เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกงาและการดูแลรักษา
แมลงศัตรูงา
งามีแมลงศัตรูที่สำคัญหลายชนิด ทั้งพวกกัดกินใบพวกปากดูดและแมลงที่นำโรคมาสู่ต้นงา ซึ่งแมลงศัตรูที่สำคัญที่เข้าทำลายงาในแต่ละระยะการเจริญเติบโตมีดังนี้
แมลงศัตรูงาที่สำคัญมีลักษณการทำลาย และการป้องกันกำจัด ดังนี้
1. หนอนห่อใบงา
เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของงา
โดยจะเข้าทำลายในทุกส่วนของงาและในทุกระยะการเจริญเติบโตเริ่มตั้งแต่งางอกพ้นผิวดินจนถึงระยะติดดอกออกฝัก
ถ้าทำลายระยะต้นอ่อน ต้นงาจะเหี่ยวแห้งตายหมด
โดยลักษณะการทำลายนั้นตัวหนอนจะชักใยดึงเอาใบที่ส่วนยอดมาห่อหุ้มตัวไว้และกัดกินอยู่ภายใน
แต่ละยอดอาจจะมีตัวหนอน 1-5 ตัวระยะออกดอกจะกินดอกทำให้ดอกร่วง
ส่วนระยะติดฝักจะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในฝัก
การป้องกันกำจัด
- ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น พันธุ์มหาสารคาม 60, ชัยบาดาล นครสวรรค์ บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี 1
- ใช้สารสกัดสะเดาเข้มข้น 50-20 พีพีเอ็ม อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
- ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ โมโนโครโตฟอส (อโซดริน, นูราครอน) คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์) ฉีดพ่นเมื่อพบหนอน 2 ตัวต่อแปลงยาว 1 เมตร เมื่องาอายุ 5, 20 และ 40 วัน
2. หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก
เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของงาและพืชหลายชนิด เช่น ถั่วต่าง ๆ มะเขือ และยาสูบ เป็นต้น
เกษตรกรเรียกหนอนชนิดนี้ว่า "หนอนแก้ว"
สามารถทำความเสียหายให้แก่ต้นงาได้มากและรวดเร็ว
เนื่องจากเป็นหนอนผีเสื้อขนาดใหญ่หนอนจะกัดกินใบงาเหลือแต่ก้านและต้นเห็นได้อย่างชัดเจนโดยทำลายตั้งแต่งาเริ่มแตกใบจริงจนกระทั่งติดดอกออกฝักเมื่อกินใบของต้นหนึ่งหมดก็จะเคลื่อนย้ายไปกินต้นอื่นตัวหนอนชอบหลบอยู่ใต้ใบทำให้สังเกตได้ยากเพราะมีสีเขียวคล้ายต้นงา
การระบาดทำลายของหนอนชนิดนี้จะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงในบางท้องที่และบางฤดูกาลเท่านั้น
การป้องกันกำจัด
- ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น พันธุ์มหาสารคาม 60 ชัยบาดาล นครสวรรค์ บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี 1
- ใช้สารสกัดสะเดาเข้มข้น 100 พีพีเอ็ม อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
- ไม่ทำลายแมลงวันก้นขน ซึ่งเป็นศัตรูธรรมชาติของหนอนผีเสื้อหัวกะโหลก
- ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ เมทามิโดฟอส (ทารารอน) ฉีดพ่น เมื่องพบหนอน 1 ตัว ต่อแถวงายาว 1 เมตร เมื่องาอายุ 5, 20 และ 40 วัน
3. แมลงกินูนเล็ก
แมลงชนิดนี้จะทำความเสียหายให้กับต้นงาได้อย่างรวดเร็ว
การระบาดขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและสภาพพื้นที่
มักทำลายต้นงาในระยะติดฝักในเวลากลางคืนส่วนกลางวันจะหลบอยู่ตามต้นไม้ใหญ่รอบ ๆ
แปลงปลูก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ถ้าพบแมลงกินูนระบาดจะดักจับมาเป็นอาหารหรือจำหน่าย
ซึ่งเป็นวิธีการกำจัดแมลงที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง
การป้องกันกำจัด
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ปลูกงาต้นฤดูฝน (เมษายน-กรกฎาคม)
ควรพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงไว้ก่อนเพราะแมลงชนิดนี้จะเข้าทำลายใบช่วงกลางคืนและกัดกินอย่างรวดเร็ว
โดยใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงที่ใช้ ได้แก่ ไมโนโครโตฟอส (อโซดริน, นูวาครอน)
เมทามิโดฟอส ฉีดพ่นเมื่อพบการทำลายประมาณ 5-7 ครั้ง ทุก 7-10 วัน
4. เพลี้ยจั๊กจั่น
ตัวอ่อนและตัวเต็มวันจะอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบและยอดอ่อนของงา
นอกจากนี้เพลี้ยจั๊กจั่นยังเป็นแมลงพาหะนำโรคยอดฝอยมาสู่งาอีกด้วย
ทำให้งาแสดงอาการยอดแตกเป็นพุ่มฝอยไม่ติดฝัก โดยช่วงที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคคือ
เมื่องามีอายุ 30-60 วัน
การป้องกันกำจัด
ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ เบโนมิล (เซฟวิน) โมโนโครโตฟอส (อะโซดริน)
ฉีดพ่นในระยะก่อนออกดอก 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
5. มวลเขียวข้าว
พบมีการระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกงา โดยเฉพาะการปลูกงาตามหลังข้าว
จะเกิดการระบาดอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เพราะเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของข้าว
ตัวอ่อนฟักใหม่ๆ จะอยู่รวมกลุ่มกันดูดกินน้ำเลี้ยง งาบางต้นจะมีสีดำตลอดบริเวณยอด
เนื่องจากตัวอ่อนของมวนเขียวข้าวรวมตัวกันดูดกินน้ำเลี้ยง
เมื่อมวลโตขึ้นลำตัวขะเปลี่ยนเป็นสีเขียวแล้วจะเริ่มแยกไปดูดกินน้ำเลี้ยงตามต้นอื่น
ๆ ขณะที่งาเริ่มออกดอกและติดฝัก
หากถูกมวนเขียวข้าวทำลายอย่างรุนแรงจะทำให้มีการติดฝักน้อยลง
การป้องกันกำจัด
ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ ไตรอะโซฟอสอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
ฉีดพ่นเมื่องาอายุ 1 เดือน
6. มวนฝิ่น
เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก ตัวอ่อนมีสีเขียว ตัวเต็มวัยมีสีเหลืองหรือน้ำตาลอมดำ
ทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอด ใบอ่อน ดอก และฝักอ่อน
ใบอ่อนที่ถูกทำลายจะมีการเจริญเติบโตช้า ใบที่โตขึ้นมีลักษณะเรียวเล็ก
บิดงอมีสีเหลืองและมีรูโหว่ ทำให้ใบขาดเป็นรูกระจายโดยทั่วไปถ้าทำลายมาก ๆ
ต้นงาจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาได้
การป้องกันกำจัด
- ใช้พันธุ์ต้นทาน เช่น พันธุ์นครสวรรค์และอุบลราชธานี 1
- ใช้สารสกัดสะเดาเข้มข้น 100 พีพีเอ็ม อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน
- ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ ไตรอะโซฟอส (ฮอสตาธิออน) โมโนโครโตฟอส (อะโซดริน) ฉีดพ่นเหมือนการป้องกันกำจัดหนอนห่อใบงา
ข้อควรพิจารณาในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูงา
- แมลงศัตรูงาที่ควรระมัดระวังมากที่สุด คือ หนอนห่อใบงา
ซึ่งจะเข้าทำลายตลอดระยะการปลูก โดยเฉพาะในระยะกล้า ถ้าหนอนทำลายมาก ๆ
งาจะตายได้ รองลงมาคือ หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก
ให้หมั่นตรวจดูแปลงถ้าพบไข่หรือตัวหนอนให้เก็บหรือจับไปทำลาย
เนื่องจากไข่หรือตัวหนอนมีขนาดใหญ่มองเห็นได้ชัดเจน
เป็นวิธีป้องกันที่ดีและประหยัด
- การใช้สารเคมี ควรใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ก่อนใช้ควรตรวจนับจำนวนแมลงศัตรูก่อน
ถ้าพบในปริมาณมากถึงระดับเศรษฐกิจจึงค่อยทำการฉีดพ่นสารเคมี เช่น
พบหนอนห่อใบงาจำนวน 2 ตัว ต่อแถวงายาว 1 เมตร หรือหนอนผีเสื้อหัวกะโหลกจำนวน 1
ตัว ต่อแถวงายาว 1 เมตร จึงใช้สารเคมีฉีดพ่น
เพราะการใช้สารเคมีมากหรือบ่อยครั้งเกินไป
นอกจากจะทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูงาแล้ว
ยังเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตอีกด้วย
- การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูงาที่ดี ควรใช้วิธีผสมผสาน
โดยหมั่นตรวจแปลงงาอยู่เสมอ ใช้วิธีการป้องกันกำจัดโดยวิธีอื่น ๆ
ก่อนถ้าไม่ได้ผลจึงค่อยใช้การป้องกันกำจัดโดยวิธีอื่น ๆ
ก่อนถ้าไม่ได้ผลจึงค่อยใช้การป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี เช่น
ใช้แสงจากหลอดไฟดักผีเสื้อ เก็บไข่หรือจับตัวหนอนมาทำลาย
และจับแมลงที่บริโภคได้มารับประทานเป็นต้น
- ในการใช้สารเคมีให้พิจารณาใช้สารเคมีที่กำจัดแมลงอย่างได้ผลและมีราคาไม่แพงเกินไป อย่าใช้สารเคมีชนิดเดียวติดต่อกันนาน ๆ ควรเปลี่ยนชนิดของสารเคมีบ้างเพื่อป้องกันการดื้อยาของแมลง
»
สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
»
ชนิดพันธุ์งาและแหล่งปลูก
»
ฤดูปลูก
»
วิธีการปลูกงา
»
การเก็บเกี่ยว
»
โรคของงา
» แมลงศัตรูงา
»
การป้องกันกำจัดวัชพืชในแปลงงา