วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
ชีววิทยาของพะยูน
พะยูน มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น หมูน้ำ วัวทะเล
หรือดูก๊อง จังหวัดภาคใต้เรียกพะยูนว่า ดุหยง พะยูนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
Manatee และ Dugong ในประเทศไทย พบแต่ Dugong ซึ่งอาศัยอยู่ในทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์
คือ Dugong dugong
พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำและใช้ปอดในการหายใจ
ลำตัวมีสีเทาอมชมพู หรือ สีน้ำตาลเทา มีรูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย
ปลายหางแยกออกเป็นสองแฉก ลำตัวอ้วนขนานกับพื้นในแนวราบ พะยูนไม่มีครีบหลัง
มีเพียงครีบข้างลำตัวแผ่คล้ายใบพาย และครีบหางเท่านั้น
ปากของพะยูนอยู่ทางตอนล่างของส่วนหน้า
มีริมฝีปากบนเป็นก้อนเนื้อหนาโปนขึ้นมาในลักษณะเป็นเหลี่ยมคล้ายจมูกหมู
มีขนประปรายตลอดลำตัวและมีขน เส้นใหญ่อยู่อย่างหนาแน่นบริเวณปาก
โดยธรรมชาติ พะยูนจะมีอายุยืนยาวประมาณ 70 ปี
ในการแพร่พันธุ์จะออกลูกเป็นตัวเพียงครั้งละ 1 ตัว เท่านั้น
และใช้เวลาในการตั้งท้องยาวนานประมาณ 13-14 เดือน
ลูกพะยูนแรกเกิดจะกินนมจากแม่พร้อมทั้งหัดกินหญ้าทะเลและอาศัยอยู่กับแม่นานร่วม 2
ปี จึงจะแยกตัวออกไป พะยูนตัวเต็มวัยมีน้ำหนักตัวประมาณ 1000 กิโลกรัม
และอาจมีขนาดลำตัวยาวถึง 3 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่มาก
อาหารหลักของพะยูนคือหญ้าทะเลชนิดต่าง ๆ และสาหร่ายบางชนิด
การกินอาหารของพะยูนกินได้ทั้งกลางวันและกลางคืนในขณะช่วงที่น้ำขึ้น
ขณะกินอาหารพะยูนจะอยู่ใต้น้ำประมาณ 2 นาที จึงจะขึ้นมาหายใจ
และเมื่อน้ำลงพะยูนจะกลับไปยังร่องน้ำที่อาศัยอยู่ ในแต่ละวันนั้น
พะยูนกินอาหารเฉลี่ยประมาณ 25-30 กิโลกรัม
พะยูนจะพบได้เฉพาะในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนเท่านั้น
สำหรับในประเทศไทยได้มีการสำรวจพบพะยูนทั้งฝั่งอ่าวไทยแถบบริเวณจังหวัดระยอง ตราด
ชุมพร และสุราษฏร์ธานี และชายฝั่งอันดามันในแถบจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง
และสตูล
พะยูนจะอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลและชอบอยู่ตามชายฝั่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึก
หรือลึกประมาณ 1-12 เมตร (กาญจนา, 2547) ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากแหล่งหญ้าทะเลนัก
และมักจะอยู่รวมกันเป็นฝูง
สถานการณ์พะยูนในประเทศไทย
สาเหตุการลดจำนวนของพะยูน
แนวทางการอนุรักษ์พะยูนในประเทศไทย