สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การจัดระเบียบทางสังคม
เอกสารประกอบการสอนรายวิชาหน้าที่พลเมือง
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ไทย-อังกฤษ
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้กล่าวถึงความหมายของ การจัดระเบียบสังคมดังนี้
การจัดระเบียบสังคม หมายถึง
การจัดหน่วยหรือกลุ่มของสังคมเป็นส่วนย่อยอย่างมีระบบโดยคำนึงถึงเรื่องเพศ อายุ
เครือญาติ อาชีพ ทรัพย์สิน เอกสิทธิ์ อำนาจ สถานภาพ ฯลฯ
แต่ละส่วนย่อยย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยมีแบบอย่าง กฎหมาย ระเบียบ
รวมทั้งประเพณีเป็นแนวดำเนินหรือปฏิบัติ สังคมต่าง ๆ
เมื่อมองในแง่สังคมวิทยาสามารถตีความได้ว่า สังคมก็คือระบบองค์การที่ซับซ้อนนั่นเอง
มาร์วิน อี. ออลเซน (Marvin E. Olsen) กล่าวว่า
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่นำ
ไปสู่ความมีระเบียบในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคม สรุปได้ว่า
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ
โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน
และปฏิบัติสืบทอดจนเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม
สาเหตุที่จะต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม
- เพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย
- ขจัดข้อขัดแย้งและป้องกันความขัดแย้งในสังคม
- ช่วยให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุข เป็นปึกแผ่น
การจัดระเบียบสังคมครอบคลุมสิ่ง 2 ประการคือ
- กลุ่มคนที่เป็นระเบียบ หมายถึง กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมต่อกัน มีรูปแบบในการ ปฏิบัติ มีเป้าหมายหรือหน้าที่ที่กำหนด และมีการควบคุมทางสังคม
- กระบวนการจัดระเบียบทางสังคม ประกอบด้วย บรรทัดฐานทางสังคม สถานภาพ บทบาท และการควบคุมทางสังคม
องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม
บรรทัดฐานทางสังคมหรือปทัสถาน (Norms)
สถานภาพ (Status)
บทบาท (Roles)
สิทธิและเสรีภาพ สิทธิ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
การควบคุมทางสังคม (Social control)
กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization)