เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

การเลี้ยงกวาง

การป้องกันโรค

  • หากวางป่วย ควรแยกออกจากฝูง และปรึกษาสัตวแพทย์
  • ควรแยกวางที่ได้มาใหม่ กักไว้สักระยะหนึ่ง (ประมาณ 1 เดือน) ตรวจดูอาการ
  • รักษาความสะอาดในโรงเรือน รางอาหารและน้ำอย่าให้กวางถูกขังในคอกที่อับชื้นและสกปรกโดยเฉพาะในตอนกลางคืน
  • แหล่งน้ำสะอาดเพื่อป้องกันตัวกลางของพยาธิใบไม้ในตับ
  • ทำการทดสอบวัณโรค (Tuberculin test) ปีละครั้ง

กรมปศุสัตว์ได้นำเข้าพันธุ์กวางจากต่างประเทศ จำนวนรวม 180 ตัว เข้ามาเลี้ยงขยายพันธุ์ โดยนำเข้าชุดแรกเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2538 จำนวน 90 ตัว จากประเทศนิวคาลิโดเนียเป็นกวางพันธุ์รูซ่า (เพศผู้ 6 ตัว เพศเมีย 84 ตัว) นำเข้าขุดที่สองเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2538 จำนวน 90 ตัว จากประเทศออสเตรเลียเป็นกวางพันธุ์รูซ่า 17 ตัว (เพศผู้ 2 เพศเมีย 15 ตัว) กวางแดง 12 ตัว (เพศผู้ 2 เพศเมีย 10 ตัว) กวางฟอลโล 43 ตัว (เพศผู้ 4 ตัว เพศเมีย 39 ตัว) และกวางลูกผสมรูซ่า-กวางป่า 18 ตัว (เพศผู้ 2 ตัว เพศเมีย 16 ตัว) พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนพันธุ์และศึกษาวิจัยเปรียบเทียบสมรรถภาพการผลิตการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ของกวางพันธุ์ต่างๆ ซึ่งขณะนี้ดำเนินการเลี้ยงขยายพันธุ์อยู่ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวางจังหวัดราชบุรี หรือติดต่อสอบถามได้ที่กลุ่มงานสัตว์เล็ก กองบำรุงพันธุ์สัตว์

» การจัดการเลี้ยงกวาง
» ความหนาแน่นในการเลี้ยงกวาง
» การให้อาหารกวาง
» พันธุ์กวาง
» ผลผลิต ราคาจำหน่าย และการตลาด
» การลงทุน
» ข้อจำกัดบางประการ
» โรคที่พบในกวาง
» การป้องกันโรค

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย