สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

การตรวจร่างกาย

การตรวจไขมันในเลือด

ไขมันมีหลายชนิดและมีความสำคัญต่อร่างกายหลายอย่าง เป็นแหล่งให้พลังงานใช้สังเคราะห์สารต่าง ๆ และทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์เพราะมีคุณสมบัติที่ไม่ละลายในน้ำ แต่ไขมันที่มีความสำคัญทางคลินิกมีอยู่ 2 ชนิด คือ โคเลสเตอรอล (cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride)

โคเลสเตอรอล ร่างกายนำไปใช้สร้างฮอร์โมนและวิตามินดี รวมทั้งเป็นส่วนประกอบของน้ำดีที่ช่วยย่อยไขมันในลำไส้ด้วย ร่างกายจะได้รับโคเลสเตอรองที่มาจากอาหาร 15% นอกนั้นตับจะสร้างขึ้นเอง โดยทั่วไปเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจค่าโคเลสเตอรอลในเลือดไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.ของเลือด หากเกินระหว่าง200-240 มก./ดล.มีความเสี่ยงปานกลาง, มากกว่า 240 มก./ดล.มีความเสี่ยงสูง

ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่ร่างกายได้รับจากอาหารและสามารถสังเคราะห์ได้เองจากตับและเนื้อเยื่อไขมันและสะสมพลังงานไว้ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ที่บริเวณเนื้อเยื่อของไขมันและนำมาใช้เมื่อจำเป็นการรับประทานอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปนอกจากทำให้โคเลสเตอรองสูงแล้ว ไตรกลีเซอร์ไรด์ก็อาจสูงด้วย ก่อให้เกิดปัญหาไขมันในเลือดสูงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ไขมันทั้งสองชนิดไหลเวียนไปมาโดยอาศัยโปรตีนชนิดหนึ่งห่อหุ้มไว้เราเรียกหน่วยรวมนี้ว่าไลโปโปรตีน (Lipoprotein) ในแง่คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์แล้ว ไลโปโปรตีนแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

1.เอชดีแอล (HDL; High Density Lipoprotein) จัดเป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำหน้าที่จับโคเลสเตอรอลตามผนังหลอดเลือด นำไปทำลายในตับ ผู้ที่มีระดับเอชดีแอลสูงจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ระดับเอชดีแอลในเลือดไม่ควรต่ำกว่า 35 มก./ดล.ของเลือด การออกกำลังกายแอโรบิคที่มีการเคลื่อนไหวแขนขาตลอดเวลาทำให้หายใจเร็วขึ้นประมาณ 30-45 นาทีวันเว้นวันมีส่วนช่วยเพิ่มเอชดีแอลได้

2.แอลดีแอล (LDL; Low Density Lipoprotein) จะเป็นตัวนำเอาโคเลสเตอรอลไปเกาะที่ผิวเซลล์ของผนังหลอดเลือด เมื่อเกาะมากๆ จะกลายเป็นคราบพอกพูนหนาขึ้นเป็นผลให้โพรงเส้นเลือดแคบลงและตีบตันในที่สุด

3.วีแอลดีแอล (VLDL; Very Low Density Lipoprotein) เป็นไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยไตรกลีเซอร์ไรด์เป็นส่วนใหญ่ และยังมีโคเลสเตอรอลและโปรตีนเป็นส่วนประกอบด้วย

ความผิดปกติของไขมันมีผลกระทบต่อสุขภาพมักจะเป็นไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีไขมันเพิ่มพูนตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งและตีบตันขัดขวางการนำเลือดไปเลี้ยงหัวใจ เป็นเหตุให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด (Coronary heart disease; CHD) ซึ่งพบสูงในปัจจุบัน หากออกกำลังกายแล้วเจ็บหน้าอกด้านซ้าย หรือเจ็บแน่นบริเวณลิ้นปรี่ เจ็บแน่นลึกๆ เหมือนถูกกดหรือบีบรัด บางครั้งร้าวไปบริเวณคอ กราม หรือแขนทั้งสองข้างนั่นเป็นสัญญานบ่งชี้ว่าอาจมีปัญหาเรื่องเหลือดเลือดหัวใจตีบ ควรปรึกษาแพทย์และตรวจระดับไขมันในเลือดโดยเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้

การตรวจทรวงอกด้วยเอ็กซเรย์
การตรวจปัสสาวะ
การตรวจอุจจาระ
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
การตรวจน้ำตาลในเลือด
การตรวจสมรรถภาพทางไต
การตรวจไขมันในเลือด
การตรวจสมรรถภาพของตับ
การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
การตรวจมะเร็งปากมดลูก
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้
การตรวจหมู่เลือด
การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี
การตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี
การตรวจ Anti-HBc
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การวัดความดันตา
การตรวจจอประสาทหรือจอภาพตา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย