ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
โลกแบบในทัศนะของอริสโตเติล
เอกภาพ (The Unities)
ความเป็นสากล (universality)
ความแตกต่างระหว่าง”กวีนิพนธ์”กับ”ประวัติศาสตร์”
ประวัติของอริสโตเติล
โศกนาฏกรรม - หัสนาฏกรรม
การเรียนรู้และการอนุมาน (learning and inference)
ความรู้สึกสงสารและความกลัว (pity and fear)
katharsis (catharsis) – การระบายอารมณ์ความรู้สึก
หนังสือเล่มที่สองของ Poetics ที่หายไป
หัสนาฏกรรม
เปรียบเทียบระหว่างละครโศกนาฏกรรมกับมหากาพย์
หัสนาฏกรรม
ละครโศกนาฏกรรม ดังที่กล่าวมาแล้ว
มีจุดประสงค์เพื่อระบายอารมณ์เกี่ยวกับความรู้สึกสงสารและความกลัว(katharsis of
pity and fear) และด้วยเหตุดังนั้น
จักต้องเป็นตัวแทนการแสดงในเรื่อง”ความดีงาม”หรือ”ความสูงส่ง”(ในความหมายทางศีลธรรมหรือจริยธรรม)ของมนุษย์
ส่วนละครหัสนาฏกรรม(comedy) อริสโตเติลบอกกับเราว่า
เป็นตัวแทนคุณลักษณะในทางตรงข้าม
ซึ่งเราสามารถกำหนดเป็นพื้นฐานหรือ”สิ่งที่ต่ำกว่า”(ignoble)
ยิ่งไปกว่านั้น
หัสนาฏกรรมยังเป็นตัวแทนคุณลักษณะมิเพียงเรื่องความชั่วร้ายหรือจุดบกพร่องทุกชนิดเท่านั้น
แต่รวมถึงเรื่องน่าขันไร้สาระด้วย
อันเป็นการซอยย่อยเกี่ยวกับหมวดหมู่ทั่วไปของศีลธรรมและความพิกลพิการต่างๆ.
สำหรับเรื่องน่าหัวเราะและไร้สาระคือความผิดพลาดบางอย่างและความบิดผันซึ่งไม่ใช่ความเจ็บปวดหรือเป็นอันตราย
– ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาในทันทีในที่นี้คือหน้ากากตัวตลก
ซึ่งดูน่าเกลียดและถูกบิดเบือน แต่มิได้สร้างความเจ็บปวดแต่อย่างใด (Poetics ch. 5)
เราสามารถเรียนรู้ได้มากมายเกี่ยวกับธรรมชาติอันเป็นคุณลักษณะพื้นฐานที่เป็นตัวแทนหัสนาฏกรรมได้จากบทสนทนาเกี่ยวกับความชั่วร้ายและความดีของมนุษย์ใน
Nicomachean Ethics. โดยเหตุนี้ จำนวนมากของสิ่งที่เราจักต้องรู้เกี่ยวกับวิธีการ
เรื่องราว
และลักษณะของการเลียนแบบเรื่องตลกจึงถูกนำเสนอให้เราโดยตำราอริสโตเตเลียนที่นำมาใช้ได้และน่าเชื่อถือ
ตำรับตำราเหล่านี้มิได้นำเสนอบทสนทนาเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ
หรือสิ่งที่คล้ายๆ กับความสงสารและความกลัวในละครโศกนาฏกรรม
แต่มันเป็นเรื่องของการกระตุ้นปลุกเร้าเรื่องความตลกขบขันในละครหัสนาฏกรรม
สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับความแน่นอนคือว่า อารมณ์หรืออารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่กระตุ้นเร้าในหัสนาฏกรรมจักต้องถูกทำให้สัมพันธ์กับการเป็นตัวแทนพื้นฐานความเป็นมนุษย์ที่เกี่ยวพันกับการกระทำที่ถูกกำหนดโดยอริสโตเติล ในฐานะที่เป็นเรื่องน่าขบขันไร้สาระ และด้วยเหตุนี้จึงต้องเป็นไปในทางตรงข้ามบางอย่างกับอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่ถูกปลุกขึ้นมาโดยคุณลักษณะของความสูงส่งอันเป็นตัวสแทนละครโศกนาฏกรรม บนรากฐานเกี่ยวกับทัศนะอริสโตเตเลียนอันน่าวางใจนี้เกี่ยวกับธรรมชาติละครหัสนาฏกรรมและโศกนาฏกรรม อย่างน้อยที่สุดเราจักต้องคาดการณ์ได้อย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับอารมณ์ต่างๆ ที่ถูกปลุกขึ้นในหัสนาฏกรรม. นับจากละครโศกนาฏกรรมและหัสนาฏกรรมถูกทำให้ตรงข้ามกันและกันโดยตรง ในเทอมของคุณลักษณะและการแสดงที่พวกมันเป็นตัวแทน
เราอาจตั้งคำถามขึ้นมาไม่ว่าที่ใดก็ตาม ในการกำหนดอารมณ์ความรู้สึกที่ถูกทำให้ตรงข้ามกับความรู้สึกสงสารและความกลัว สำหรับในที่นี้เรามีข้อมูลซึ่งจะช่วยเราได้ในการพัฒนาสมมุติฐานอันหนึ่งเกี่ยวกับอารมณ์ตลกขบขัน. ใน Rhetoric อริสโตเติลสาธยายถึงคำถามเกี่ยวกับความรู้สึกสงสารและประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ตรงกันข้ามกับอารมณ์นี้ เขาได้กล่าวไว้ว่า ความตรงข้ามกันโดยตรงกับ”ความรู้สึกสงสาร”คือสิ่งซึ่งอาจได้รับการเรียกว่า”ความโกรธแค้น-ความขุ่นเคือง”(righteous indignation)" (nemesan) ซึ่งคือความรู้สึกหนึ่งของความเจ็บปวดต่อโชควาสนา(good fortune)อันไม่สมควร ในหนทางอย่างเดียวกัน ความรู้สึกสงสารเป็นความรู้สึกหนึ่งที่ตกต้องอยู่ในความโชคร้าย(misfortune) อาภัพอย่างไม่สมควร
Edward M. Cope ได้วิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับความขุ่นเคือง ความรู้สึกโกรธแค้น(righteous indignation) (ซึ่งได้รับการแสดงออกโดยศัพท์ภาษากรีก nemesan และ nemesis ) ดังต่อไปนี้:
ตามนิยามความหมายของอริสโตเติลเกี่ยวกับศัพท์คำว่า nemesis คือ "ความรู้สึกหนึ่งของความเจ็บปวดต่อโชควาสนาอันไม่สมควร”(a feeling of pain at undeserved good fortune) มันเป็นตัวแทนของความขุ่นเคืองหรือความโกรธแค้นโดยตรง(righteous indignation) ที่เกิดขึ้นมาจาก”ความรู้สึกเรียกร้องหาความยุติธรรมและความรู้สึกอ้างว้าง(a sense of the claims of justice and desert) ซึ่งปรากฏขึ้นกับพวกเราโดยการใคร่ครวญเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จ(ของคนบางคน)โดยปราศจากคุณงามความดี หรือคุณาค่าที่ควรได้รับ และความพึงพอใจที่ตามมาคือต้องการการลงโทษใครคนหนึ่ง ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องอย่างไม่สมควร
เราสามารถกล่าวได้ว่าทั้งหัสนาฏกรรมเก่าและใหม่ได้ให้ตัวอย่างที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับคุณลักษณะพื้นฐานพฤติกรรมอันน่าขบขันและสัมฤทธิผล อย่างน้อยที่สุดเป็นการชั่วคราว ความสำเร็จอันน่าสมน้ำหน้า. ณ ตอนจบของหัสนาฏกรรม คุณลักษณะต่างๆ เหล่านี้มักจะพบกับการลงโทษที่สาสมเสมอ. ด้วยเหตุนี้ แนวคิดเกี่ยวกับความโกรธเคือง ความเคียดแค้นจึงถูกพูดถึงใน Rhetoric ในฐานะสิ่งที่ตรงข้ามกับความรู้สึกสงสารที่หนุนเสริมความสัมพันธ์อันชัดเจนกับการแสดงหัสนาฏกรรม. อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องความสนใจในแนวคิดที่นำเสนอนี้ น่าจะเป็นไปได้ตราบเท่าที่เราควรไปถึง ในการคาดการณ์ของเราต่อทัศนะของอริสโตเติลเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกขบขันต่างๆ