ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก

๙. คำอธิบายพระไตรปิฎกอย่างย่อของพระอรรถกถาจารย์

ได้ทราบมาแล้วว่า คำอธิบายพระไตรปิฎก เรียกว่า อรรถกถา จึงควรทราบต่อไปว่า ท่านผู้แต่งตำราอรรถกถานั้น เรียกกันว่า พระอรรถกถาจารย์ เฉพาะคำว่า พระไตรปิฎกนี้ มีคำอธิบายย่อ ๆ ของพระอรรถกถาจารย์ไว้ ดังนี้ :-

๑. เทศนา

๑. วินัยปิฎก เป็น อาณาเทศนา คือ การแสดงธรรมในลักษณะตั้งเป็น ข้อบังคับโดยส่วนใหญ่
๒. สุตตันตปิฎก เป็น โวหารเทศนา คือ การแสดงธรรมยักย้ายสำนวนให้เหมาะสมแก่จริตอัธยาศัยของผู้ฟัง
๓. อภิธรรมปิฎก เป็น ปรมัตถเทศนา คือ การแสดงธรรมเจาะจงเฉพาะประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูงไม่เกี่ยวด้วยท้องเรื่องหรือโวหาร

๒. สาสนะ

๑. วินัยปิฎก เป็น ยถาปราธสาสนะ คือ การสอนตามความผิด หรือโทษชนิดต่าง ๆ ที่พึงเว้น
๒. สุตตันตปิฎก เป็น ยถานุโลมสาสนะ คือ การสอนโดยอนุโลมแก่จริตอัธยาศัยของผู้ฟัง ซึ่งมีต่าง ๆ กัน
๓. อภิธรรมปิฎก เป็น ยถาธัมมสาสนะ คือ การสอนตามเนื้อหาแท้ ๆ ของธรรม

๓. กถา

๑. วินัยปิฎก เป็น สังวราสังวรกถา คือ ถ้อยคำที่ว่าด้วยความสำรวม และไม่สำรวม
๒. สุตตันตปิฎก เป็น ทิฏฐิวินิเวฐนกถา คือ ถ้อยคำที่สอนให้ผ่อนคลาย
๓. อภิธรรมปิฎก เป็น นามรูปปริจเฉทกถา คือ ถ้อยคำที่สอนให้กำหนดนามรูป ได้แก่ ร่างกายและจิตใจ

๔. สิกขา

๑. วินัยปิฎก เป็น อธิศีลสิกขา คือ ข้อศึกษาเกี่ยวกับศีลชั้นสูง
๒. สุตตันตปิฎก เป็น อธิจิตตสิกขา คือ ข้อศึกษาเกี่ยวกับสมาธิชั้นสูง
๓. อภิธรรมปิฎก เป็น อธิปัญญาสิกขา คือ ข้อศึกษาเกี่ยวกับปัญญาชั้นสูง

๕. ปหาน
๑. วินัยปิฎก เป็น วีติกกมปหาน คือ เครื่องละกิเลสอย่างหยาบ ที่เป็นเหตุให้ล่วงละเมิดศีล
๒. สุตตันตปิฎก เป็น ปริยุฏฐานปหาน คือ เครื่องละกิเลสอย่างกลาง อันรัดรึง ได้แก่ นิวรณ์คือกิเลสอันกั้นจิตมิให้เป็นสมาธิ
๓. อภิธรรมปิฎก เป็น อนุสยปหาน คือ เครื่องละกิเลสอย่างละเอียด อันได้แก่กิเลสที่นอนอยู่ในสันดาน เหมือนตะกอนนอนก้นตุ่ม ไม่มีอะไรมากวนก็ไม่แสดงตัวออกมา

๑. ความหมายของพระไตรปิฎก
๒. ประเภทของพระไตรปิฎก
๓. ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
๔. พระเถระที่เกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎก
๕. การสังคายนาเป็นเหตุให้เกิดพระไตรปิฎก
๖. การสวดปาติโมกข์ต่างจากการสังคายนา
๗. การนับครั้งในการทำสังคายนา
๘. ลำดับอาจารย์ผู้ทรงจำพระไตรปิฎก
๙. คำอธิบายพระไตรปิฎกอย่างย่อของพระอรรถกถาจารย์
๑๐. ประวัติพระอรรถกถาจารย์
๑๑. การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
๑๒. พระมหากษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระวินัยปิฎก
» ความหมาย การเรียกชื่อย่อ การจัดหมวดหมู่
» ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

บรรณานุกรม

  • กลุ่มวิชาการพระพุทธศาสนาและจริยศึกษา กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.
  • อธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๑.
  • กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
  • พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๓.
  • พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิกจำกัด, ๒๕๓๙.
  • พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
  • _______________. พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
  • พระอมรมุนี (จับ ฐิตธมฺโม ป. ๙). นำเที่ยวในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
  • สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • เสถียรพงษ์ วรรณปก. คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๓.
  • สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ เปรียญ ๙). พระวินัยแปล. กรุงเทพฯ : หจก. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,๒๕๓๙.
  • อุทัย บุญเย็น. พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โพธิ์เนตร, ๒๕๔๘.
  • Sayagyi U ko Lay. Guide to Tipitaka. Selangor Buddhist Vipassana Meditation Society : Selangor Malaysia, ๒๐๐๐.