วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา

ชีววิทยาของไรน้ำนางฟ้า

ประวัติการค้นพบ
ชนิดและการแพร่กระจายในประเทศไทย
ความสำคัญและประโยชน์
การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
การส่งเสริมให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจ

ประวัติการค้นพบ

ไรน้ำนางฟ้า ความจริงแล้วมีอยู่ในธรรมชาติมานานแล้ว คนอีสานเรียกว่า “แมงอ่อนช้อย” หรือ “แมงหางแดง” หรือ “แมงแงว” หรือ “แมงน้ำฝน” ชาวบ้านได้นำมาประกอบอาหารเช่นเดียวกับลูกอ๊อดของกบ เมื่อศาสตราจารย์ ดร.ละอองศรี เสนาะเมือง ได้ทำการเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี พ.ศ.2536 ได้พบตัวอย่างไรน้ำนางฟ้าเพศเมียที่หนองน้ำแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองบัวลำภู หลังจากนั้นได้พยายามเก็บตัวอย่างติดต่อกันหลายปี เพื่อให้ได้ตัวอย่างตัวเต็มวัยเพศผู้ เพื่อใช้ในการจำแนกชนิด จนกระทั่งในปีพ.ศ.2541 จึงได้ตัวอย่างทั้งสองเพศที่ตัวเต็มที่ และจากการตรวจสอบลักษณะทางสัณฐานวิทยาโดยละเอียด รวมทั้งเปรียบเทียบกับตัวอย่างไรน้ำนางฟ้าสกุลเดียวกันที่มีการตั้งชื่อแล้วทั่วโลก จากการตรวจสอบเอกสารพบว่าเคยมีนักวิชาการไทยนำไรน้ำนางฟ้ามาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 โดยเรียกว่า “อาร์ทีเมียน้ำจืด” แต่ไม่มีใครจำแนกชนิดและรายละเอียดเกี่ยวกับอนุกรมวิธานและยังไม่มีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ

ลักษณะรูปร่างและที่อยู่อาศัย

ไรน้ำนางฟ้าจัดเป็นสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายกุ้งขนาดเล็ก แต่ไม่มีเปลือกแข็งหุ้ม จัดอยู่ในประเภทสัตว์โบราณ เนื่องจากมีขาว่ายน้ำจำนวน 11 คู่ และมีพฤติกรรมการว่ายน้ำแบบหงายท้องโดยใช้ขาว่ายกรรเชียงน้ำและโบกพัดอาหารเข้าปาก ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ลำตัวยาวโดยเฉลี่ย 2 เซนติเมตร ส่วนหางแยกเป็นสองแฉกมีสีแดงส้ม บริเวณหัวมีตาขนาดใหญ่มีก้านตายาว 1 คู่มีหนวด 2 คู่ หนวดคู่ที่ 2 ของตัวผู้จะเปลี่ยนแปลงไปใช้สำหรับการจับตัวเมียเมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์และใช้ในการจำแนกชนิด

ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างหายากในบริเวณเขตร้อนชื้น ส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืดในเขตอบอุ่นของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป อาฟริกา และเอเชีย สำหรับในเอเชียพบว่ามีไรน้ำนางฟ้าที่ตั้งชื่อแล้ว 6 ชนิดอาศัยอยู่ในอินเดีย และอินโดนีเซีย แหล่งที่อยู่อาศัยของไรน้ำนางฟ้ามีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือเป็นบ่อหรือคลองที่มีน้ำขังอยู่ชั่วคราวในฤดูฝน (temporary pond) เท่านั้น ในช่วงฤดูแล้งน้ำจะแห้ง ก่อนที่น้ำจะแห้งตัวเมียจะผลิตไข่ที่มีเปลือกหนาจำนวนมาก เมื่อน้ำแห้งไข่เหล่านี้จะอยู่ในระยะพักตัว เมื่อมีฝนตกลงใหม่ในปีถัดไปไข่สามารถฟักเป็นตัวอ่อนและเจริญเป็นตัวเต็มวัยต่อไป ซึ่งในประเทศไทยพบอยู่ในบ่อที่มีน้ำขังชั่วคราวขนาดเล็ก คลองข้างถนนและนาข้าว ส่วนฤดูกาลที่พบไรน้ำนางฟ้าได้นั้นเป็นช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย