ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
เจโตปริญาณ
ปัญญาหาในการกำหนดจริยา คือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท และด้วยความสามารถผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเจโตปริยญาณอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่ง ด้วยฉันทและสังขารอันเป็นประธาน ครั้นแล้วย่อมรู้อย่างนี้ว่ารูปนี้เกิดขึ้นได้ด้วย โสมนัสอินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโทมนัสอินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยอุเบกขินทรีย์ ภิกษุนั้นมีจิตอันอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ
เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นและบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือ จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ๋าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น จิตน้อมไปก็รู้ว่าจิตน้อมไปหรือจิตไม่น้อมไปก็รู้ว่าจิตไม่น้อมไป
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการกำหนดจริยา คือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต สามประเภท และด้วยความสามารถความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น เจโตปริญาณ