เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ประมง

การเพาะเลี้ยงปลาสวาย

เรียบเรียงโดย
ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ, สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ

รูปร่างลักษณะ

ปลาสวายมีรูปร่างค่อนข้างเรียวยาว หัวค่อนข้างกว้าง แต่ไม่แบนมากนัก ปากอยู่ต่ำ กว้างทู่ มีตาขนาดเล็ก มีหนวด 2 คู่คือ หนวดขากรรไกรบน 1 คู่ และหนวดขากรรไกรล่าง 1 คู่ ซึ่งหนวดคู่แรกมีความยาวกว่าหนวดคู่ที่ 2 เส้นข้างตัวมีลักษณะเป็นเส้นสมบูรณ์ ส่วนสัดของลำตัวที่สำคัญ ๆ คือ ความยาวสุดของลำตัวประมาณ 4 เท่าครึ่ง ของความยาวส่วนหัว ส่วนความยาวมาตรฐานลำตัวยาวประมาณเกือบ 4 เท่าครึ่งของความกว้างลำตัว ครีบหลังมี ก้านแข็ง 1 ก้าน มีลักษณะฟันเลื่อย และมีก้านแขนง 6 ก้าน มีครีบไขมันขนาดเล็กอยู่ระหว่างครีบหลังและครีบหาง ครีบก้นมีก้านแข็ง 4 ก้าน และก้านแขนง 30-32 ก้าน ครีบหูมีก้านแข็ง 1 ก้าน และก้านแขนง 6 ก้าน ลักษณะภายในที่สำคัญ มีซี่เหงือก 20 ซี่ มีฟันซี่เล็ก ๆ เรียง เป็นแถวบนขากรรไกรบนทั้ง 2 คู่ มีฟันบนเพดานเรียงเป็น 2 แถว ปลาสวายที่แก่เต็มวัยจะมีลำตัวเป็นสีเทาดำบริเวณด้านหลังและมีสีขาวบริเวณตั้งแต่ด้านข้างของลำตัว จากส่วนหน้า ถึงโคนหางขนานไปกับเส้นข้างตัวทั้งด้านบนและด้านล่างทำให้แลดูสวยงามมาก

อนึ่ง ลูกปลาสวายขนาดเล็กมีลักษณะต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกันมากกับลูกปลาเทโพและสังกะวาด ทำให้ยากแก่ การจำแนก และเป็นปัญหาต่อผู้ที่มีอาชีพรวบรวมลูกปลาสวายจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ถึงอย่างไรก็ดีจากผลการศึกษาและค้นคว้าพอสรุปข้อแตกต่างของลูกปลาทั้ง 3 ชนิดได้ดังนี้

ความแตกต่างระหว่างลูกปลาสวาย เทโพ และลูกปลาสังกะวาด

หมายเหตุ จากลักษณะที่แตกต่างดังกล่าวข้างต้น ผู้มีอาชีพรวบรวมลูกปลาสวายสามารถใช้ลักษณะที่แตกต่างที่ สำคัญเป็นหลักในการสังเกตได้ 3 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 2,6 และ 8

» แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย
» รูปร่างลักษณะ
» ลักษณะเพศและการผสมพันธุ์
» การอนุบาลลูกปลาสวาย
» การเลี้ยงปลาสวาย
» โรคของปลาสวายและการรักษา
» คุณค่าทางอาหารของเนื้อปลาสวาย
» ผลผลิต และต้นทุนการผลิต
» แนวโน้มของการเลี้ยงปลาสวาย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย