สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เหตุการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
กลไกของรัฐตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
การปฏิรูปสภาผู้แทนราษฎร
การปฏิรูปวุฒิสภา
การปฏิรูปกระบวนการนิติบัญญัติ
การปฏิรูประบบราชการ
ศาลปกครอง
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เหตุการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
ประเทศต่างจากประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ
ไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศจักรวรรดินิยมตะวันตก เพียงแต่ต้องเสียดินแดนบางส่วน
เช่น มณฑลบูรพา (เขมรส่วนใน คือ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศสในปี
พ.ศ.2449 และเสียไทรบุรี ปะลิศ กลันตัน ตรังกานู แก่อังกฤษในปี พ.ศ.2452)
เพื่อแลกอำนาจศาลคืนมาจากฝรั่งเศสและอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ.2475
ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม
ประเทศไทยได้มีการปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารอย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายปี
นับตั้งแต่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
ผู้ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ในปี พ.ศ.2475 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้นำประเทศไทยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ คือ
ญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลี ในสงครามโลกครั้งที่ 2
และเป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมืองอย่างเด็ดขาดระหว่างปี พ.ศ.2481 2500 (แต่ระหว่างปี
พ.ศ.2488 2491 ไทยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลพลเรือน)
ในปี พ.ศ.2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติยึดอำนาจจาก จอมพลแปลก
พิบูลสงคราม และขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ.2502
ได้ใช้อำนาจเด็ดขาดจนถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.2506 และจอมพลถนอม กิตติขจร
ได้ขึ้นสืบต่ออำนาจและได้ยุบรัฐสภาแล้วประกาศกฎอัยการศึก
โดยบริหารประเทศภายใต้คณะกรรมาธิการบริหารแห่งชาติ ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2515
จอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศใช้รัฐธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรที่ทำให้ตนมีอำนาจเด็ดขาด
และได้แต่งตั้งสมาชิกธรรมนูญแห่งชาติที่เป็นตำรวจและทหารจำนวน 200 คน
จากจำนวนทั้งสิ้น 299 คน ธรรมนูญการปกครองฉบับนี้หลังจาก จอมพลถนอม กิตติขจร
หมดอำนาจในปี พ.ศ.2516 แล้วรัฐบาลใหม่ที่มีนายสัญญา ธรรมศักดิ์
เป็นนายกรัฐมนตรีได้ใช้ต่อมาอีก 1 ปี
ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 รัฐบาลทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร
และจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้ถูกพลังประชาชน นิสิต
และนักศึกษาปลดออกจากอำนาจเผด็จการทหาร (ซึ่งได้บริหารประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2506)
หลังจากเกิดเหตุการณ์วันอาทิตย์นองเลือด (Bloody Sunday)
แล้วรัฐบาลพลเรือนของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ปกครองประเทศต่อมา
ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519
ได้เกิดการจลาจลร้ายแรงซึ่งมีผลให้รัฐบาลที่มีจากการเลือกตั้ง ซึ่งมี ม.ร.ว.เสนีย์
ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีต้องล้มไป
(การจลาจลดังกล่าวเป็นผลทำให้คนไทยบางกลุ่มแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย
ทำการรบราฆ่าฟันจนล้มตายเรื่อยมาถึงปี พ.ศ.2525 จึงได้ยุติการสู้รบต่อกัน)
และนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียง 1 ปี
ก็เกิดการปฏิวัติขึ้นอีกครั้ง ในครั้งนี้ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในปี พ.ศ.2522 พลเอกเกรียงศักดิ์
ได้ประกาศยุบสภาแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2522
ซึ่งปรากฏผลต่อมาว่าได้รัฐบาลใหม่ที่มีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติสูณลานนท์
ได้ถูกกลุ่มทหารหนุ่มที่มีชื่อว่า ยังเติร์ก ทำการรัฐประหารล้มรัฐบาลถึง 2 ครั้ง
คือ ครั้งแรกในวันที่ 1- 4 เมษายน พ.ศ.2524 และครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 กันยายน
พ.ศ.2528 นำโดย พลเอกเสริม ณ นคร แต่ไม่สำเร็จทั้งสองครั้ง พลเอกเปรม ติสูณลานนท์
ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศถึง 8 ปี 5 เดือน
และได้ขอลาออกจากตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2531
เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งทั่วไป จึงได้พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยในขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลผสมบริหารประเทศต่อไปนานถึง
2 ปี 7 เดือน ส่วนพลเอกเปรม ติสูณลานนท์ ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ดำรงตำแหน่งรัฐบุรุษและประธานองคมนตรีในปัจจุบัน (สืบแทนนายสัญญา ธรรมศักดิ์
ซึ่งมีสุขภาพไม่ดี และได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.2544 อายุ 95 ปี)
ต่อมาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534
ได้เกิดการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดยพลเอกสุนทร
คงสมพงษ์ ได้โค่นล้มรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 18
คือ นายอานันท์ ปันยารชุน ต่อมาได้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 22 มีนาคม
พ.ศ.2535 ปรากฏว่า นายณรงค์ วงศ์วรรณ
หันหน้าพรรคสามัคคีธรรมได้คะแนนสูงสุดพร้อมที่จะจัดตั้งงรัฐบาลได้ แต่นายณรงค์
วงศ์วรรณ ถูกกล่าวหาว่าไปพัวพันกับการค้ายาเสพติด จึงทำให้ พอเอกสุจินดา คราประยูร
ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่อยู่ในกลุ่มคณะรัฐประหาร รสช.
ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 แต่อยู่ในตำแหน่งได้เพียง 2 เดือน
ก็เกิดการเดินขบวนประท้วงขับไล่ พลเอกสุจินดา คราประยูร
เหตุการณ์ลุกลามเป็นการจลาจลนองเลือดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2535 ทำให้นายอานันท์
ปันยารชุน ต้องกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ต่อมาได้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่
13 กันยายน พ.ศ.2535 ปรากฏว่า นายชวน หลักภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีร่วมกับคณะรัฐบาลที่มาจากหลายพรรค แต่นายชวน
ต้องทำการยุบสภาจากกรณีอื้อฉาว สปก.4-01 และจากการที่พลตรีจำลอง ศรีเมือง
ลาออกจากการร่วมรัฐบาล
ต่อมามีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2538 และเป็นปีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้บุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ปรากฏว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา หันหน้าพรรคชาติไทย ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของไทย บริหารประเทศได้เพียง 1 ปี ก็ต้องยุบสภาหลังจากถูกพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นฝ่ายค้านในขณะนั้นกล่าวโจมตีเรื่องเชื้อชาติของท่านอย่างรุนแรง และถูกกดดันจากพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ ในครั้งนี้ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หันหน้าพรรคความหวังใหม่ ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งเข้ามามากกว่าพรรคอื่นจึงจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น โดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียง 9 เดือน จึงได้ขอลาออกจากตำแหน่ง (เนื่องจากถูกประท้วงขับไล่รายวันจากการทุ่มค่าเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐฯ ประจวบกับเศรษฐกิจฟองสบู่ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้แตกสลายลง ทำให้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ต้องประกาศให้ค่าเงินบาทลอยตัว (Managed Float) ขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2540 รัฐบาลไทยต้องไปขอความช่วยเหลือและกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มากู้เศรษฐกิจที่ระบบกรเงินการธนาคารของชาติที่พังพินาศ) พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของหัวหน้าพรรค คือ นายชวน หลีกภัย ได้ชิงชัยกับพรรคร่วมรัฐบาลเก่าและได้ชัยชนะจากการแปรพักตร์ของ 12 ส.ส. จากพรรคประชากรไทยที่มาเข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลผสม เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 นับว่าเป็นสมัยที่ 2 ของนายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย
ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2543 ไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภาเป็นครั้งแรก มีกำหนดวาระ 6 ปี ซึ่งแต่ก่อนวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง รัฐบาลของนายชวน หลีกภัยได้บริหารต่อไปอีกเกือบ 3 ปี จึงได้ยุบรัฐสภา จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 ปรากฏว่า พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ไทยได้เป็นประเทศเจ้าภาพจัดกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2541 ที่กรุงเทพฯ รัฐบาลได้เฉลิมฉลองถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมายุครบ 72 พรรษา ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2542 และเป็นเจ้าภาพจัดประชุม UNTAD (องค์การสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและพัฒนา ขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 แต่รัฐบาลปัจจุบันต้องมาเผชิญกับการขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่ม OPEC อย่างขนานใหญ่ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะเติบโตถึง 4.5% ต้องถดถอยลงมา โดยเขยิบขึ้นไปไม่ถึงการประเมินของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้ตามสิติปี พ.ศ.2533 ไทยมีประชากร 60 ล้านคน โดยประชากรร้อยละ 30.4 อาศัยอยู่ในจังหวัดภาคกลาง ร้อยละ 35.2 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 12.5 อยู่ในจังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 21.9 อยู่ในจังหวัดภาคเหนือ
รัฐบาลพยายามทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยในตัวเมืองใหญ่และคนจนตามชนบทแคบเข้ามาให้ได้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ประกอบกับมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างมากมายในหน่วยงานของรัฐบาลและมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในหลายๆ ธนาคารของรัฐและเอกชนภายใต้นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นรัฐบาลปัจจุบันก็ได้พยายามแก้ไข ซึ้งนับว่าเป็นปัญหาหนักหน่วงที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นมาให้จงได้