สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม
สถานภาพ (Status)
เป็นตำแหน่งหรือฐานะที่ได้จากการเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคม สถานภาพ
จะกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่มีต่อผู้อื่น
เพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมมีระเบียบแบบแผนและบุคคลเดียวอาจมีหลายสถานภาพได้
สถานภาพมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- เป็นสิ่งเฉพาะบุคคล ทำให้บุคคลนั้นแตกต่างไปจากผู้อื่น เช่น สุชาติเป็นครู นารีเป็นนักเรียน สมภพเป็นแพทย์ เป็นต้น
- บุคคลหนึ่งอาจมีหลายสถานภาพ เช่น สุชาติมีสถานภาพเป็นครู เป็นพ่อและเป็นข้าราชการ เป็นต้น
- เป็นสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดที่บุคคลมีอยู่ในการติดต่อเกี่ยวข้องกับผู้อื่นและสังคมส่วนรวม
- เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไรในสังคม ทำให้ต่างคนต่างรู้สิทธิ และหน้าที่ของตน
ประเภทของสถานภาพ ในทางสังคมศาสตร์จำแนกสถานภาพออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สถานภาพที่ติดตัวมาโดยสังคมเป็นผู้กำหนด ได้แก่ สถานภาพทางญาติกัน ทางเพศ อายุ ทางเชื้อชาติ และถิ่นกำเนิด เช่น เด็กชาย เด็กหญิง วงศ์ตระกูล ลูกหลาน น้องสาว ฯลฯ
- สถานภาพที่ได้มาโดยความสามารถ หรือเพิ่มเติมจากสถานภาพเดิม ได้แก่ สถานภาพจากการศึกษา การประกอบอาชีพ จากบิดามารดา หรือจากการสมรส เช่น เป็นพี่ นักเรียน นักกีฬา นักร้อง ทหาร ครู นักธุรกิจ นายกรัฐมนตรี ฯลฯ
บรรทัดฐานทางสังคมหรือปทัสถาน (Norms)
สถานภาพ (Status)
บทบาท (Roles)
สิทธิและเสรีภาพ สิทธิ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
การควบคุมทางสังคม (Social control)
กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization)