สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
(Watsons Caring Theory)
ประโยชน์และการนำไปใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฎีการดูแลระหว่างบุคคลของวัตสัน ชี้ให้เห็นองค์รวมของมนุษย์ที่มีความเป็นหนึ่งเดียว (Unitary) (Watson, 2008, 2009) ที่เกิดจากการหลอมรวมกันระหว่างร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ (วัตสันใช้คำว่า mind-body-spirit) และให้ความสำคัญอย่างมากในมิติจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของทฤษฎีนี้ ทำให้ทฤษฎีนี้มีความเฉพาะต่อการบำบัดและเยียวยา (Therapeutic intervention) ความทุกข์ ความทรมาน
การสร้างความหวัง และประคับประคองความโศกเศร้า นอกจากนั้นแนวคิดทฤษฎีนี้ยังช่วยดำรงค์ไว้ซึ่งบทบาท การดูแล ด้วยความรักเพื่อนมนุษย์ บนพื้นฐานของความกรุณา (Compassion) ที่ไม่อาจทดแทนได้ด้วยเครื่องจักร หรือเทคโนโลยีทางการแพทย์
ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้ใน 2 ระดับคือ ระดับพื้นฐาน และการใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การใช้ในระดับพื้นฐาน :
โดยพยาบาลใช้ปัจจัยการดูแล 10 ประการ (Ten carative factors) มาเป็นแนวคิดพื้นฐาน เพื่อการดูแลผู้ป่วย ซึ่งก็คือการใช้เพื่อชี้นำการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการดูแล เช่น พยาบาลคำนึงถึงการดูแลคนไข้ในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ซึ่งต้องคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการทุกด้าน การคำนึงถึงความหวังของผู้ป่วย ในบางองค์กรรับแนวคิดทฤษฎีการดูแลเป็นปรัชญาส่วนหนึ่งขององค์กรในการจัดบริการทางการพยาบาล
2. การใช้เพื่อการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง :
คือการนำรูปแบบการดูแลที่เข้าถึงจิตใจกันระหว่างคนสองคน (Transpersonal caring) มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการฟื้นหาย (Healing) (Quinn, 2009; Jesse, 2010) โดยมีลักษณะการนำทฤษฎีการดูแลมาใช้ดังต่อไปนี้
การนำทฤษฎีการพยาบาลมาใช้ใช้ในระดับนี้ ก็คือการใช้ช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสันเพื่อการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งหมายถึงการประติดประต่อหลักการ กลวิธีในการแก้ปัญหา ตามหลักและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาทางการพยาบาล ซึ่งหลักและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลก็คือ กระบวนการพยาบาล นั่นเอง พยาบาลจึงสามารถนำกรอบแนวคิดของทฤษฎี มาใช้ในการพยาบาล โดยมีกระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติการพยาบาล โดยในแต่ละขั้นของกระบวนการพยาบาลต้องอาศัย Ten Carative Factor และ Clinical Caritas Process เป็นแกนกลางในการปฏิบัติการพยาบาลทุกขั้นตอนร่วมกับการประเมินความต้องการในด้านต่างๆ ที่มีเป้าหมายการเยียวยาและบำบัดที่ให้ความสำคัญของคุณค่าความเป็นมนุษย์
นอกจากนั้นพยาบาลผู้ใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน ซึ่งถือเป็นทฤษฎีระดับกว้าง (Grand theory) มาใช้เพื่อการปฏิบัติการพยาบาล พยาบาลต้องใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสันร่วมกับแนวคิดอื่นๆ เพื่ออธิบายปัญหาทางการพยาบาลเพื่ออธิบายปัญหาทางการพยาบาล
การใช้ทฤษฏีการดูแลของวัตสันในระดับนี้ พยาบาลยังต้องเข้าใจความหมายของการฟื้นหาย (Healing) ที่หมายถึงการหลอมรวมของ กาย จิต และวิญญาณ เป็นหนึ่งเดียวกัน เกิดขึ้นบนสัมพันธภาพแห่งการบำบัด (Quinn, 2009) จนเกิดความเข้าใจชีวิต เข้าใจความเจ็บป่วย ใช้ความเจ็บป่วย (และความทุกข์ชนิดอื่น ๆ รวมทั้งความตาย) มาเปิดใจให้เราลดละความเห็นแก่ตัว และนึกถึงประโยชน์สุขของสรรพชีวิต จนละวางความยึดติดถือมั่นในตัวตน อันเป็นหนทางสู่ความพ้นทุกข์
พยาบาลผู้ที่จะใช้ทฤษฎีการดูแลในระดับการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเพื่อให้เกิดการฟื้นหาย ยังต้องมีความรู้เข้าใจทฤษฎีการดูแลอย่างลึกซึ้ง มีความรู้เกี่ยวกับสนามพลัง (energy field) พลังแห่งจิตวิญญาณ เข้าใจเกี่ยวกับความกรุณา (compassion) ในความหมายเชิงศาสนา ที่มีพลังแห่งการเยียวยา ดังเช่น ความกรุณาซึ่งก็คือความรักในศาสนาคริส (Cartitas/Love) (Claire, 2009; Watson, 2008) หรือพลังแห่งกรุณา (compassion) ได้แก่ความเข้าชีวิตและการบรรเทาทุกข์ในศาสนาพุทธ (ลามะโซปะ ริมโปเช, 2553)
ภูมิหลังของผู้พัฒนาทฤษฎี
ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
แกนหลักของทฤษฎีการดูแล
ปัจจัยการดูแล 10
ประการ และกระบวนการปฏิบัติการด้วยความรักเพื่อการดูแล
มโนมติหลักของการพยาบาลในทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
ประโยชน์และการนำไปใช้ทางการพยาบาล
การใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสันในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
การใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสันเพื่อพัฒนาความรู้ทางการพยาบาลโดยการวิจัย
ความท้าทายของการใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
เอกสารอ้างอิง