ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นอย่างไร
พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง พิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาโดยความเป็นสุข พิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดีย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืนไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณา โดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายความกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ราคะดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างนี้
บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงกายใจเข้าอย่างไร
กาย หรือ กาโย มี ๒ คือ ๑. นามกาย ๒. รูปกาย นามกาย คือ เวทนา สัญญา เจตนา มนสิการ เป็นนามกายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่าเป็น เป็นนามกาย
รูปกายคือ มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ รูปที่อาศัยอุปาทายรูป หรือรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ นิมิต ท่านกล่าวว่า กายสังขารที่เนื่องภัยนี้ เป็นรูปกาย
กายเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างไร
๑.เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว
สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้น ย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
๒.เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อม
ตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญานนั้น
๓.เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถหายใจออกสั้น
๔.เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถหายใจเข้าสั้น
๕.เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ
เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิฐานจิต เมื่อใจเชื่อด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อตั้งสติมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น เมื่อรู้ด้วยปัญญา เมื่อรู้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ความกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างนี้ กายคือ ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจออก หายใจเข้าปรากฏ สติเป็นอนุวิปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช้สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย