ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
๕. การสังคายนาเป็นเหตุให้เกิดพระไตรปิฎก
ได้กล่าวถึงพระเถระที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎกมาแล้วหลายรูป แต่พระไตรปิฎกก็เกิดขึ้นภายหลังที่พระเถระทั้งหลาย ได้ร่วมกันร้อยกรองจัดระเบียบพระพุทธวจนะแล้ว ในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์อยู่ ยังไม่มีการจัดระเบียบหมวดหมู่ ยังไม่มีการจัดเป็นพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก นอกจากมีตัวอย่างการจัดระเบียบวินัยในการสวดปาติโมกข์ลทุกกึ่งเดือน ตามพระพุทธบัญญัติและการจัดระเบียบธรรมในสังคีติสูตรและทสุตตรสูตร
ที่พระสารีบุตรเสนอไว้ กับตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงวิธีจัดระเบียบพระธรรมแก่พระจุนทและพระอานนท์ในปาสาทิกสูตร และสามคามสูตร ดังกล่าวมาแล้วในเบื้องต้น
ในสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าใกล้จะปรินิพพาน ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า
ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น
จะเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว
จึงกำหนดเป็นหลักฐานชี้ชัดได้ว่า ในสมัยของพระพุทธเจ้ายังไม่มีคำว่า พระไตรปิฎก
มีแต่คำว่า ธรรมวินัย คำว่า ไตรปิฎก หรือ ติปิฏก ในภาษาบาลีนั้น
เกิดขึ้นภายหลังที่ทำสังคายนาแล้ว
แต่จะเป็นภายหลังสังคายนาครั้งใดนั้นจะได้กล่าวต่อไป
ถึงอย่างไรก็ตาม แม้คำว่า พระไตรปิฎก จะเกิดในสมัยหลังพุทธปรินิพพาน ก็ไม่ทำให้สิ่งที่บรรจุอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น คลายความสำคัญลงเลย เพราะคำว่า ไตรปิฎก เป็นเพียงภาชนะ คือกระจาดหรือตะกร้าสำหรับใส่ผลไม้สิ่งของเท่านั้น ส่วนตัวผลไม้ที่บรรจุอยู่ในภาชนะกล่าวคือพุทธวจนะ ได้มีมาแล้วในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนา ก็มิได้เก่าคร่ำคร่าหรือหมดยุคสมัยแต่อย่างใดเลย
๑. ความหมายของพระไตรปิฎก
๒. ประเภทของพระไตรปิฎก
๓. ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
๔. พระเถระที่เกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎก
๕. การสังคายนาเป็นเหตุให้เกิดพระไตรปิฎก
๖. การสวดปาติโมกข์ต่างจากการสังคายนา
๗. การนับครั้งในการทำสังคายนา
๘. ลำดับอาจารย์ผู้ทรงจำพระไตรปิฎก
๙. คำอธิบายพระไตรปิฎกอย่างย่อของพระอรรถกถาจารย์
๑๐. ประวัติพระอรรถกถาจารย์
๑๑. การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
๑๒. พระมหากษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระวินัยปิฎก
» ความหมาย การเรียกชื่อย่อ การจัดหมวดหมู่
» ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
บรรณานุกรม
- กลุ่มวิชาการพระพุทธศาสนาและจริยศึกษา กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.
- อธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๑.
- กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
- พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๓.
- พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิกจำกัด, ๒๕๓๙.
- พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
- _______________. พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
- พระอมรมุนี (จับ ฐิตธมฺโม ป. ๙). นำเที่ยวในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
- สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
- เสถียรพงษ์ วรรณปก. คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๓.
- สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ เปรียญ ๙). พระวินัยแปล. กรุงเทพฯ : หจก. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,๒๕๓๙.
- อุทัย บุญเย็น. พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โพธิ์เนตร, ๒๕๔๘.
- Sayagyi U ko Lay. Guide to Tipitaka. Selangor Buddhist Vipassana Meditation Society : Selangor Malaysia, ๒๐๐๐.