ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
ชื่อมหาวิภังค์ (เป็นวินัยปิฎก)
นิสสัคคิยกัณฑ์
(ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทที่ต้องสละสิ่งของ)
๑. จีรวรรค วรรคว่าด้วยจีวร
สิกขาบทที่ ๑๐ จีวรวรรค
ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามทวงจีวรเอาแก่คนที่รับฝากผู้อื่น เพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
มหาอำมาตย์ผู้อุปฐากพระอุปนนทะ ศากยบุตร ใช้ทูตให้นำเงินค่าซื้อจีวรไปถวายพระอุปนนทะ ท่านตอบว่าท่านรับเงินไม่ได้ รับได้แต่จีวรที่ควรโดยกาล เขาจึงถามหาไวยาวัจจกร (ผู้ทำการขวนขวายผู้รับใช้) ท่านจึงแสดงอุบาสกคนหนึ่ง ว่าเป็นไวยาวัจจกรของภิกษุทั้งหลาย เขาจึงมอบเงินแก่ไวยาวัจจกรแล้วแจ้งให้ท่านทราบ ท่านก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจจกร แม้จะได้รับคำเตือนจากมหาอำมาตย์ซึ่งส่งทูตมา ขอให้ใช้ผ้านั้นเป็นครั้งที่ ๒ ก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจจกร จนกระทั่งได้รับคำเตือนเป็นครั้งที่ ๓ ขอให้ใช้ผ้านั้น จึงไปเร่งเร้าเอากับไวยาวัจจกรผู้กำลังมีธุระ จะต้องเข้าประชุมสภานิคม ซึ่งมีกติกาว่า ใครไปช้าจะต้องถูกปรับ ๕๐ (กหาปณะ) แม้เขาจะแจ้งให้ทราบกติกา ก็ไม่ฟัง คงเร่งเราเอาจนเขาต้องไปซื้อผ้ามาให้ และไปถูกปรับเพราะเข้าประชุมช้า.
คนทั้งหลายจึงติเตียนว่าทำให้เขาต้องเสียค่าปรับ. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ติเตียนแล้ว บัญญัติสิกขาบท ความว่า ถ้าเขาส่งทูตมาถวายค่าซื้อจีวร และเธอแสดงไวยาวัจจกรแล้ว เธอจะไปทวงจีวรเอากับไวยาวัจจกรได้ไม่เกิน ๓ ครั้ง ไปยืนนิ่ง ๆ ให้เขาเห็นไม่เกิน ๖ ครั้ง ถ้าทวงเกิน ๓ ครั้ง หรือไปยืนเกิน ๖ ครั้ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์.
- ห้ามเก็บจีวรที่เกินจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
- ห้ามอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง
- ห้ามเก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด
- ห้ามใช้นางภิกษุณีซักผ้า
- ห้ามรับจีวรจากมือของนางภิกษุณี
- ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติ
- ห้ามรับจีวรเกินกำหนด เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
- ห้ามพูดให้เขาซื้อจีวรที่ดี ๆ กว่าที่เขากำหนดไว้เดิมถวาย
- ห้ามไปพูดให้เขารวมกันซื้อจีวรที่ดี ๆ ถวาย
- ห้ามทวงจีวรเอาแก่คนที่รับฝากผู้อื่น เพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
นิสสัคคิยกัณฑ์
โกสิยวรรค
ปัตตวรรค
เตรสกัณฑ์
ปาจิตติยกัณฑ์
โอวาทวรรค
โภชนวรรค
อเจลกวรรค
สุราปานวรรค
สัปปาณกวรรค
สหธัมมิกวรรค
รตนวรรค
ปาฏิเทสนียกัณฑ์
เสขิยกัณฑ์
สารูป
โภชนปฏิสังยุต
ธัมมเทสนาปฏิสังยุต
ปกิณณกะ
พระวินัยเล่มที่ ๑
พระวินัยเล่มที่ ๒
พระวินัยเล่มที่ ๓
พระวินัยเล่มที่ ๔
พระวินัยเล่มที่ ๕
พระวินัยเล่มที่ ๖
พระวินัยเล่มที่ ๗
พระวินัยเล่มที่ ๘