สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
วิกฤตสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์และทางออก
รศ. ดร. โสภา ชปีลมันน์ รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เขียนบทความเรื่อง "วิกฤตสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์และทางออก"
มีข้อความเกี่ยวกับภาวะวิกฤตของสังคมไทย ดังนี้
"ปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมที่เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมและได้ก้าวเข้าสู่สังคมสารสนเทศหรือสังคมของข้อมูลข่าวสารเรียบร้อยแล้ว
ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก
อันมีผลก่อให้เกิดแนวโน้มที่น่าห่วงใยอย่างยิ่งในอนาคต อันได้แก่
กรุงเทพมหานครและจังหวัดเขตปริมณฑลจะมีประชากรหนาแน่นคนสูงอายุจะมีมากขึ้น
ครอบครัวจะเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น การหย่าร้างจะเพิ่มขึ้น
ครอบครัวจะมีความเครียดอันเกิดจากสภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ
จะเกิดการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานจากต่างชาติมากขึ้น
อัตราการตายจากอุบัติเหตุจะสูงที่สุด การตายด้วยโรคเอดส์จะเพิ่มขึ้นและใน พ.ศ.2543
คนไทยจะติดเชื้อเอดส์ประมาณ 4 ล้านคน คนป่วยโรคจิตจะมากขึ้น
สังคมไทยจะเป็นสังคมบริโภคนิยมมากขึ้นโดยสื่อมวลชนเป็นตัวกระตุ้น
ความเชื่อทางศาสนาจะเปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะเป็นแบบทางการมากขึ้น
จะเกิดวิกฤตการณ์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติดจะรุนแรงมากขึ้น เด็กและเยาวชนจะทำผิดกฎหมายมากขึ้น
เกิดชุมชานเมืองมากขึ้นและก่อปัญหาตามมาคือการจราจร การสาธารณูปโภค มลพิษ ขยะ
ควันพิษ อาชญากรรม เศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกจะขยายตัวต่อเนื่อง
รายได้ต่อหัวของคนไทยจะเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงมีความแตกต่างระหว่างรายได้
โครงสร้างการผลิตจะเปลี่ยนแปลงจากเกษตร
กรรมเป็นอุตสาหกรรมและบริการ ปัญหาที่ดินทำกินและการขาดแคลนน้ำจะมีมากขึ้น
พืชเกษตรหลักจะลดลง
ขณะเดียวกันภาวะการแข่งขันพืชเกษตรหลักกับประเทศเพื่อนบ้านจะสูงขึ้น
ความได้เปรียบเชิงการผลิตการเกษตรกรรมจะลดลงเนื่องจากทรัพยากรลดลง
จากสภาพการณ์เช่นนี้จะเห็นได้ว่าสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว
จากสังคมที่เคยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ก็กลับกลายเป็นขาดแคลน
เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ถูกกระทำจนอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมเสียหายรุนแรง
สิ่งที่ตามมาก็คือ ความยากจน
ที่เกิดขึ้นกับประชาชนส่วนใหญ่ที่ฝากชีวิตไว้กับธรรมชาติเพราะเดิมที่ธรรมชาติยังสมดุล
เอื้ออำนวยปัจจัย 4 แก่ชาวไทยโดยไม่ต้องซื้อหา
ขณะนั้นแม้ว่าเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่จะมีรายได้ต่อหัวไม่มากก็มีใช้ไม่อดอยาก
ครอบครัวมีความอบอุ่นตามอัตภาพ และชุมชนก็มีความมั่นคง
คนในชุมชนอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือกันทำมาหากิน
ปัจจุบันเกษตรกรมีชีวิตที่ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ปากกัดตีนถีบมากขึ้น
มีหนี้สินท่วมท้น เพราะผลผลิตตกต่ำและมีราคาแปรปรวนตามภาวะตลาด
ซึ่งส่วนใหญ่ต้องประสบกับภาวะขาดทุนเพราะระบบตลาดบังคับให้ต้องลงทุนในพันธุ์พืช
ปุ๋ย เคมี และยาฆ่าแมลง ในอัตราสูง แต่ผลผลิตกลับมีราคาต่ำ
