ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
ชื่อมหาวิภังค์ (เป็นวินัยปิฎก)
เตรสกัณฑ์
(ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท)
สิกขาบทที่ ๑
ห้ามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ภิกษุเสยยสกะถูกพระอุทายี แนะนำในทางที่ผิด ให้ใช้มือเปลื้องความใคร่ ทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ความทราบถึงพระผุ้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน พระเสยยสกะรับเป็นสัตย์ ทรงติเตียนพระเสยยสกะเป็นอันมาก แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนโดยเจตนา ถ้าล่วงละเมิดต้องอาบัติสังฆาทิเทสส (อาบัติที่ต้องให้สงฆ์เกี่ยวข้องในกรรมเบื้องต้นและกรรมอันเหลือ คือสงฆ์เป็นผู้ปรับโทษให้อยู่กรรม และสงฆ์เองเป็นผู้ระงับอาบัติ).
อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนอนหลับ น้ำอสุจิเคลื่อนด้วยความฝัน เกิดความสงสัยว่า จะต้องสังฆาทิเสส จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า เจตนามีอยู่ แต่เป็นอัพโพหาริก (ไม่ควรกล่าวว่า มีเหมือนอย่างเทน้ำหมดแกล้วแล้ว น้ำก็ยังคงมีติดอยู่เล็กน้อย แต่ไม่ควรกล่าวว่า มี) แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม เพิ่มข้อยกเว้นสำหรับความฝัน.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยพิสดารแล้ว กล่าวถึงเรื่องอนาบัติ (การไม่ต้องอาบัติ) ๖ ประการ คือ
๑. เพราะฝัน
๒. ภิกษุไม่มีเจตนาจะทำให้เคลื่อน
๓. ภิกษุเป็นบ้า
๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน (เป็นบ้าไปชั่วคราวด้วยเหตุใด ๆ)
๕. ภิกษุมีเวทนากล้า และ
๖. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
วินีตวัตถุ
(เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)
ต่อจากนั้น แสดงตัวอย่างต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เกี่ยวด้วยการกระทำของภิกษุที่เนื่องด้วยสิกขาบทนี้ ประมาณ ๗๑ ราย ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงไต่สวนเอง ทรงวินิจฉัยชี้ขาดว่า ต้องอาบัติปาราชิกบ้าง ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสบ้าง ไม่ต้องบ้าง ตามควรแก่กรณี.
- ห้ามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
- ห้ามจับต้องกายหญิง
- ห้ามพูดเกี้ยวหญิง
- ห้ามพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม
- ห้ามชักสื่อ
- ห้ามสร้างกุฎีด้วยการขอ
นิสสัคคิยกัณฑ์
โกสิยวรรค
ปัตตวรรค
เตรสกัณฑ์
ปาจิตติยกัณฑ์
โอวาทวรรค
โภชนวรรค
อเจลกวรรค
สุราปานวรรค
สัปปาณกวรรค
สหธัมมิกวรรค
รตนวรรค
ปาฏิเทสนียกัณฑ์
เสขิยกัณฑ์
สารูป
โภชนปฏิสังยุต
ธัมมเทสนาปฏิสังยุต
ปกิณณกะ
พระวินัยเล่มที่ ๑
พระวินัยเล่มที่ ๒
พระวินัยเล่มที่ ๓
พระวินัยเล่มที่ ๔
พระวินัยเล่มที่ ๕
พระวินัยเล่มที่ ๖
พระวินัยเล่มที่ ๗
พระวินัยเล่มที่ ๘