สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
การตรวจร่างกาย
การตรวจสมรรถภาพทางไต
การตรวจวิเคราะห์เลือดเพื่อดูสมรรถภาพของไตช่วยวินิจฉัยตลอดจนติดตามโรคที่เกี่ยวข้องกับไตโดยวิเคราะห์หาค่าครีอะตินีน(Creatinine) และกรดยูริค (Uric Acid) ในเลือด ซึ่งสารเหล่านี้เป็นของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายซึ่งขับถ่ายออกทางไต เมื่อไตเสียหน้าที่จึงมีการคั่งของสารดังกล่าวในเลือด
ครีอะตินีน (Creatinine)
ครีอะตินีน เกิดจากการสลายของครีอะตีน (Creatine) และครีอะตีนฟอสเฟต(Creatine Phosphate) ในกล้ามเนื้อซึ่งเกิดขึ้นค่อนข้างคงที่ และเมื่อถูกกรองผ่านไตก็ไม่ถูกดูดกลับและไม่มีการขับถ่ายเพิ่ม ค่าครีอะตินีนในเลือดขึ้นอยู่กับขนาดกล้ามเนื้อ คนที่มีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่จะมีระดับครีอะตินีนสูงกว่าคนที่มีกล้ามเนื้อขนาดเล็ก ในผู้ชายจึงมีค่าสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย สำหรับสาเหตุที่ทำให้ค่าครีอะตินีนสูงอาจเกิดจากโรคไตเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลงหรือมีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ส่วนค่าที่น้อยไม่มีความสำคัญทางคลินิก
กรดยูริก (Uric Acid)
กรดยูริกจะขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะเป็นหลัก ดังนั้นถ้าหน้าที่ของไตเสียไปหรือการขับถ่ายทางไตผิดปกติจะทำให้กรดยูริกสูงขึ้นในเลือด นอกจากนี้การตรวจพบระดับกรดยูริกสูง จะช่วยชี้บ่งถึงภาวะหรือโรคอื่นได้ เช่น
-
โรคเก้าท์ เกิดจากการคั่งของกรดยูริกในเลือด ทำให้มีการตกตะกอนของผนึกยูเรตในข้อทำให้ข้ออักเสบ
-
นิ่วที่เกิดจากกรดยูริก
-
โรคเลือด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว เพราะมีการทำลายกรดนิวคลิอิกมาก
-
โรคพิษสุราเรื้อรัง เนื่องจากแอลกอฮอล์ทำให้มีการสังเคราะห์กรดยูริกเพิ่มขึ้น
-
ได้รับยาขับปัสสาวะบางชนิด ซึ่งจะไปกดการขับถ่ายกรดยูริก
-
ได้รับพิษสารตะกั่ว
-
รับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เนื้อสัตว์โดยเฉพาะเครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง ใบขี้เหล็ก ชะอม เป็นต้น
การตรวจทรวงอกด้วยเอ็กซเรย์
การตรวจปัสสาวะ
การตรวจอุจจาระ
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
การตรวจน้ำตาลในเลือด
การตรวจสมรรถภาพทางไต
การตรวจไขมันในเลือด
การตรวจสมรรถภาพของตับ
การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
การตรวจมะเร็งปากมดลูก
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้
การตรวจหมู่เลือด
การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี
การตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี
การตรวจ Anti-HBc
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การวัดความดันตา
การตรวจจอประสาทหรือจอภาพตา