เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเพาะเลี้ยงปลาสวาย
เรียบเรียงโดย
ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ, สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ
โรคของปลาสวายและการรักษา
โดยปกติปลาสวายมักจะไม่ค่อยเป็นโรคมากนัก โรคที่พอจะพบได้บ้างคือ
- โรคที่เกิดจากพยาธิ อิ๊ค (Ichthyophthirius sp.)
เกิดได้กับปลาทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จัดว่า
เป็นโรคที่ทำความเสียหายให้แก่ผู้เลี้ยงปลามากที่สุด
เนื่องจากตัวเต็มวัยของพยาธิอยู่ใต้ผิวหนังของปลาและดูดเลือดกินเป็นอาหาร
ปลาที่เป็นโรคชนิดนี้จะปรากฎจุดสีขาวกระจายไปทั่วลำตัว มีเมือกหลุดออกมา
และมีอาการเฉื่อยชา โรคนี้มักเกิดจากการเลี้ยงปลาหนาแน่นมากเกินไป อาหาร คุณภาพ
และปริมาณไม่พอเพียง อุณหภูมิต่ำ ถ้าพบว่า ปลาตัวใดเป็นโรคนี้
ให้รีบใช้ยากำจัดทันที ก็สามารถป้องกันการระบาดของโรคได้
เพราะอิ๊คเข้าทำลายตัวปลาไม่พร้อมกัน
วิธีแก้ไข
ก. แช่ปลาในน้ำยาฟอร์มาลิน (Formalin) เข้มข้น 25 ส่วนในล้านส่วน โดยแช่วันเว้นวัน
ข. แช่ปลาที่เป็นโรคใช้น้ำยาเมททีลีนบลู (Methylene blue) เข้มข้น 200 ส่วนในล้วนส่วน ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วย้ายมาขังไว้ในบ่อที่มีน้ำสะอาดประมาณ 2 - 3 วัน จุดขาว ๆ จะค่อย ๆ หายไปเอง
ค. แช่ปลาในสารละลายไนโตรฟูราโซน ความเข้มข้น 1 กรัมต่อน้ำ 40 ลิตร นานประมาณ 2 - 3 วัน
ง. แช่ปลาในสารละลายออรีโอมัยซิน ความเข้มข้นน 15 มิลลิกรัมต่อน้ำ/ลิตร นานประมาณ 4 วัน
- โรคที่เกิดจากพยาธิ ทริโคตินา Trichodina sp.)
ส่วนมากเป็นกับปลาขนาดเล็ก พยาธิชนิดนี้จะเกาะ อยู่ตามบริเวณลำตัว ครีบ
ซี่เหงือก อาการที่ปรากฎคือ มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบาง ๆ
ปกคลุมบริเวณดังกล่าวทำให้ ปลามีอาการเฉื่อยชา ไม่ค่อยกินอาหารและจะตายในที่สุด
วิธีกำจัดทำได้หลายวิธี เช่น
ก. แช่ปลาในน้ำเกลือเข้มข้น 3% เมื่อปลามีอาการกระวนกระวายแล้วจึงเปลี่ยนน้ำใหม่
ข. แช่ปลาในน้ำยาฟอร์มมาลินเข้มข้น 25 ส่วนในล้านส่วน
ค. แช่ปลาในสารละลายด่างทับทิม 3 ส่วนในล้านส่วน
- โรคท้องบวม เกิดกับปลาสวายทุกชนิด อาการที่ปรากฏคือ
ส่วนท้องของปลาจะบวมออกมาเห็นได้ ชัดเจน
ทำให้ปลามีการเคลื่อนไหวช้าลงและตายในที่สุดเช่นกัน การรักษาที่ได้ผล คือ
การถ่ายน้ำ และใส่เกลือลงในบ่อปลา
- โรคที่เกิดจากพยาธิ แดดทีโลไยรัล (Dactylogyrus sp.)
หรือพวกพยาธิตัวแบน เกิดกับปลาทุกขนาดที่เป็นโรคนี้จะมีอาการหายใจไม่สะดวก
เพราะพยาธิจะเข้าเกาะและทำลายซี่เหงือกปลา การกำจัดทำได้โดยการใช้
น้ำยาฟอร์มาลิน 50 ส่วนในล้านส่วนหรือสารละลายดิพเทอร์เร็กซ์ 0.25
ส่วนในล้านส่วนก็ได้ผลเช่นเดียวกัน และ
การใช้ตัวยาเข้มข้นในระดับนี้หากปลาที่ใส่ลงแช่ในน้ำยามีอาการทุรนทุราย
ควรรีบจับปลาไปปล่อยไว้ในน้ำ ธรรมชาติต่อไป
มิฉะนั้นปลาอาจตายได้โดยทั่วไปจะแช่ไม่เกิน 10 - 15 นาที
ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับน้ำและอุณหภูมิ ของน้ำที่ใส่แช่ หากอุณหภูมิสูง
น้ำมีปริมาณน้อย ก็ต้องใช้ระยะเวลาน้อยกว่านี้
หมายเหตุ อัตราส่วน 1 ส่วนในล้านส่วน หมายถึง น้ำยา 1 ซีซี ต่อปริมาณน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือ 1,000 ลิตร
- โรคหูดเม็ดข้าวสาร
ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีตุ่มสีขาวขุ่นอยู่ตามลำตัวลักษณะคล้ายเม็ดข้าวสาร มักพบใน
กรณีที่มีการปล่อยปลาเลี้ยงอย่างหนาแน่น และการถ่ายเทน้ำไม่สะดวก
ปลาจะมีอาการผอมไม่กินอาหาร และทยอย ตาย
สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเชื้อสปอร์โรซัวขนาดเล็ก
ชนิดของปลาที่มีรายงานว่าเป็นโรคนี้ ได้แก่ ปลาดุก สวาย
โรคหูดข้าวสารในปลาสวาย
การป้องกันและรักษา
- อย่าปล่อยปลาแน่นเกินไป และควรทำการถ่ายเทน้ำในบ่อปลาอย่างสม่ำเสมอ
- ถ้าพบปลาเป็นโรคควรเผาหรือฝังเสีย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค
- เมื่อปลาเป็นโรคแล้วไม่มีทางรักษา
- ถ้านำปลาที่เป็นโรคในขั้นไม่รุนแรงมากมาเลี้ยงในที่ที่มีน้ำถ่ายเทสะดวก และในอัตราที่ไม่หนาแน่นมาก ปลาก็อาจจะหายจากโรคได้เองบางส่วน
»
แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย
»
รูปร่างลักษณะ
»
ลักษณะเพศและการผสมพันธุ์
»
การอนุบาลลูกปลาสวาย
»
การเลี้ยงปลาสวาย
» โรคของปลาสวายและการรักษา
»
คุณค่าทางอาหารของเนื้อปลาสวาย
»
ผลผลิต และต้นทุนการผลิต
»
แนวโน้มของการเลี้ยงปลาสวาย