สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน

(Watson’s Caring Theory)

วิชาการพัฒนาทฤษฎีทางการพยาบาล

อาจารย์สุรศักดิ์ ตรีนัย

       ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน (Watson’s Caring theory) เป็นทั้งปรัชญา และทฤษฏีทางการพยาบาล ที่มีจุดเน้นที่การดูแล (Caring) ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 ภายใต้อิทธิพลทางด้านมานุษยวิทยา รวมทั้งความรู้สึกผูกพันต่อบทบาทการดูแลเพื่อการฟื้นหายของผู้ป่วยที่วัตสันประจักษ์ด้วยตัวเอง ประกอบกับประสบการณ์ของวัตสันขณะเผชิญความเจ็บป่วย เผชิญการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

ปัจจุบันทฤษฎีนี้ได้รับการพัฒนาจนวัตสันเรียกว่าเป็น ศาสตร์การดูแลมนุษย์ (Human Caring Science) และมีการจัดตั้งศูนย์การดูแลมนุษย์ (Human science caring center) ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคโรลาโด รวมทั้งได้จัดตั้งสถาบันวิทยาศาตร์การดูแลวัตสัน (The Watson Caring Science Institute) ซึ่งมีลักษณะเป็นมูลนิธิที่มุ่งเน้นการพัฒนาทฤษฎีการดูแล การปฏิบัติการพยาบาล การวิจัย บนปรัชญาการดูแลมนุษย์

ทฤษฏีการดูแลของวัตสันได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนำไปใช้ในการพยาบาลที่เน้นรูปแบบการดูแลที่เข้าถึงจิตใจกันระหว่างคนสองคน (Transpersonal caring model) เพื่อให้เกิดการฟื้นหาย (Healing) และมีการใช้เป็นแนวคิดเพื่อการศึกษาวิจัยในวงกว้างทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ

เพื่อให้เกิดความเข้าใจในทฤษฏีการดูแลของวัตสัน เนื้อหาส่วนแรกจะกล่าวถึงภูมิหลังของวัตสันซึ่งเป็นผู้พัฒนาทฤษฎี รวมทั้งความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎี และแกนหลักของทฤษฎีนี้เพื่อจะชี้ให้เห็นถึงลักษณะพิเศษรวมทั้งประโยชน์การนำไปใช้ทางการพยาบาล ทั้งในแง่ของการ การวิจัย รวมทั้งความท้าทายของพยาบาลการใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน

ภูมิหลังของผู้พัฒนาทฤษฎี
ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
แกนหลักของทฤษฎีการดูแล
ปัจจัยการดูแล 10 ประการ และกระบวนการปฏิบัติการด้วยความรักเพื่อการดูแล
มโนมติหลักของการพยาบาลในทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
ประโยชน์และการนำไปใช้ทางการพยาบาล
การใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสันในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
การใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสันเพื่อพัฒนาความรู้ทางการพยาบาลโดยการวิจัย
ความท้าทายของการใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
เอกสารอ้างอิง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย