกของกรีกที่พยายามค้นหาคำตอบของโลกและสรรพสิ่ง
(วัตถุ) ที่ปรากฏอยู่ โดยได้คำตอบแตกต่างกัน เช่น ธาเลส ตอบว่าโลกเกิดจากน้ำ
อแนกซีแมนเดอร์ ตอบว่าโลกเกิดจากธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อธาตุ 4
นี้รวมกันกับสรรพสิ่งย่อมเกิดขึ้นนี่เป็นความคิดเบื้องต้นของกลุ่มสสารนิยม
ลิวคิปปุสและเคโมคลิตุส
ได้เชื่อว่าเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มสสารนิยมขึ้นอย่างแท้จริงโดยถือว่าวัตถุหรือสสารนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันเองของอะตอมจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน
วัตถุหรือสสารนั้นเมื่อแบ่งแยกออกเป็นส่วนย่อยที่สุดจนไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปอีกได้เรียกว่า
อะตอม สสารนิยมแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
อะตอม (Atomism)
หรือ ปรมาณูนิยมนี้มีความเชื่อว่า ความเป็นจริงมีแต่สสารเพียงอย่างเดียว
มวลสารนี้สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุด เรียกว่า อะตอม (หรือ ปรมาณู)
ซึ่งคำว่าอะตอมที่ใช้ในทางปรัชญานี้หมายถึง อนุภาคที่เล็กที่สุด
เป็นอนุภาคสุดท้ายที่แยกต่อไปอีกไม่ได้แล้ว อะตอมนี้เป็นอนุภาคนิรันดร ไม่เกิด
ไม่ตายมีมาเอง ไม่มีใครสร้าง และไม่มีใครทำลายได้
หรือแม้ว่าจะทำให้มันแตกออกก็ย่อมไม่ได้ แต่ถึงแม้ว่าอะตอมจะเล็กสักปานใดก็ตาม
ตะตอมก็เป็นมวลสารที่มีขนาดรูปร่างและน้ำหนักนั้นคือแม้จะมีจำนวนมากมายก็ตาม
อะตอมก็มีปริมาณคงตัว และคุณภาพของอะตอมแต่ละอนุภาคก็คงตัว
(ทฤษฎีจึงมีลักษณะเป็นพหุนิยม สสารนิยม) ซึ่งแต่ละอนุภาคอาจแตกต่างกันในเนื้อสาร
มวลสาร ขนาดรูปร่างและน้ำหนัก
ฮ็อบส์ (Thomas Hobbes) ได้เอาทฤษฎีปรมาณูของเดโมครีตัส
มาพัฒนาจนถึงกับอธิบายว่าชีวิตคือ เครื่องจักร
จึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาของลัทธิจักรนิยม (Machanicism)
ฮ็อบส์ กล่าวว่า ความเป็นจริงมีแต่สสารซึ่งมีพลังประจำตัว
พลังนี้อาจถ่ายทอดจากเทห์หนึ่งไปสู่เทห์อื่นได้ด้วยการประชิด
ปรากฏการณ์ทั้งหลายในเอกภพเกิดจากการเปลี่ยนที่ของเทห์ด้วยอำนาจของพลังที่ถ่ายทอดกันระหว่างเทห์
โดยมีกฎแน่นอนตายตัวตามหลักกลศาสตร์ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ มีผลก็ต้องมีสาเหตุ
เช่น มีไอน้ำเกิดในอากาศเกินจุดอิ่มตัวมาก ๆ ก็ต้องตกลงมาเป็นฝน เป็นต้น
เขายังกล่าวว่าชีวิต คือ เครื่องจักรกลซับซ้อน
โดยเปลี่ยนให้ดวงตาเหมือนกล้องถ่ายรูป ปอดเหมือนเครื่องปั้มลม ปากเหมือนโม่บด
แขนเหมือนคานงัด นอกจากนั้นเขายังเปรียบหัวใจเหมือนสปริง
เส้นประสาทเหมือนสปริงจำนวนมาก กระดูกข้อต่อเหมือนวงจักร
สิ่งเหล่านี้ทำให้ร่างกายมนุษย์เคลื่อนไหวได้
คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) กล่าวว่า
สสารมีพลังตัวเองตามกฎปฏิพัฒนาการของเฮเกล
คือจะต้องวางตัวให้ขัดแย้งกันเพื่อจะได้หาทางประนีประนอมกัน
แล้วส่วนรวมก็จะก้าวหน้า
เมื่อประนีประนอมกันแล้วจะต้องวางตัวให้ขัดแย้งกันต่อไปอีกเพื่อให้ได้ให้ก้าวหน้าต่อไป
มาร์กซ์ กล่าวว่า มนุษย์ที่ต่อสู้มากจะพัฒนาเร็วกว่ามนุษย์ที่หลีกเลี่ยงการต่อสู้
แต่นั้นเป็นวิธีก้าวหน้าที่ยังฉลาดไม่ถึงขั้น
เมื่อมนุษย์เรียนปรัชญาฉลาดถึงขั้นบรรลุอุตรญาณแล้วก็จะเข้าถึงสัจธรรม
จะเป็นแข้งว่าวิธีที่มนุษย์จะก้าวหน้าได้แนบเนียนที่สุดก็คือ
การต่อสู้การงานเมื่อมนุษย์ เข้าถึงสัจธรรมนี้กันหมดแล้ว
มนุษย์ก็จะไม้ต่อสู้กันระหว่างมนุษย์ด้วยกันอีกต่อไป
และจะไม่มีการแบ่งพวกขัดแย้งกันอีกต่อไป
พลังนิยม (Energetism)
พลังนิยมมีความเห็นว่าสสารมิได้มีมวลสารดังที่มนุษย์มีประสบการณ์ด้วยประสาทสัมผัส
แต่เนื้อแท้เป็นพลังงานซึ่งเมื่อทำปฏิกริยากับประสาทสัมผัสของมนุษย์ทำให้รู้สึกไปว่ามีมวลสารพวกพลังนิยมจึงยืนยันว่าความเป็นจริงเป็นพลังงานเพียงอย่างเดียวที่กระทำการให้เกิดสิ่งต่าง
ๆ และเหตุการณ์ทั้งหลายในเอกภาพ พลังงานดังกล่าวอาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นไป
ทำให้มีชื่อผิดเพี้ยนกันออกไปได้ นักปรัชญาพลังนิยมที่สมควรกล่าวถึงคือ
อาร์ทูร์ โชเป็นเฮาเออร์
กล่าวว่าความเป็นจริงแล้วเป็นพลังตาบอดที่ดิ้นรนไปตามธรรมชาติของพลังแสดงออกมาเป็นพลังต่าง
ๆ ในธรรมชาติ เช่น พลังแม่เหล็ก พลังไฟฟ้า พลังน้ำตก พลังดึงดูด
และสูงขึ้นมาเป็นพลังในพืช พลังสัญชาตญาณและพลังกิเลสในมนุษย์
มนุษย์เราจึงดิ้นรนที่จะเอาชนะอยู่ตลอดเวลา
พลังในธรรมชาติทุกอย่างเป็นพลังดิ้นรนหรือเจตจำนงที่จะมีชีวิต (the will-to-live)
เพราะการดิ้นรนนี้ไม่มีแผนผลจึงอาจะเป็นการก้าวหน้าหรือถอยหลังก็ได้
ความจริงจึงขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่ราบรื่น แม้ว่าพลังส่วนรวมจะตาบอด
แต่พลังที่แบ่งส่วนมาเป็นมนุษย์แต่ละส่วนนี้มีความสำนึกได้
เพราะเป็นพลังที่เข้มข้นที่สุด และอาจจะช่วยวางแผนแก้ปัญหาให้แก่พลังส่วนรวมได้
ซึ่งโชเป็นเฮาเออร์ได้กล่าวไว้ในปรัชญาจริยะ
นิตเช่ (Friedrich Nietzsche)
ได้กล่าวแก้ไขความคิดของโชเป็นเฮาเออร์ว่าพลังตาบอดนั้นมีลักษณะเป็นการดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด
นั้นก็คือการดิ้นรนเพื่ออำนาจดังนั้นพลังรวมของโชเป็นเฮาเออร์
ควรเรียกใหม่ให้ถูกต้องว่า เจตจำนงที่จะมีอำนาจ (the will-to-power)
จะสังเกตได้ว่าพลังที่แสดงออกในธรรมชาตินั้น
บางทีก็ยอมเสี่ยงการมีชีวติเพื่อจะมีอำนาจเหนือหน่วยอื่นยิ่งในหมู่มนุษย์ด้วยแล้ว
ยิ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น คนต่อสู้กับคนเพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำ
ชาติต่อสู้กับชาติเพื่อความเป็นเจ้าโลก
การต่อสู้ดิ้นรนเช่นนี้จะทำให้มนุษย์พยายามพัฒนาตนเองให้มีความสามารถเหนือผู้อื่นยิ่ง
ๆ ขึ้นไป และจะเกิดมนุษย์ที่มีความสามารถเหนือผู้อื่นที่เรียกันทั่ว ๆ ไปว่า
อภิมนุษย์ (Superman) ขึ้นในอนาคต
ทักซ์ปลังค์ (Max Planck)
และนักวิทยาศาาตร์นิวเคลียร์ปัจจุบันบางท่านกล่าวว่ามนุษย์เราสามารถแยกปรมณูออกได้เป็นประจุไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงาน
ซึ่งเป็นอันว่ามวลสารทั้งหลายประกอบจากพลังงานทั้งสิ้น
พลังงานเลห่านี้มิได้รวมเป็นเนื้อเดียวแต่เป็นกลุ่มของอนุพลังงานซึ่งแต่ละอนุภาคจะแบ่งออกต่อไปอีกไม่ได้
เรียกว่า (Quantum) ควันตัมเป็นหน่วยย่อยที่สุดของพลังงาน
ซึ่งเมื่อรวมตัวกันในลักษณะต่าง ๆ แล้วทำให้เกิดสิ่งทั้งหลายและเหตุการณ์ต่าง ๆ
ในเอกภพ
พลังงานในเอกภพมีพลังมากมายเหลือเกินจนไม่มีใครกำหนดได้แต่ที่น่าสังเกตก็คือพลังงานมิใช่คงตัวอยู่อย่างเดิมแต่จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพอยู้เสมอ
อาจจะดีหรือเลวลงก็ได้ แ ต่เท่าที่สังเกตเป็นส่วนรวมปรากฏว่าดีขึ้นเรื่อย ๆ
โดยสรุปจะเห็นได้ว่าลักษณะร่วมของนักปรัชญาพลังนิยม คือ
สิ่งทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีเกณฑ์ตายตัว
อาจจะเกิดขึ้นตรงตามวัตถุประสงค์ของมนุษย์หรือไม่ก็ได้ เช่น
มนุษย์บางคนดิ้นรนเพื่อการมีรชีวิตอยู่รอด แต่ผลอาจจะตายก็ได้