สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
(Watsons Caring Theory)
ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
วัตสันเชื่อว่าการดูแลเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ และการพยาบาลคือศาสตร์แห่งการดูแลมนุษย์ (Human caring science) เป้าหมายของการดูแลคือการช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบภาวะดุลยภาพ (Harmony) ของร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ วัตสันให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ในแง่ของการเคารพในศักดิ์ศรีของทุกคน ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของบุคคล และเชื่อว่าการพยาบาลคือศิลปะและสุนทรียศาสตร์ (Art & Aesthetic) (Watson, 2008; 2009)
ดังที่วัตสันกล่าวว่า ความงามและศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่การพยาบาลที่เน้นรูปแบบการดูแลที่เข้าถึงจิตใจกันระหว่างคนสองคน (Transpersonal caring model) (Watson, 1985, 2008) ทั้งนี้เพราะการเข้าถึงจิตใจกันระหว่างคนสองคน (พยาบาลกับผู้ป่วย) ต้องอาศัยการขจัดเส้นแบ่งของคนสองคนและลดอัตตา (Ego) ของแต่ละฝ่าย ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของอีกฝ่าย มีการสร้างสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงของประสบการณ์ชีวิตของทั้งสองฝ่ายจนหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยใช้ทั้งการพยาบาล ศิลปะ สุนทรียศาสตร์ (ภาพศิลปะ กาพย์กลอน) ไปจนถึง ความเมตตา (Compassion) สัมมาสติ (Mindfulness) การทำสมาธิ (Meditation) และการเดินจาริกแสวงบุญ (Pilgrimage) (Claire & Ryder, 2009; Sitzman, 2002) เพื่อชี้นำการปฏิบัติการพยาบาลจนเกิดการเยียวยา (Healing) ซึ่งนำไปสู่ความสมดุล (Hamony) เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
ภูมิหลังของผู้พัฒนาทฤษฎี
ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
แกนหลักของทฤษฎีการดูแล
ปัจจัยการดูแล 10
ประการ และกระบวนการปฏิบัติการด้วยความรักเพื่อการดูแล
มโนมติหลักของการพยาบาลในทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
ประโยชน์และการนำไปใช้ทางการพยาบาล
การใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสันในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
การใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสันเพื่อพัฒนาความรู้ทางการพยาบาลโดยการวิจัย
ความท้าทายของการใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
เอกสารอ้างอิง