ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

สมถะวิปัสสนา

มหาสูญตา

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ในสักกชนบท ครั้งนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งสบง ทรงบาตและจีวรแล้ว เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ยังพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับมาแล้วจากบิณฑบาตรภายหลังเวลาพระกระยาหาร จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของพระเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เพื่อทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน สมัยนั้นแล ในวิหารของพระเจ้ากาลเขมกศากยะ มีเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกัน พระผู้มีพระภาคทอดพระเจตรเห็นเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากแล้วจึงมีพระดำริดังนี้ว่า ในวิหารของพระเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นี่มีภิกษุอยู่มากมายหรือหนอแล ฯ

สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์กับภิกษุมากรูป ทำจีวรกรรมอยู่ในวิหารของพระเจ้าคตายะ ศากยะครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ทรงหลีกเร้นอยู่แล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าคตายะ ศากยะ แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ในวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นั่นมีภิกษุอยู่มากมายหรือ ฯ

ท่านพระอานนท์ทูลว่า มากมายพระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จีวรกาลสมัยของพวกข้าพระองค์กำลังดำเนินอยู่ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่ ย่อมไม่งามเลย ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกั ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอ จักเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความเข้าไปตรัสรู้ ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจาหมู่อยู่ พึงหวังเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก นั้นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ข้อทุภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอ จักบรรลุเจโตวิมุตติอันน่าปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั้นไม่ใช่ฐานะที่มีได ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่พึงหวังบรรลุเจโตวิมุตติอันน่าปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

ดูกรอานนท์ เราไม่พิจารณาเห็นแม้รูปอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ไม่เกิด โสก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เพราะความแปรปรวนและความเป็นอย่างอื่นของรูป ตามที่เขากำหนัดกันอย่างยิ่งซึ่งบุคคลกำหนดแล้ว ฯ

ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ ใน ที่นั้นๆ นี้แล คือ ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุ ภิกษุนี อาบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปวิเวก โน้มไปในวิเวก โดนไปในวิเวก หลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้ ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังอยู่ว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้สงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งจิตอยู่ภายในให้มั่นเถิด ฯ

ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑.สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมเข้าปฐมฌานมีวิตกมีวิจารมีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

๒.เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้นอยู่ เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ

๓.เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญอยู่และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข อยู่ ฯ

๔.เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ฯ

ภิกษุนั้นย่อมใส่ความว่างใจภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใสยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้นภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่า วางภายใน ด้วยอาการอย่างนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ

ภิกษุย่อมใส่ใจความว่างภายนอก……….
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก………..

ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใสยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในเนญชสมาบิต ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้

ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงค์จิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมชาติ เอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล เธอย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แลย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้

ภิกษุย่อมใส่ใจความว่างภายนอก
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก

ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอใส่ใจอาเนญชสมาบัติจิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบิต จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัว ในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ

ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่ อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลากคืออภิชฌาและโทมนัสจักไม่ครอบงำเราผู้ยืนอยู่อย่างนี้ได้แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ แลเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมอย่างนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัสจักไม่ครอบงำเราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนอน ฯ

หากว่าภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด เธอย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่พูดเรื่องราวเห็นปานนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม เป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่เรื่องของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องพระราชาบ้าง เรื่องโจรบ้างเรื่องมหาอำมาตย์บ้าง เรื่องกองทัพบ้าง เรื่องภัยบ้าง เรื่องรบกันบ้าง เรื่องข้าวบ้าง เรื่องน้ำบ้าง เรื่องผ้าบ้าง เรื่องที่นอนบ้าง เรื่องดอกไม้บ้าง เรื่องของหอมบ้าง เรื่องญาติบ้าง เรื่องยานบ้าง เรื่องนิคมบ้าง เรื่องชนบทบ้าง เรื่องสรตีบ้าง เรื่องคนกล้าหาญบ้าง เรื่องของหอมบ้าง เรื่องโลกบ้าง เรื่องทะเลบ้าง เรื่องความเจริญและเร่องความเสื่อมด้วยเหตุนั้นเหตุนี้บ้าง ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด และเธอใส่ใจอย่างนี้ว่า เราจักพูดเรื่องเห็นปานนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางในเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างเดียว เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของตนเอง เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตตญาณทัสนะด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด ฯ
หากว่าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะตรึก เธอย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานฉะนั้น ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกด้วยอาการอย่างนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกในเรื่องการตรึก และเธอใส่ใจว่า เราจักตรึกในวิตกเห็นปานนี้ ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะเป็นเครื่องนำออก ที่นำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก ด้วยอาการอย่างนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในการตรึก ฯ

ดูกรอานนท์ กามคุณ ๕ อย่างนี้แล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ด้วยโสต……..กลิ่นที่รู้ด้วยฆานะ……รสที่รู้ด้วยชิวหา……..โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรอานนท์ นี้แล กามคุณ ๕ อย่าง ซึ่งเป็นที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ อย่างนี้ว่า มีอยู่หรือหนอแล ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เรา เพราะกามคุณ ๕ อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง ดูกรอานนท์ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แล ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เรายังละไม่ได้แล้ว แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ไม่มีเลยความฟุ้งซ่านแห่งใจที่เกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เราละได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕ ฯ

ดูกรอานนท์ อุปาทานขันธ์นี้แล ซึ่งเป็นที่ภิกษุพึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดอยู่และความดับอยู่ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดังแห่งรูปอย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละอัสมิมานะในอุปาทานขัน ๕ ได้ ด้วยอาการนี้แลเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕

ดูกรอานนท์ ธรรมนั้นๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียวไกลจากข้าศึก เป็นโลกุตตะ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้ ดูกรอานนท์ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สาวกมองเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรใกล้ชิดติดตามศาสดา ฯ

ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นเหตุ มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบอย่าง มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย ขอได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า เนื้อความแห่งภาษิตนี้ แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้
พ. ดูกรอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟังสุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันพวกเธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น เป็นเวลานาน ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดพระศาสดาติดตามเพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือเรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ฯ

ดูกรอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น จะมีอุปัททวะของอาจารย์ อุปัททวะของศิษย์ อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูกรอานนท์ ศาสดาบางท่านในโลกนี้ ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โนไม้ ภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและล้อมฟาง เมื่อศาสดานั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ศาสดานั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ ศาสดานี้เรียกว่า อาจารย์ผู้มีปัททวะ ด้วยอุปัททวะของอาจารย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติชรามรณะต่อไป ได้ฆ่าศาสดานั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้ ฯ

ดูกรอานนท์ อุปัททวะของศิษย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูกรอานนท์ สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือป่า โดนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และที่ล้อมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์ และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ สาวกนี้ เรียกว่า ศิษย์มีอุปัททวะด้วยอุปัททวะของศิษย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกคนนั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของศิษย์ย่อมมีได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูกรอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีคนอื่นยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่น เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และที่ล้อมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคาและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนาอย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวายไม่เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั่นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามตถาคตผู้ศาสดานั่นแล ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือป่า โนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและล้อมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างอยู่นั้นพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคาและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนาอย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวายไม่เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีอุปัททวะด้วยอุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นที่ตั้ง เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได ฯ

ดูกรอานนท์ ใจอุปัททวะทั้ง ๓ นั้น อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ นี้มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัททวะของอาจารย์และอุปัททวะของศิษย์ ทั้งเป็นไปเพื่อความตกต่ำด้วย ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาล

ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร ไร ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดู แสดงธรรมแก่เหล่าสาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้นไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับด้วยดี ไม่ตั้งจิตรับรู้และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตร ฯ

ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอเหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตฟัง ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนศาสดา ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ฯ

ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอ เหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบๆ อยู่ เราจักข่มแล้วจึงบอก จักยกย่องแล้วๆ จึงบอก ผู้ใดไม่มีแก่นสาร ผู้นั้นจักตั้งอยู่ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

<< ย้อนกลับ | สารบัญ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย