ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
โลกแบบในทัศนะของอริสโตเติล
เอกภาพ (The Unities)
ความเป็นสากล (universality)
ความแตกต่างระหว่างกวีนิพนธ์กับประวัติศาสตร์
ประวัติของอริสโตเติล
โศกนาฏกรรม - หัสนาฏกรรม
การเรียนรู้และการอนุมาน (learning and inference)
ความรู้สึกสงสารและความกลัว (pity and fear)
katharsis (catharsis) การระบายอารมณ์ความรู้สึก
หนังสือเล่มที่สองของ Poetics ที่หายไป
หัสนาฏกรรม
เปรียบเทียบระหว่างละครโศกนาฏกรรมกับมหากาพย์
การเรียนรู้และการอนุมาน
(learning and inference)
เงื่อนไขพื้นฐานเหล่านี้คือ การเลียนแบบหรือการจำลองแบบ
คือสิ่งที่เป็นเบื้องต้นธรรมชาติของเราในฐานะความเป็นมนุษย์
ซึ่งมนุษย์คือนักเลียนแบบในบรรดาสิ่งที่มีชีวิตทั้งมวลมากที่สุด
นั่นคือประสบการณ์การเรียนรู้แรกสุดที่เกิดขึ้นโดยผ่านการจำลองแบบ
และมนุษย์ทั้งมวลพึงพอใจการเลียนแบบเพราะทั้งหมดได้ค้นพบการเรียนรู้และการอนุมาน(learning
and inference)อันเป็นที่น่ายินดี พอใจ และเพลิดเพลินโดยสาระ.
การเพ่งความสนใจส่วนใหญ่ใน Poetics ไปในเรื่องการเลียนแบบทางวรรณคดี
คือสิ่งจำเป็นสำหรับเราที่จะให้ความเอาใจใส่ต่อความเข้าใจของอริสโตเติลเกี่ยวกับวิธีการ
ซึ่งแง่มุมนี้ของกิจกรรมการเลียนแบบน้อมนำไปสู่ความพึงพอใจทางสติปัญญาที่เขาระบุถึงศิลปะ
อริสโตเติลชี้ว่า หน้าที่ของการเลียนแบบทางวรรณคดีก็คือ
เป็นตัวแทนการแสดงออกที่สมบูรณ์เป็นเอกภาพ ประกอบด้วยการเริ่มต้น ท่ามกลาง
และที่สุด ซึ่งได้รับการเชื่อมโยงโดยมูลเหตุอันจำเป็นและเป็นไปได้ต่างๆ
ความสำคัญของงานดังกล่าวก็คือ อาจง่ายต่อการจดจำและคงความชัดเจนต่อผู้ชม
ถ้าหากว่าการเริ่มต้น ท่ามกลาง
และที่สุดของการแสดงหนึ่งเป็นไปอย่างชัดเจนและถูกกระตุ้นในเชิงชักชวน เงื่อนไขต่างๆ
ก็จะนำเสนอการเรียนรู้และการอนุมานเกิดขึ้น (ch. 4)
สิ่งที่อาจเข้ามาก้าวก่ายแทรกแซงความสำเร็จของเป้าหมายนี้คือ
ความธรรมดาและลักษณะที่แบ่งเป็นตอนๆ(episodic) ของพล็อตเรื่อง
สำหรับพล็อตเรื่องธรรมดามันเกิดขึ้นโดยปราศจากการพลิกผันของชะตากรรม(peripeteia)
และการรู้จักหรือจำได้ในคนที่ไม่เป็นที่รู้จักบางคนหรือข้อเท็จจริง (anagnorisis)
ส่วนพล็อตเรื่องที่แบ่งเป็นตอนๆ เกิดขึ้นเมื่อความต่อเนื่องของแต่ละตอน
ล้มเหลวที่จะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ของความจำเป็นและความน่าจะเป็นไปได้
เพื่อรับใช้เป้าหมายความกระจ่างชัดในลักษณะเชิญชวน
ทั้งการพลิกผันและการรู้จักจำได้จักต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ
หลุดไปจากโครงสร้างของพล็อตเรื่อง เพราะดังที่อริสโตเติลกล่าวว่า
มันได้สร้างความแตกต่างอย่างยิ่ง
ถ้าหากบางสิ่งเกิดขึ้นเนื่องมาจากสิ่งอื่นๆ(ที่อยู่นอกเหนือ) หรือเพียงหลังจากนั้น