ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
บุคคลเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ว่าหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น อย่างไร
๑.บุคคลเมื่อหายใจออกสั้น ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย
๒.เมื่อหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย
๓.เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจออกบ้างหายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุเมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้น หายใจออกบ้างหายใจ เข้าบ้าง ในขณะที่นับได้นิดหน่อย
๔.เมื่อหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถ ฉันทะ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับ ได้นิดหน่อย
๕.เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถ ฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้ นิดหน่อย
๖.เมื่อหายใจออก หายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออกบ้างหายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้หาย ใจออกหายใจเข้าละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ หายใจออกบ้างหายใจเข้า ข้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย
๗.เมื่อหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะ ที่นับได้นิดหน่อย
๘.เมื่อหายใจเข้าสั้นด้วยละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้า ในขณะที่นับได้นิดหน่อย
๙.เมื่อหายใจออก หายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้าง ในขณะที่นับได้นิดหน่อย จิตของภิกษุเมื่อหายใจออก หายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยความสามารถปราโมทย์ หายใจออกบ้าง หายใจเข้า บ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย ย่อมหลีกไปจากลมอัสสาสะ ปัสสาสะสั้น อุเบกขา ย่อมตั้งอยู่ กายคือลมหายใจออกหายใจเข้าสั้นด้วยอาการ ๙ เหล่านี้ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ มิใช้สติ สติปรากฏด้วยตัวสติด้วย บุคคล พิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพระาเหตุดังนี้นท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณากายในกาย