เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

พืชไร่

การปลูกงาและการดูแลรักษา

โรคของงา

1. โรคเน่าดำ

เชื้อสาเหตุ เชื้อรา
ระยะการระบาด โรคนี้ระบาดได้ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว
ลักษณะอาการ ใบเริ่มเหลืองซีดลงกว่าปกติ ต้นจะเหี่ยวยืนต้นตาย รากและลำต้นเน่าสีน้ำตาล เปลือกติดแน่นกับลำต้น ฉีกดูภายในจะกลวงแฟบ บริเวณแผลมีเมล็ดสีดำคล้ายผงถ่านกระจายอยู่ทั่วไป

การป้องกันกำจัด

  1. คลุกเมล็ดด้วยสารเคมีก่อนปลูก ได้แก่ใช้เบนเลท คาเบนดาซิม เดลซีน เอ็ม เอ็กซ์ ในอัตรา 0.1-0.3 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักเมล็ด
  2. เลือกปลูกพันธุ์เมล็ดสีแดง
  3. ปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่เป็นโรคนี้สลับกับการปลูกงา หรือย้ายพื้นที่ปลูก โดยปลูกซ้ำที่เดิมไม่เกิน 3 ปี
  4. ใช้ปุ่ยคอกหรือปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูง
  5. เผาทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค

2. โรคใบไม้และลำต้นเน่า

เชื้อสาเหตุ เชื้อรา
ระยะการระบาด ระบาดทำความเสียหายกับเงาในระยะเติบโตถึงเก็บเกี่ยว
ลักษณะอาการ ใบไม้โดยเฉพาะเมื่อมีความชื้นสูงฝนตกชุก อาการไหม้จะลุกลามสู่ก้านใบ ลำต้น และในที่สุด ทำให้ต้นหักพับ เหี่ยวตาย

การป้องกันกำจัด

  1. ปลูกพันธุ์ต้านทาน เช่น มหาสารคาม 60
  2. ปลูกงาในช่วงที่มีฝนน้อย เช่น ปลายฤดูฝน
  3. อย่าปลูกในระยะชิดมากเกินไป
  4. ปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่เป็นโรคนี้สลับกับการปลูกงา
  5. ใช้สารเคมีพวกแคปเทน หรือไทแรม 0.3 เปอร์เซ็นต์ คลุกเมล็ดก่อนปลูก หรอืใช้ริโดมิลฉีดพ่น 1-2 ครั้ง เมื่อพบการระบาดของโรค

3. โรคเหี่ยวจากแบคทีเรีย

เชื้อสาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย
ระยะการระบาด ระบาดทำความเสียหายกับเงาในระยะเติบโตถึงเก็บเกี่ยว
ลักษณะอาการ ยอดเหี่ยวมีรอยประสีขาวใสเล็ก ๆ กระจายตามความยาวของลำต้น เมื่อผ่าลำต้นตามขวางดูจะมีสีน้ำตาลบริเวณรอยต่อของเปลือกกับแกน เมื่อบีบจะพบน้ำเยิ้มสีขาวขุ่น ต้นงาจะเหี่ยวและยืนต้นตายโดยที่รากยังปกติอยู่

การป้องกันกำจัด

  1. ใช้พันธุ์ต้านทาน ได้แก่ งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1
  2. ไม่ควรใช้สารเคมีเพราะไม่คุ้มทุน

4. โรคยอดฝอย

เชื้อสาเหตุ เชื้อไมโครพลาสมา โดยมีเพลี้ยจั๊กจั่นเป็นแมลงพาหะ
ระยะการระบาด ระบาดกับงาในระยะต้นกล้าถึงระยะเจริญเติบโต
ลักษณะอาการ งาที่เป็นโรคจะชงักการเจริญเติบโต ใบมีขนาดเล็ก ยอดแตกเป็นพุ่มฝอย ดอกเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ายใบ ไม่ติดฝัก

การป้องกันกำจัด

  1. ถอนและเผาทำลายต้นที่เป็นโรค
  2. ปลูกให้เร็วขึ้น และหลีกเลี่ยงการปลูกในช่วงฤดูฝน
  3. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน อโซดริน ไดเมธโรเอท ในอัตรา 40-50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในระยะก่อนออกดอก 1-2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 7-10 วัน
  4. หลีกเลี่ยงการปลูกงาติดต่อกันบริเวณหนึ่งบริเวณใดซ้ำกันหลาย ๆ ปี

» สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
» ชนิดพันธุ์งาและแหล่งปลูก
» ฤดูปลูก
» วิธีการปลูกงา
» การเก็บเกี่ยว
» โรคของงา
» แมลงศัตรูงา
» การป้องกันกำจัดวัชพืชในแปลงงา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย