ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
อาณาจักรอยุธยากับกลุ่มประเทศอาเซียน
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับล้านช้าง
ไทยกับลาวหรือล้านช้าง มีความสัมพันธ์กันมาแต่โบราณ
หลักฐานจากตำนานเรื่องขุนบรมได้กล่าวว่า
ขุนลอโอรสของขุนบรมได้สร้างเมืองเซ่าหรือเมืองหลวงพระบาง
เป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรล้านช้าง
ในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896-1917)
ได้ทรงรวบรวมดินแดนลาวเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วสถาปนาเป็นอาณาจักรล้านช้าง
ซึ่งขณะนั้นตรงกับสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งอยุธยา
กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระราชไมตรีที่ดีต่อกัน ได้มีการแบ่งดินแดนกัน
โดยใช้แนวเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นเขตแดนระหว่างกัน
ต่อมาเมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสวรรคต พระเจ้าสามแสนไทยได้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา
สมเด็จพระรามาธิบดีที่1 ยังได้
พระราชทานพระนางแก้วยอดฟ้าซึ่งเป็นราชธิดาให้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าสมาแสน ไทย
กรุงศรีอยุธยาจึงมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกัน
เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาพระโอรสพระเจ้าโพธิสารขึ้นเป็นกษัตริย์ล้านช้าง (พ.ศ.
2093-2115) เนื่องจากพระราชมารดาของพระองค์ คือ
พระนางยอดคำทิพย์เป็นเจ้าหญิงเชียงใหม่
ประกอบกับพระองค์ได้ครองเชียงใหม่มาก่อนน่าที่จะมาครองล้านช้างด้วย
จึงทำให้ล้านช้างกับเชียงใหม่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมาก ในเวลานั้น
พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่าเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งในการรบ
มีนโยบายที่จะขยายอำนาจมายังล้านนาและอยุธยา
ได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ได้แล้ววางแผนโจมตีกรุงศรีอยุธยาต่อไป
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างจึง
ทรงดำเนินนโยบายทางการเมืองร่วมกัน เพื่อป้องกันการขยายอำนาจของพม่า
แสดงว่าอยุธยาและล้านช้างได้เป็นพันธมิตรกันเพื่อป้องกันการรุกรานของพม่าใน ขณะนั้น
และยังผลให้ทั้งสองอาณาจักรมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาได้มีพระราชสาสน์มาขอพระเทพกษัตรี
พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิไปเป็นมเหสี
เนื่องจากพระเจ้าไชยเชษฐาได้สูญเสียพระมเหสีไปเมื่อคราวพม่ายกทัพไปตี เวียงจันทน์
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงส่งพระธิดาไปเพื่อผูกไมตรีกันไว้
แต่ถูกกองทัพพม่าแย่งชิงตัวระหว่างทางและนำไปถวายพระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดี
หลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่แสดงถึงสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างไทยและลาวสมัย
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐา คือ การร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรัก
มีศิลาจารึกเป็นตัวอักษรธรรมภาษาลาว อีกด้านหนึ่งเป็นอักษรขอมภาษาไทย
เมื่อฝรั่งเศสเข้ามายึดเมืองด่านซ้ายใน พ.ศ.2449 ได้นำศิลาจารึกนี้ไปเวียงจันทน์
เนื้อความในศิลาจารึกกล่าวถึงกษัตริย์ทั้งสองนครว่าจะรักใคร่กลมเกลียวกันจน
ชั่วลูกชั่วหลาน จึงกล่าวได้ว่าการสร้างพระธาตุศรีสองรักนี้
เป็นสักขีพยานในการเป็นพันธมิตรระหว่างไทยกับลาว หากฝ่ายใดถูกพม่ารุกราน
อีกฝ่ายก็จะเข้าช่วยเหลือกัน ปัจจุบันพระธาตุศรีสองรักอยู่ในเขตอำเภอด่าซ้าย
จังหวัดเลย
หลังจากไทยเสียกรุงศรอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 1 แล้ว
ไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมิตรไมตรีระหว่างไทยกับลาวแต่อย่างใด
เพราะทั้งสองฝ่ายต่างก็มีปัญหาภายใน เช่น
การแย่งอำนาจกันระหว่างกษัตริย์กับขุนนางของลาว จนลาวแตกแยกออกเป็น 3 แคว้น คือ
แคว้นหลวงพระบาง แคว้นเวียงจันทน์ และแคว้นจำปาศักดิ์
ส่วนกรุงศรีอยุธยาก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันเอง ทำให้การสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
อยุธยากับประเทศเพื่อนบ้านลดน้อยลง จนกระทั่งสิ้นอำนาจใน พ.ศ. 2310
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับล้านช้าง
มีลักษณะเป็นมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน แม้ว่าบางช่วงอยุธยาจะมีอำนาจเหนือล้านช้าง
แต่ไม่ได้ควบคุมอย่างจริงจังเพียงแต่ดูแลให้ส่งเครื่องราชบรรณาการตาม
ประเพณีอยุธยาปฏิบัติต่อล้านช้างในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง
เมื่อล้านช้างมีปัญหาภายในก็มักจะมาพึ่งไทย
นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ด้านเชื้อชาติ ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี
และการนับถือศาสนาที่คล้ายคลึงกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับล้านช้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับพม่า
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับมอญ
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเขมร
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเวียดนาม
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับหัวเมืองมลายู