ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
ยุคนัทธวรรค สุญกถา
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านถนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์
ได้เข้าไปเผ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระผู้มีพระภาค นั่ง ฯ
ที่ควารส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระองค์ตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูกรอานนท์ อะไรเล่าสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
ดูกรอานนท์ จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูปสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จักษุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จักษุสัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย
ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะฉะนั้น เราจึง ว่า โลกสูญ ฯ
สิ่งที่สูญ สูญ สังขารสูญ วิปริณามธรรมสูญ อัคคบทสูญ ลักษณะสูญ วิกขัมภนสูญ ตทังคสูญ สมุจเฉทสูญ ปฏิปัสสสัทธิสูญ นิสสรณะสูญ ภายในสูญ ภายนอกสูญ ทั้งปวงภายในและภายนอกสูญ ส่วนที่เสมอกันสูญ ส่วนที่ไม่เสมอกันสูญ ความแสวงหาสูญ ความกำหนดสูญ ความได้เฉพาะสูญ การแทงตลอดสูญ ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญ ความอดทนสูญ ความอธิษฐานสูญ ความมั่นคงสูญ การครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชาบุคคลสูญ มีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฯ
สิ่งที่สูญเป็นไฉน จักษุสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา สูญ ฯลฯ จมูกสูญ ลิ้นสูญ กายสูญ ใจสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี่สิ่งที่สูญสูญ
สังขารสูญ เป็นไฉน สังขาร ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร เนญชาภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร สูญจากอปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร สูญจากปุญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขารนี้สังขาร ๓
สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร กายสังขารสูญจากวจี สังขารและจิตสังขาร วจีสังขารสูญจากกายสังขารและจิตสังขาร จิตสังขารสูญจากกายสังขารและวจีสังขาร นี้สังขาร ๓ฯ
สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ สังขารส่วนอดีต สังขารส่วนอนาคต สังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนอดีตสูญจากสังขารส่วนอนาคต และสังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนอนาคตสูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนปัจจุบันจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต นี้สังขาร ๓ นี้สังขารสูญ ฯ
วิปริณามธรรมสูญเป็นไฉน รูปเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ รูปหายไป แปรปรวนไปและสูญไปเวทนาเกิดแล้ว ฯลฯ สัญญาเกิดขึ้นแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯลฯ ภพเกิดแล้ว สูญไปจากสภาพ ภพหายไป แปรปรวนไปและดับสูญไป นี้วิปริณามธรรมสูญ ฯ
อัคคบทสูญเป็นไฉน บทนี้ คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส ความดับ นิพพาน เป็นบทเลิศ เป็นบทประเสริฐ เป็นบทวิเศษ นี้อัคคบทสูญ ฯ
ลักษณะสูญเป็นไฉน ลักษณะ ๒ คือพาลลักษณะ ๑ บัณฑิตลักษณะ ๑ พวกลักษณะสูญจากบัณฑิตลักษณะ บัณฑิตลักษณะ สูญจากพลลักษณะ ลักษณะ ๓ คือ อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น )
วยลักษณะ (ลักาณะความเสื่อมไป) ฐิตัญญถัตตลักขณะ (ลักษณเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป) อุปปาทลักษณะสูญจาวยลักษณะ และฐิตัญญะถัตตะลักษณะ วยลัษณะสูญจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ
ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งรูป สูญจากลักษณะความเสื่อมไป และจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความเสื่อมไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความเกิดขึ้น และจากลักษณะควมเสือมไปลักษณะความเกิดขึ้นแห่งเวทนา สัญญษ สังขาร วิญญษณ จัก ฯลฯ ชรามรณะ สูญจากลักษณะความเกิดขึ้น และจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากความลักษณะควาเสื่อมไป นี้ลักษณะสูญ
วิขัมภนสูญ เป็นไฉน กามฉันทอันเนกขัมมะข่มแล้วและสูญไป พยายาทอันความพยาบาทข่มแล้วและสูญไปถีนมิทธอันอาโลกสัญญาข่มแล้วและสูญไป อวิชชาอันญาณข่มแล้วและสูญไป อริตอันความปราโมทย์ข่มแล้วและสูญไป นิวรณ์อันปฐมฌานข่มแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลศทั้งปวงอันอรหันตมรรคข่มแล้วและสูญไป นี้ วิขัมภนสูญ
ตทังคะสูญเป็นไฉน กามฉันทเป็นตทังคะสูญ (สูญเพราะองค์นั้นๆ ) เพราะเนกขัมมะ
นิวรณ์เป็นตทังคะเพราะปฐมฌาน ฯลฯ ความถือผิดเพราะกิเลสเครื่องประกอบไว้
เป็นตทังคสูญเพราะวิวัฏนานุปันานี้ตทังคสูญฯ
สมุจเฉทสูญเป็นไฉน
กามฉันทอันเนกขัมมะตัดแล้วสูญไป
นิวรณ์อันปฐมฌานระงับแล้วและสูญไป ฯลฯ
กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคระงับแล้วสูญไป ปฏิปัสสัทธิสูญ
นิสสรณะสูญเป็นไฉน กามฉันทอันเนกขัมมะสลัดออกแล้วและสูญไป นิวรณ์อันปฐมฌานสลัดออกแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปงอันอรหัตมรรคสลัดออกแล้วและสูญไป นี้นิสรณะสูญ
ภายในสูญเป็นไฉน จักษุายในสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยงความยั่งยืน ความมั่นคง และความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูภายใน ฯลฯ จมูกภายใน ลิ้นภายใน กายภายใน ใจภายในสูญจากตน จากสิ่งที่เน่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคงและจากไความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายในสูญ
ทั้งภายในและภายนอกสูญเป็นไฉน จักษุภายในและรูปภายนอก ทั้งสองนั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูภายในและเสียงภายนอก ฯลฯ จมูกภายในและลิ้นภายนอก ลิ้นภายในรสภายนอก กายภายในและโผฏฐัพพะภายนอก ภายในและธรรมมารมณ์ภายนอก ทั้งสองนั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคงและความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ทั้งภายในและภายนอกสูญ
ส่วนเสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนเสมอกันและสูญไป อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ หมวดเวทนา ๖ .หมวดสัญญา ๖ หมวดเจตนา ๖ ..เป็นส่วนเสมอกันและสูญไป นี้ส่วนเสมอกันสูญ
ส่วนไม่เสมอกันสูญเป็นไฉนอายตนะภายใน๖ ..เป็นส่วนไม่เสมอกันกับอายตนะภายนอก ๖ และสูญไป อายตนะภายนอก ๖ .เป็นส่วนไม่เสมอกันกับส่วนวิญญาณ ๖ และสูญไป หมดววิญญาณ ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกับผัสสะ ๖ และสูญไป หมวดผัสสะ ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับเวทนา ๖ และสูญไป หมวดเวทนา ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดสัญญา ๖ และสูญไป หมวดสัญญา ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดเจตนา ๖ และสูญไป ส่วนไม่เสมอกันสูญ
ความแสวงหาสูญเป็นไฉน ความแสวงหาสูญจากเนกขัมมสูญจากกามฉันทะ ความแสวงหาความพยาบาทสูญจากพยาบาท ความแสวงอาโลกสัญญาสูญจาถีนมิทธะ ความแสวงหาความไม่ฟุ้งซ่านสูญจากอุทธัจจความแสวงหาการกำหนดธรรมสูญจาวิจิกิจฉา ความแสวงหาฌานสูญจากอวิชชา ความแสวงหาปฐมฌานสูญจากนิวรณ์ ฯลฯ ความแสวงหาอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความแสวงหาสูญ
ความกำหนดสูญเป็นไฉน ความกำหนดเนกขัมมะสูญจากกามฉันทะ ฯลฯ ความกำหนดอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความกำหนดสูญ
ความได้เฉพาะสูญเป็นไฉน ความได้เนกขัมมะสูญจากกามฉันทะ ฯลฯ ความได้อรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง
การแทงตลอดสูญเป็นไฉน การแทงตลอดสูญจากกามฉันทะ ฯลฯ การแทงตลอดอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้การแทงตลอดสูญ
ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญเป็นไฉน กามฉันทะเป็นความต่าง เนกขัมมะเป็นอยู่เดียว ความที่เนกขัมมะเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกามฉันทความพยาบาทเป็นความว่าง ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียวความที่ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียวของผู้คิดอยู่ สูญจากความพยาบาท ถีนมิทธเป็นความต่าง อาโลกสัญญาเป็นอย่างดียว ความทีอาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากถีนมิทธะ อุทธัจจะเป็นควมต่าง วิกิจฉาเป็นความต่าง อวิชชาเป็นความต่าง อรติเป็นความต่าง นิวรณ์เป็นควมต่าง ปฐมฌานเป็นอย่างเดียว ความที่ปฐมฌานเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่สูญจากนิวรณ์ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นความว่าง อรหัตมรรคเป็นอย่างเดียว ความที่อรหัตมรรคเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้เป็นความอย่างเดียวสูญ ความต่างสูญ
ความอดทนสูญเป็นไฉน ความอดทนเนกขัมมะสูญจากกามฉันท ฯลฯ ความอดทนในอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความอดทนสูญ
ความอธิฐานสูญเป็นไฉน ความอธิฐานในเนกขัมมะสูญจากกามฉันท ฯลฯ ความอธิฐานในอรหัตมรรคสูญจากิเลสทั้งปวง นี้เป็นความอธิฐานสูญ
ความมั่นคงสูญเป็นไฉน ความมั่นคงแห่งเนกขัมมะสูญจากกามฉันท ฯลฯ ความมั่นคงแห่งอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความมั่นคงสูญ
การครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญมีประโยชน์ยิ่งกับความสูญทั้งปวงเป็นไฉน สัมปชานบุคคลครอบงำความเป็นไปแห่งกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ครอบงำความเป็ไปแห่งพยาบาท ด้วยความไม่พยาบาท ครอบงำความเป็นไปแห่งถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ความครอบงำแห่งอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซานความครอบงำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม ครอบงำความเป็นไปแห่งอวิชชาด้วยฌาน ความครอบงำความเป็นไปแห่งอรติด้วยปราโมทย์ ความครอบงำเป็นไปแห่งนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ครอบงำกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค
อีกประการหนึ่ง เมื่อสัมปชานบุคคลปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาติ ความเป็นไปแห่งจักษุนี้ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักษุอื่นก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไปแห่งจมูก ความเป็นแห่งลิ้น ความเป็นไปแห่งกายความเป็นไปแห่งใจนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งใจอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ความครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญมีประโยชน์ อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฉะนี้แล
สุญญตวิหาร
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในพระนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วซึ่งสังขารนิมิตด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า อนิมิตตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในพระนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วซึ่งตัณหาด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตัวตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วซึ่งความถือมั่นตนด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปวิหารธรรมนั้น ชื่อว่า สุญญตวิหาร
สุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิตเพิกความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัตินี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัยมีจิตนอมไปในนิพพานอันว่างจากตน เพิกเฉยความเป็นไปแล้วคำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ
สุญญตวิหารสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิต โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิตถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไแแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัตินี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิติวาหรสมาบิต พิจาณาเห็นความถือมั่นว่าตน โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่า ว่างจากตน แล้วเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ
สุญญตวิหาร
พระโยคาวจารพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีรูปนิมิต ถูกต้อแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า สุญญตะวิหาร ฯ
สุญญตสมาบัติ
พระโยควจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบิต นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพาานอันไม่มีที่ตั้งเพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นื้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่าเปล่า เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่า เปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ
สุญญตวิหารสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยควมเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับสนิทไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัยมีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ ฯ
สุญญตวิหาร
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิต โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อนิมิตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชรามรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่ว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ยอมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ ชื่อว่า สุญญตวิหารฯ
สุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณษเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมาณะ โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่เป็นที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิสมาบัติ พิจาณาความถือมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ
สุญญตวิหารสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณนิมิตโดยความเป็นภัย
มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิตถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป
เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ
นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ
พิจารณษเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย
มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป
เพิกเฉยความเป็นไปแล้วคำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง
แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
พิจารณาเห็นความยึดมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า
ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว
คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ
นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง
อัปปณิหิวิหารเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง
อนิมิตตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง
อนิมิตตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง
สุญญติวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง ฯ
สุญญตะ
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพานเพื่อลทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอภัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพล หิริพละ โอตตัปปะ กายปัสสิทธิ จิตตปัสสัทธิ จิตตปัสสธิ ายลหุตา จิตตลหุตา กายมุหุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถุ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ฯ
สภาธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฝเานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาธรรมเล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
สุญณตวิโมกข์เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความเป็นตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องดวยตัวตน เธอย่อมไม่ทำความยึดมั่นในนามรูปนั้นเพราะเหตุนั้นวิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ว่างเปล่า นี้เป็นสุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความเป็นตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องดวยตัวตน เธอย่อมไม่ทำกำหนดหมายในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้นวิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ไม่มีเครื่องกำหนดหมาย นี้เป็นอนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความเป็นตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องดวยตัวตน เธอย่อมไม่ทำความปรารถนาในนามรูปนั้นเพราะเหตุนั้นวิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ไม่มีความปรารถนา นี้เป็นอัปปณิตตวิโมกข์
สุญญตมูลกปฏิปทา
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคายจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องหมายออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานชนิดสุญญตะเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น กุศล
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคายจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องหมายออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานชนิดสุญญตะเป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น กุศล
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคายจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องหมายออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานชนิดสุญญตะเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น กุศล
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคายจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องหมายออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานชนิดสุญญตะเป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น กุศล
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคายจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องหมายออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุตยภูมิ ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญมฌาน ชนิดสุญญตุ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตุ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล