สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เอกสารประกอบการสอนหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป
วิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และ การเมืองการปกครองของสังคมโลก
สภาพปัจจุบันของสังคมโลก
ปัญหาและการแก้ปัญหาสังคมของโลก
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
การปรับตัวของไทยในสังคมโลก
บรรณานุกรม
การปรับตัวของไทยในสังคมโลก
บทสรุป
ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ อันเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร และความก้าวหน้าด้านการคมนาคม การเปิดเสรีการค้า และการเมือง กระแสโลกาภิวัตน์มีผลกระทบทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
สถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นแรงผลักดันให้สังคมแสวงหาทางออกด้วยวิธีการต่าง ๆ และได้มีนักคิด นักวิชาการต่าง ๆ ได้เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเผชิญวิกฤตโลกหลายยุทธศาสตร์ด้วยกัน เช่น ยุทธศาสตร์พุทธศาสนา ยุทธศาสตร์เศรษฐศาสตร์การเมือง ยุทธศาสตร์วัฒนธรรมชุมชน และยุทธศาสตร์เกษตรยั่งยืนและชุมชนเข้มแข็ง เป็นต้น เพื่อหาทางออกให้กับสังคมไทยในการกอบกู้วิกฤตของชาติด้านต่าง ๆ ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ได้มีนักพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชนก็ได้นำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น และที่สำคัญที่สุดคือเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพัฒนาตามขั้นตอนทฤษฎีใหม่ของพระองค์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ผลิตเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ขั้นที่ 2 รวมกลุ่มเพื่อการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคม และศาสนา ขั้นที่ 3 ร่วมมือกับ องค์กรภายนอกในการทำธุรกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 - 2549) ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทาง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนา 3 ด้าน คือ การสร้างรากฐานสังคมให้เข้มแข็ง ปรับตัวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ รู้เท่าทันโลก และปฏิรูประบบการจัดการสู่ธรรมาภิบาล ซึ่งยุทธศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน เป็นการปรับตัวทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ทั้งนี้โดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อให้ประเทศไทยอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีความเสมอภาคกับนานาประเทศในสังคมโลก
เอกสารอ้างอิง
- เกษม วัฒนชัย. “บทบาทของอุดมศึกษากับสังคมใหม่ และเศรษฐกิจใหม่”. สารประชาสัมพันธ์ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ 10:10(ตุลาคม 2544)
- เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. “มองอนาคต”. ไอเอฟดี. สถาบันอนาคตเพื่อการศึกษา (ไอเอฟดี). ประจำไตรมาสที่ 4. 2541. หน้า 5.
- ข่าวสารทิศทางประเทศไทย, (โครงการ). การพัฒนาอย่างยั่งยืนคำตอบอยู่ในความหลากหลาย : (9).
- คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ, (สำนักงาน). “บทคัดย่อวิสัยทัศน์และทิศทาง แผนพัฒนาฉบับที่ 9”. สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม. สิงหาคม 2543. หน้า 2-6.
- ________ . “บทความพิเศษการพัฒนาอย่างยั่งยืน : (10) คำตอบอยู่ในความหลากหลาย”. มติชนสุดสัปดาห์ 22:1120 (4-10 กุมภาพันธ์ 2545) หน้า 37.
- จุลชีพ ชินวรรณโณ. สู่สหัสวรรษที่ 3 To wards Tne Third Millennium. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542 (ค.ศ.1999).
- ชัยโชค จุลศิริวงศ์ . (2536) ใน 5 ทศวรรษการต่างประเทศของไทยจากความขัดแย้งสู่ความร่วมมือกรุงเทพฯ : พรีสเกล.
- เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. “ประเทศไทยยุทธศาสตร์ในการเผชิญวิกฤติโลก”. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 45:43 (28 มีนาคม – 3 เมษายน 2545) หน้า 30-31
- ธีรวุฒิ โศภิษฐิกุล (2545) วิถีโลก. พิมพ์ครั้งที่ 2 . ฉะเชิงเทรา, เอ็มเอ็นคอมพิวออฟเซ็ท.บทความพิเศษ โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย. มติชนสุดสัปดาห์.22:1119 ( 28 มกราคม 2545) หน้า 38.
- รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. สังคมเศรษฐกิจไทยในทศวรรษ 2550 ยุทธศาสตร์การพัฒนาในกระแสโลกานุวัตน์. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2543.
- สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ที ดี อาร์ ไอ). “5 ยุทธศาสตร์แก้จนสูตรใหม่ ที ดี อาร์ ไอ”. มติชนรายวัน (27 พฤศจิกายน 2544) หน้า 2
- สิปปนนท์ เกตุทัต. (2540) “ยุทธศาสตร์การพัฒนาคน การศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ : ก้าวมั่นทันโลก”. คุรุสาร. สถาบันราชภัฏนครปฐม.
- สุขุมพันธ์ บริพัตร, ม.ร.ว. “ภาพรวมเอเชียและแนวโน้มสู่ศตวรรษที่ 21 รวมทั้งทางหลวงสายเอเชีย”
- เอกสารประกอบการสัมมนา “ทวีปของเรา : เอเชียจากศตวรรษที่ 20 สู่ 21” โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค (อบศ.5).
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา. 20-21 กรกฎาคม 2545.
- สุโขทัยธรรมาธิราช,มหาวิทยาลัย (2540)เอกสารชุดการสอนวิชาไทยกับการปรับประเทศให้ทันสมัยที่ 1 – 7. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
- สุเชาวน์ มีหนองหว้า.(ม.ป.ป.) วิถีโลก. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
- สุเมธ ตันติเวชกุล. “เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ”. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์. ปีที่ 47 ฉบับที่ 27 วันที่ 3-9 ธันวาคม 2543. หน้า 11.
- สุรชัย ศิริไกร. “นโยบายต่างประเทศของไทยช่วงหลังสงครามเย็น : ความมั่นคงและระเบียบใหม่ของโลก” ใน 5 ทศวรรษการต่างประเทศของไทยจากความขัดแย้งสู่ความร่วมมือ. ชัยโชค จุลศิริวงศ์
- บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : บริษัท พรีสเกล จำกัด, 2536.
- สุริชัย หวันแก้ว. “ไทยกับกระแสเอเชีย-แปซิฟิก : สังคมวิทยาแห่งการเปลี่ยนแปลงของระบบความสัมพันธ์ใหม่” ใน 5 ทศวรรษการต่างประเทศของไทยจากความขัดแย้งสู่ความร่วมมือ.
- ชัยโชค จุลศิริวงษ์ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : บริษัท พรีสเกล จำกัด, 2536. หน้า 244-250.
การปรับตัวของไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
การปรับตัวของไทยในยุคสงครามเย็น
การปรับตัวของไทยในยุคโลกาภิวัตน์
บทสรุป