วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
ชีววิทยาของไรน้ำนางฟ้า
ประวัติการค้นพบ
ชนิดและการแพร่กระจายในประเทศไทย
ความสำคัญและประโยชน์
การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
การส่งเสริมให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจ
ความสำคัญและประโยชน์
เป็นกลไกสำคัญของระบบนิเวศน้ำจืด
ไรน้ำนางฟ้าเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในแหล่งน้ำจืดที่มีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร
ในการเป็นอาหารของปลา ปู กุ้ง รวมทั้งแมลงน้ำชนิดต่างๆ
ทำให้เกิดมีการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ ตัวไรน้ำนางฟ้าเองกินสาหร่าย แบคทีเรีย
ไรน้ำชนดอื่นที่เล็กกว่า และอินทรีย์วัตถุที่ละลายอยู่ในน้ำ
ไรน้ำนางฟ้าพบอาศัยอยู่ในน้ำที่ค่อนข้างสะอาดในช่วงเวลาที่ค่อนข้างสั้นในธรรมชาติ
หากมีสิ่งแปลกปลอมเจือปนลงไปในแหล่งน้ำไรน้ำนางฟ้าจะตายและหายไป
ฉะนั้นไรน้ำนางฟ้าจึงเป็นตัวบ่งชี้ให้ถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าไข่อาร์ทีเมียเพื่อมาเลี้ยงลูกกุ้ง ลูกปลา
รวมทั้งสัตว์น้ำวัยอ่อน จำนวนปีละไม่ต่ำกว่า 200-600 ตัน มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท
และเหตุที่ต้องนำเข้าก็เพราะไทยไม่สามารถผลิตได้เอง
จึงมีการมองหาสัตว์น้ำตัวอื่นมาทดแทน เพื่อช่วยลดปัญหาภาวการณ์ขาดดุลของประเทศ
และเห็นว่า ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับอาร์ทีเมีย
ซึ่งเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบน้ำเค็ม
จึงเหมาะที่จะใช้ทดแทนอาร์ทีเมียได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ของไรน้ำนางฟ้ามีดังนี้
- ใช้ในวงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเป็นอาหารของลูกกุ้ง
- มีศักยภาพที่จะผลิตเป็นอาหารของสัตว์สวยงามได้เพราะทำให้มีสีสันสวยงาม
- ใช้ในการปรุงอาหารของคนอีสาน เช่น แกงอ่อม ใส่ในห่อหมกและแกงหน่อไม้ดอง
- สามารถเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้ผู้ประกอบการ
- ใช้เป็นอุปกรณ์การสอนสำหรับนักเรียนนักศึกษา
- ใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาด้านพิษวิทยา (Toxicology) ได้
ผลผลิต กำลังอยู่ในช่วงทำการศึกษาฉะนั้นผลที่ได้จึงยังระบุให้แน่ชัดไม่ได้
แต่จากผลการศึกษาพบว่าชนิดที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงคือ
ไรน้ำนางฟ้าไทยเนื่องจากเป็นชนิดที่โตเร็วกว่าไรน้ำนางฟ้าชนิดอื่นกล่าวคือ
จะฟักเป็นตัวอ่อนเมื่ออายุราว 1 สัปดาห์และวางไข่ครอกแรก จากนั้นจะวางไข่อีกทุกๆ 27
ชั่วโมง ประมาณ 16 ครั้ง เฉลี่ยวางไข่ทั้งหมดประมาณ 6,000 ฟอง
โดยการทดลองเลี้ยงในน้ำ 1 ลิตรต่อไรน้ำนางฟ้า 50 ตัวใช้เวลา 2 สัปดาห์ จะได้ผลผลิต
1.5-2.0 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร
ราคา
จำหน่ายพ่อแม่พันธุ์ที่พร้อมวางไข่ให้เกษตรกรรายย่อยในราคาไม่สูงคือตัวละ 25 สตางค์
และไข่ประมาณ 1,000,000 ฟองราคา 2,000 บาท
ราคานี้ยังไม่ตายตัวเนื่องจากอยู่ในช่วงพัฒนาปรับให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
และยังมีผู้รู้จักน้อย