สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ประวัติ-ความเป็นมา
รายชื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ
การลงประชามติ
การประกาศใช้
ข้อวิจารณ์
โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ สืบเนื่องจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ทำให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
โดยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดแรก จำนวน 36 คน ซึ่งสมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานแต่ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการฯ ทำให้มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ จำนวน 21 คน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน โดยนับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ที่ผ่านการออกเสียงประชามติ ต่อจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยได้รับเสียงเห็นชอบท่วมท้นถึง 16.8 ล้านเสียง ต่อเสียงคัดค้าน 10.5 ล้านเสียง
ที่มา : วิกิซอร์ซ ห้องสมุดเสรี
| หน้าถัดไป >>
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- หมวด ๑ บททั่วไป
- หมวด ๒ พระมหากษัตริย์
- หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
- หมวด ๔ หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
- หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
- หมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ
- หมวด ๗ รัฐสภา
- หมวด ๘ คณะรัฐมนตรี
- หมวด ๙ การขัดกันแห่งผลประโยชน์
- หมวด ๑๐ ศาล
- หมวด ๑๑ ศาลรัฐธรรมนูญ
- หมวด ๑๒ องค์กรอิสระ
- หมวด ๑๓ องค์กรอัยการ
- หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น
- หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
- หมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
- บทเฉพาะกาล