ทำให้ต้องดิ้นรนหารายได้เสริมด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น
อพยพเข้ากรุงเทพเพื่อหางานทำในฤดูว่างงาน
ทำให้ครอบครัวต้องแตกแยกกระจัดกระจายเพื่อการนี้
แต่กระนั้นก็ยังแทบประคองชีวิตไปไม่รอด เพราะแม้จะหารายได้ได้มากขึ้น
แต่ค่าครองชีพในปัจจุบันก็เพิ่มมากขึ้น ข้าวของแพงชนิดหยิบจับแทบไม่ไหว
ให้ดิ้นรนอย่างไรชีวิตก็แค่พออยู่ไปวัน ๆ
ความยากจนนั้นเป็นทุกข์อันใหญ่หลวงยิ่ง
ในสังคมไทยทุกวันนี้มีคนเป็นจำนวนมากที่จนชนิดที่ไม่รู้จะหันหน้าไปทางไหน
ไม่รู้จะเอาอะไรกินเข้าไป เจ็บไข้ก็ไม่สามารถรักษาต้องปล่อยตามมีตามเกิด
แต่ในความยากจนยังมีความทุกข์ที่ซับซ้อนกว่านี้อยู่อีก
เป็นความทุกข์จากความรู้สึกต่ำต้อยไร้ค่า ทุกข์เกิดจากการถูกเหยียดหยามดูหมิ่น
เป็นทุกข์เพราะสังคมมีค่านิยมว่า ทุกข์เกิดจากการถูกเหยียดหยามดูหมิ่น
เป็นทุกข์เพราะสังคมมีค่านิยมว่า
คนที่บากบั่นทำงานอย่างซื่อสัตย์แต่ต้องอยู่อย่างยากจนเป็นคนโง่
เป็นคนไม่รู้จักฉวยโอกาส ไปไหนมีแต่คนหัวเราะเยาะ จนมีคำกล่าวว่า
สังคมเหยียดหยามคนจนไม่เคยเหยียดหยามคนชั่ว
ภาวะเหล่านี้เบียดบังทำร้ายไม่ให้ทางเลือก
ไม่ยอมรับศักดิ์ศรีของคนจนที่ทำมาหากินสุจริต ดังนั้น
ในที่สุดก็เหลือแต่คนจำนวนน้อยที่สามารถรักษาศักดิ์ศรี รักษาความนับถือตนเองได้
โดยไม่สนใจกับระบบคุณค่าของสังคมที่เป็นแบบฉ้อฉล
สังคมทั้งสังคมจึงเกิดสภาพวุ่นวายแตกแยก ข้างบนแย่งชิงกันเป็นใหญ่
ข้างล่างแข่งกันประจบสอพลอ ทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยความอยากได้ อยากมีเกินฐานะ
บรรยากาศในสังคมขาดความเป็นมิตร ขาดความจริงใจหน้าไหว้หลังหลอก มือถือสากปากถือศีล
มักง่ายเห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ ซึ่งกลายเป็นความรุนแรงในหลายรูปลักษณ์
ทั้งในระดับครัวเรือน ในองค์กรต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ การดำเนินงานทางการเมือง
แม้กระทั่งในหัวใจของผู้คนทั้งหลายที่มีความรู้สึก
กดดันเพิ่มขึ้นเครียดและว้าเหว่มากขึ้น ระแวงแคลงใจต่อกันมากขึ้น
และในที่สุดก็คือ ร้ายต่อกันมากขึ้น ความใจดี รักสันติ และประนีประนอมของคนไทยลดลง
แม้ว่าจะฉลาดมากขึ้น มีเหตุผลมากขึ้น (สรัญญา พาณิชย์กุล , 25387 "
วิกฤตที่เกิดขึ้นในสังคมทุกวันนี้มีมากมายเหลือเกิน วิกฤตในปัญหาต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคมดำรงอยู่เต็มไปหมด
และเกี่ยวร้อยกันจนเป็นโครงข่ายสายโซ่ ที่ส่งผลกระทบต่อกันไปมา ถ่วงรั้งวิกฤตอื่น ๆ
ให้ร้ายแรงยิ่ง ๆ ขึ้น ทำให้ปัญหาที่เคยเป็นปัญหาเล็ก ๆ กลายเป็นปัญหาใหญ่ เช่น
ปัญหาจราจร ปัญหาอุบัติภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ปัญหาโรคเอดส์
ปัญหาที่ใหญ่อยู่แล้วการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม
การว่างงาน การเสื่อมโทรมทางศีลธรรม ฯลฯ ก็ขยายใหญ่มากขึ้น ปัญหาต่าง ๆ
ในสังคมเขม็งเกลียวขึ้นทุกขณะจนกลายเป็นวิกฤตไปในแทบทุกจุด
คล้ายกับว่าเราเริ่มเดินทางมาถึงทางตัน มองไปทางไหนก็พบแต่วิกฤตไปทั้งนั้น
เป็นวิกฤตอย่างทั่วทุกด้าน ลึกซึ้งและส่งผลกระทบต่อวิกฤตอื่น ๆ
จนมีลักษณะเป็นสายโซ่ของวิกฤตการณ์ที่แต่ละห่วงโซ่กำลังขยายตัวออกดันกันและกันอย่างน่ากลัวว่าถึงจุดหนึ่งจะเกิดเป็นแรงระเบิดของสังคมทั้งสังคมเพราะปัญหาแต่ละจุดได็ขยายตัวมาจนถึงขีดอันตรายด้วยกันแล้วทั้งนั้น
ภาวะสังคมในสหรัฐอเมริกา
ภาวะวิกฤตทางสังคมไทย
วิกฤตสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์และทางออก
การขัดเกลาทางสังคม