ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
อาณาจักรอยุธยากับกลุ่มประเทศอาเซียน
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเขมร
เขมรเคยมีอิทธิพลในดินแดนไทยตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีใน พ.ศ.
1893 เมื่ออยุธยามีความเจริญและมีความมั่นคงทางการเมืองแล้ว
ก็ได้ขยายอิทธิพลทางการเมืองไปยังเขมร
ทำให้เขมรมีความสัมพันธ์กับไทยในฐานะเมืองประเทศราชตลอดสมัยอยุธยา
ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ได้โปรดเกล้าฯ
ให้ยกทัพไปตีเขมรได้สำเร็จ ทรงตั้งให้พระราชโอรสเป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมร
แต่ปกครองอยู่ได้ไม่นานก็ถูกลอบปลงพระชนม์
เขมรจึงประกาศตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เขมรก็ตั้งตัวเป็นอิสระ แม้ไทยจะส่งกองทัพไปปราบแต่ก็ไม่สำเร็จ
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงยกทัพไปตีเขมรใน พ.ศ. 2174
เขมรตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง
ต่อมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมาเขมรเกิดเหตุการณ์วุ่นวายภายใน
มีการแย่งชิงอำนาจกันเองในบรรดาเจ้านายและขุนนาง ทำให้แบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก
มีเจ้านายเขมรบางกลุ่มหันไปพึ่งเวียดนาม และบางกลุ่มหันมาพึ่งไทย
และเข้ามาพำนักอยู่ที่อยุธยาเมื่อมีโอกาสก็จะกลับไปแย่งอำนาจคืน
เป็นผลทำให้ไทยกับเวียดนามเกิดขัดแย้งกัน บางครั้งถึงขั้นทำสงครามกัน
ในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อพม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ.
2309-2310 พระรามราชา (นักองนน) ซึ่งลี้ภัยเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่พ.ศ.
2300 ได้หนีกลีบไปเขมรรวบรวมกำลังได้มากพอสมควร
แล้วยกทัพไปแย่งชิงอำนาจจากพระนารายณ์ราชากษัตริย์เขมร
พระนารายณ์ราชาสู้ไม่ได้จึงขอกำลังจากเวียดนามมาขับไล่พระรามราชา
พระรามราชาแต่งทูตเข้ามาขอพึ่งบารมีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชให้ช่วยกู้อำนาจ
และขอเป็นเมืองขึ้นของไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเขมร
มีผลให้ไทยได้รับอิทธิพลจากเขมรในด้านต่างๆ ได้แก่
- ด้านการปกครอง อยุธยาในยุคต้นๆ ได้รับแบบแผนการปกครองจากสุโขทัยและจากเขมร
นอกจากนั้นยังรับแนวความคิดที่ว่ากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นสมมติเทพจากเขมรเข้ามาด้วย
- ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและราชสำนัก
ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพจึงมีพระราชพิธีต่างๆ
ที่ได้แบบอย่างมาจากเขมร เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น
- ด้านศิลปกรรม ไทยได้รับอิทธิพลจากเขมรหลายอย่าง เช่น
นำแบบอย่างปราสาทในเมืองนครธมของเขมรมาสร้างในกรุงศรีอยุธยา
- ด้านประติมากรรม การหล่อพระพุทธรูปสมัยอยุธยายุคแรก เรียกว่า
พระพุทธรูปยุคอู่ทองก็ได้แบบอย่างมาจากเขมร
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้โปรดเกล้าฯให้หล่อรูปพระโพธิสัตว์แบบเขมรไว้ในอยุธยา
- ด้านวรรณคดี ไทยนิยมใช้ภาษาขอมหรือภาษาเขมร
และภาษาบาลีสันสกฤตในวรรณคดีต่างๆ เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ เป็นต้น
แม้แต่คำภาษาเขมร เมื่อนำมาใช้ในราชสำนักก็ได้กลายเป็นคำราชาศัพท์ไป เช่น เขนย
(แปลว่า หมอน) เป็นพระเขนย เดิน (เดิร = ดำเนิน) เป็นทรงหระดำเนิน เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเขมรมีทั้งลักษณะเป็นไมตรีต่อกัน มีความขัดแย้งหรือทำสงครามกัน แต่ทว่าความสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือการรับอิทธิพลของเขมรมาหลายประการเข้ามา คือ การปกครองแบบสมมติเทพ พระราชพิธีต่างๆ ขนบธรรมเนียมประเพณี ยังคงมีบทบาทละความสำคัญในสังคมไทยมาจนทุกวันนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับล้านช้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับพม่า
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับมอญ
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเขมร
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเวียดนาม
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับหัวเมืองมลายู