สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ประชาธิปไตยกับการเมืองไทย

เหตุการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
กลไกของรัฐตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
การปฏิรูปสภาผู้แทนราษฎร
การปฏิรูปวุฒิสภา
การปฏิรูปกระบวนการนิติบัญญัติ
การปฏิรูประบบราชการ
ศาลปกครอง
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

การปฏิรูปวุฒิสภา

มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายประการทั้งในเรื่ององค์ประกอบ ที่มาและอำนาจหน้าที่

สมาชิกวุฒิสภามีจำนวนทั้งสิ้น 200 คน (มาตรา 121)

1) สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน (มาตรา 121) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มาของวุฒิสภา การเลือกตั้งวุฒิสภาใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง (มาตรา 122) แต่ไม่ว่าจังหวัดนั้นจะมีสมาชิกวุฒิสภากี่คน ประชาชนแต่ละคนจะลงคะแนนเสียงได้เพียง 1 คะแนน เท่านั้น (มาตรา 123) ผู้สมัครวุฒิสภาจะหาเสียงไม่ได้ ซึ่งจะทำให้คนดีมีความสามารถและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในจังหวัดนั้นๆ เข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ ระบบนี้ยังป้องกันไม่ให้สมาชิกวุฒิสภามีลักษณะกระจุกตัวอยู่แต่ในเฉพาะกรุงเทพมหานคร

2) วุฒิสภานอกจากตะมีอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นอำนาจแต่เดิมแล้ว (มาตรา 175) วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งนี้จะมีอำนาจในฐานะที่เป็นองค์กรตรวจสอบด้วย

 

บทบาทในฐานะที่เป็นองค์กรตรวจสอบนั้น แสดงออกใน 2 ลักษณะ

  • ประการแรก คือ เป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ การตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จำนวนไม่เกิน 3 คน (มาตรา 196) การตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจำนวน 11 คน (มาตรา 199) การตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 15 คน (มาตรา 255) การเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คน ไปเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (มาตรา 274 อนุ 3) การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นตุลาการศาลปกครอง (มาตรา 279 อนุ 3) การเลือกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจำนวน 9 คน (มาตรา 297)
  • ประการที่สอง คือ การมีอำนาจในการถอดถอนบุคคลต่างๆ ออกจากตำแหน่งได้แก่ การมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ้นจากตำแหน่ง (มาตรา 299) การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการตรวจสอบเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตออกจากตำแหน่ง ในกรณีที่บุคคลนั้นมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย