วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
จริยธรรมในการวิจัยด้านเซลล์ต้นกำเนิด
ใครได้ ใครเสียประโยชน์ และใครควรถูกคุ้มครอง
ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นเมื่อไหร่
แนวทางขององค์การ UNESCO
อังกฤษ ผู้นำของการวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านตัวอ่อนและการเจริญพันธุ์
สหรัฐอเมริกา ประกาศนโยบายไม่สนับสนุนการวิจัยที่ใช้ตัวอ่อน
แนวปฏิบัติสำหรับประเทศไทยยังอยู่ในระยะทดลองใช้
แนวทางขององค์การ UNESCO
องค์การ UNESCO ได้จัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมชีวการแพทย์ (International Bioethics Committee IBC) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 ให้มีหน้าที่พิจารณาประเด็นและแง่มุมทางจริยธรรมของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการใช้ประโยชน์ด้านชีววิทยาการแพทย์ เพื่อเป็นแนวทางร่วมกันระหว่างประเทศต่าง ๆ ให้การพิจารณาและหาข้อสรุป ซึ่ง IBC ก็ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อหาข้อสรุปทางด้านจริยธรรมที่พึงกระทำเกี่ยวกับการวิจัยในด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านสเต็มเซลล์ด้วย
คณะทำงานด้านสเต็มเซลล์ของ IBC ซึ่งมี Alexander McCall
Smith อาจารย์ทางกฎหมายจากสก็อตแลนด์ และ Michel Ravel
นักพันธุศาสตร์จากอิสราเอลร่วมเป็นเลขานุการ
ได้พิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้ตัวอ่อนมนุษย์เป็นแหล่งของสเต็มเซลล์สำหรับการศึกษาวิจัย
(รวมทั้งการใช้ประโยชน์ต่อไปเมื่อการวิจัยได้รับผลสำเร็จ)
รายงานของคณะทำงานชุดนี้มีข้อเสนอหลายประการ แต่สุดท้ายก็มิได้ระบุว่า
คณะทำงานเห็นว่าการวิจัยโดยใช้สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในทางจริยธรรมหรือไม่
ใจความสำคัญของรายงานมีว่า
การวิจัยสเต็มเซลล์ที่มาจากตัวอ่อนเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรคเป็นสิ่งที่สมควรกระทำ
แต่การดำเนินการของแต่ละประเทศให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสังคมในประเทศนั้น ๆ
และแต่ละประเทศควรถเถียงกันอย่างกว้างขวางและเปิดเผยในประเด็นนี้
ที่สำคัญควรจะระบุให้ชัดเจนถึงฐานะของตัวอ่อน (moral standing of the embryo)
ในบริบทของแต่ละประเทศ โดยรัฐจำเป็นต้องออกกฎเกณฑ์และมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด