สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การจัดระเบียบทางสังคม

องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม

บรรทัดฐานทางสังคมหรือปทัสถาน (Norms)

หมายถึง มาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ในกลุ่มยึดถือ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ได้แก่ กฎ ระเบียบ แบบแผนความประพฤติต่าง ๆ

ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1. วิถีประชา หรือ วิถีชาวบ้าน (Folkways)
2. กฎศีลธรรม หรือ จารีต (Morals)
3. กฎหมาย (Laws)

วิถีประชา หรือ วิถีชาวบ้าน (Folkways)

หมายถึง แนวทางการปฏิบัติของบุคคลในสังคม ซึ่งปฏิบัติตามความเคยชิน และเป็นที่ยอมรับในสังคม เช่น การลุกให้คนชรานั่งในรถประจำทาง วิถีประชา ยังหมายถึง มารยาททางสังคม งานพิธีต่าง ๆ ตามสมัยนิยม เช่น การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง เป็นต้น ผู้ที่ละเลยไม่ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวจะได้รับการติเตียน เยาะเย้ยถากถาง หรือการนินทาจากผู้อื่นทำให้สมาชิกต้องปฏิบัติตาม



กฎศีลธรรม หรือ จารีต (Morals)

หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สมาชิกในสังคมปฏิบัติโดย เคร่งครัดมีความสำคัญมากกว่าวิถีประชา หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกสังคมประณามอย่างรุนแรง กฎศีลธรรมมักเป็นข้อห้าม เป็นกฎข้อบังคับ และมีเรื่องของศีลธรรมความรับผิดชอบชั่วดีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมาก

ตัวอย่างของกฎศีลธรรมหรือจารีตของไทย เช่น

- ห้ามพ่อแต่งงานกับลูกสาว
- ลูกจะทุบตีพ่อแม่ไม่ได้

กฎหมาย (Laws)

หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่รัฐบัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรโดย องค์การทางการเมืองการปกครองและได้รับการรับรองจากองค์การของรัฐ เพื่อควบคุมบุคคลในสังคมหากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับการลงโทษตามกฎหมายได้แก่ ระเบียบ ข้อบังคับ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติ เป็นต้น กฎหมายที่ดีต้องทันต่อเหตุการณ์ หรือเป็นกฎหมายที่คาดการณ์ข้างหน้าได้

ความสำคัญของบรรทัดฐานต่อการจัดระเบียบทางสังคม คือ

1. เป็นแนวทางพฤติกรรมของมนุษย์ที่ทุกคนมีความเข้าใจร่วมกัน ทำให้มีการประพฤติปฏิบัติใน แนวเดียวกัน

2. มีไว้ควบคุมสมาชิกในสังคมให้อยู่ในกรอบของสังคม ไม่เป็นอันตรายต่อสังคม เพราะมนุษย์ นั้นสามารถทำทั้งสิ่งที่ดีงามและชั่วร้าย

บรรทัดฐานทางสังคมหรือปทัสถาน (Norms)
สถานภาพ (Status)
บทบาท (Roles)
สิทธิและเสรีภาพ สิทธิ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
การควบคุมทางสังคม (Social control)
กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย