สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ประวัติ-ความเป็นมา
รายชื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ
การลงประชามติ
การประกาศใช้
ข้อวิจารณ์
การลงประชามติ
26 มีนาคม พ.ศ. 2559 นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่าคณะกรรมการได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีเนื้อหา 16 หมวด 279 มาตรา29 มีนาคม พ.ศ. 2559 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ แถลงข่าวเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับลงประชามติ) พ.ศ. 2559
7 เมษายน พ.ศ. 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... วาระ 2 และ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่มีพลเอก สมเจตน์ บุญถนอม เป็นประธาน โดยมีสาระสำคัญ คือ เปิดโอกาสให้แสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญได้โดยไม่ปิดกั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยใช้เวลาผ่าน 5 ชั่วโมง และไม่ใช้ลงคะแนนโดยใช้เครื่องลงคะแนน
9 เมษายน พ.ศ. 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้เพิ่มคำถามประชามติว่าจะให้รัฐสภาลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีใน 5 ปีหลังรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ได้หรือไม่
19 เมษายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศกำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันออกเสียงประชามติ
7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญผลออกมาปรากฏว่าร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 15,562,027 คะแนนขณะที่คำถามพ่วงว่าด้วยการกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเลือกนายกรัฐมนตรีภายในระยะเวลา 5 ปีแรกผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 13,969,594 คะแนน
จากนั้น คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญนำร่างรัฐธรรมนูญไปปรับปรุงในบางมาตราและในบทเฉพาะกาลเพื่อให้เข้ากับคำถามพ่วงเป็นเวลา 30 วันหลังจากนั้นเมื่อปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้วคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะทำการส่งร่างกลับคืนนายกรัฐมนตรีให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว ทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะได้ทำการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่สำคัญ 4 ฉบับจากทั้งหมด 10 ฉบับได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง
โดยสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศจะได้ส่งความคิดเห็นไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อประกอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จากนั้นจะได้ส่งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ฉบับ โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 8 เดือนหรือ 240 วัน จากนั้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะได้ทำการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีก 6 ฉบับจนครบ 10 ฉบับเพื่อจะเข้าสู่การเลือกตั้งในช่วงปลายปี พ.ศ. 2560 หรือต้นปี พ.ศ. 2561
ที่มา : วิกิซอร์ซ ห้องสมุดเสรี
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- หมวด ๑ บททั่วไป
- หมวด ๒ พระมหากษัตริย์
- หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
- หมวด ๔ หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
- หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
- หมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ
- หมวด ๗ รัฐสภา
- หมวด ๘ คณะรัฐมนตรี
- หมวด ๙ การขัดกันแห่งผลประโยชน์
- หมวด ๑๐ ศาล
- หมวด ๑๑ ศาลรัฐธรรมนูญ
- หมวด ๑๒ องค์กรอิสระ
- หมวด ๑๓ องค์กรอัยการ
- หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น
- หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
- หมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
- บทเฉพาะกาล