สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การควบคุมทางสังคม

สมพร เทพสิทธา : เขียน

         การควบคุมทางสังคม หมายถึง วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง (All the means and processes whereby a group or a society secures its members conformity to its expectation)

บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) หมายถึง แบบแผนพฤติกรรมที่เป็นที่คาดหวังของสังคม เป็นมาตรฐานที่สมาชิกของสังคมถูกคาดหวังให้ปฏิบัติตาม จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

พฤติกรรมเบี่ยงเบน (Deviance) หมายถึง พฤติกรรมซึ่งคนจำนวนมากในสังคมตำหนิและเกินกว่าที่จะยอมรับได้



การควบคุมทางสังคมแก่สมาชิกในสังคม

สังคมจะต้องมีความสงบเรียบร้อยและความมีระเบียบ (social order) เพื่อให้สังคมดำเนินไปได้ด้วยดี สังคมอาจจะใช้วิธีการควบคุมทางสังคมแก่สมาชิกในสังคมได้ 3 วิธี ดังนี้

  • โดยให้การฝึกอบรมหรือการขัดเกลาทางสังคม (socialization) แก่สมาชิกในสังคม ให้ประพฤติตนตามบรรทัดฐานของสังคม
  • โดยใช้ความกดดันของกลุ่ม (group pressure) หรือโดยการใช้ระเบียบ กฎ ข้อบังคับ
  • โดยใช้กฎหมายและการลงโทษ

สถาบันทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมทางสังคมได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา

ภาวะสังคมในสหรัฐอเมริกา
ภาวะวิกฤตทางสังคมไทย
วิกฤตสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์และทางออก
การขัดเกลาทางสังคม

ที่มา :
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์
4 มีนาคม 2541

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย