สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
โดย : คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
หมวด ๑๐
ศาล
-----------------------------------------
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป
ส่วนที่ ๒ ศาลยุติธรรม
ส่วนที่ ๓ ศาลปกครอง
ส่วนที่ ๔ ศาลทหาร
หมวด ๑๐ ศาล
ส่วนที่ ๒
ศาลยุติธรรม
-----------------------------------------
มาตรา ๑๙๔
ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
การจัดตั้ง วิธีพิจารณาคดี
และการดำเนินงานของศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๙๕
ให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา
โดยองค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา
ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจำวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
โดยให้เลือกเป็นรายคดี
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษา
การวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตามวรรคสี่
ให้ดำเนินการโดยองค์คณะของศาลฎีกาซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
หรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่กำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาซึ่งไม่เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อน
และได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจำนวนเก้าคน โดยให้เลือกเป็นรายคดี
และเมื่อองค์คณะของศาลฎีกาดังกล่าวได้วินิจฉัยแล้ว
ให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
ในกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาให้ผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง
หรือคำพิพากษานั้นมีผลให้ผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง ไม่ว่าจะมีการอุทธรณ์ตามวรรคสี่หรือไม่
ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษา
หลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์ตามวรรคสี่
และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคห้า
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มาตรา ๑๙๖
การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับผู้พิพากษาศาลยุติธรรมต้องมีความเป็นอิสระ และดำเนินการโดยคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาล และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ บรรดาที่ได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการไม่เกินสองคน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- หมวด ๑ บททั่วไป
- หมวด ๒ พระมหากษัตริย์
- หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
- หมวด ๔ หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
- หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
- หมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ
- หมวด ๗ รัฐสภา
- หมวด ๘ คณะรัฐมนตรี
- หมวด ๙ การขัดกันแห่งผลประโยชน์
- หมวด ๑๐ ศาล
- หมวด ๑๑ ศาลรัฐธรรมนูญ
- หมวด ๑๒ องค์กรอิสระ
- หมวด ๑๓ องค์กรอัยการ
- หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น
- หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
- หมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
- บทเฉพาะกาล
ประวัติ-ความเป็นมา
รายชื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ
การลงประชามติ
การประกาศใช้
ข้อวิจารณ์